• โลกของสารวัตรทหาร

    เรื่องราวเกี่ยวกับสารวัตรทหารจากประสบการณ์ และความคิดเห็นส่วนตัว ในแง่มุมต่างๆ อาจจะมีสาระ หรือไร้สาระก็เป็นไปได้

  • กรมการสารวัตรทหารบก

    ศูนย์รวมของกิจการทั้งมวลของเหล่าทหารสารวัตรในสังกัดกองทัพบก และเป็นสถานศึกษาที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาการเกี่ยวกับสารวัตรทหาร

  • นนส.ทบ.รุ่นที่ 12/22 เหล่า สห.

    ศูนย์กลางการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทั้งปวงของ เพื่อน นนส.ทบ.รุ่นที่ 12/22 เหล่า สห..

  • ร้อย.สห.จทบ.ส.ก.

    เว็บไซท์เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของหน่วย ตลอดจน ความเคลื่อนไหวของกำลังพล เพื่อการติดต่อประสานงานของ ร้อย.สห.จทบ.ส.ก..

  • ผู้จัดทำ

    นายทหารนอกประจำการ อดีตนายทหารฝ่ายการสารวัตร จังหวัดทหารบก ขออุทิศช่วงเวลาที่ยังคงเหลืออยู่เพื่อส่งเสริมกิจการของ เหล่าทหารสารวัตร

อ่านเฉพาะบทความของบล็อคในรูปแบบพิเศษ ...
sidebar / flipcard / mosaic / snapshot / timeslide

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

รัฐบาลใหม่

Posted by chanin1222 on 12:28 with 3 comments

คงไม่สายจนเกินไปที่ต้องรอจนกว่าจะมีความแน่นอนว่าคณะรัฐมนตรีชุดล่าสุดจะเป็นคณะรัฐมนตรีสำหรับรัฐบาลของประเทศไทย เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของบ้านเราค่อนข้างจะพลิกผันไปตามกาลเวลา แม้จะเพียงแค่กะพริบตาแวบเดียวก็ตาม แต่ก็นั่นแหละ เราคงจะมองหาความแน่นอนไม่ได้หรอกกับวิถีทางทางการเมืองของไทย ถึงแม้ว่าจะมองว่ารัฐบาลนี้เกิดมาจากการเลือกสรรของ คสช.ก็ตาม

ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้ว นั้น บัดนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา๑๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายวิษณุ เครืองาม เป็นรองนายกรัฐมนตรี
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสมหมาย ภาษี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายพรชัย รุจิประภา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสุธี มากบุญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายกฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายรัชตะ รัชตะนาวนิ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ก็ดูจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์กันสารพัดในเรื่องความเหมาะสม และเรื่องที่มีนายทหารทั้งเก่าและเก๋าได้รับการแต่งตั้งเข้าไปเป็นคณะรัฐมนตรี เหมือนกับที่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์มาแล้วในกรณีของการแต่งตั้ง สนช.นั่นแหละ ครับ

ที่นำรายชื่อมาลงไว้ ณ ที่นี้ ก็เพราะพวกเราคือ สารวัตรทหาร บุคคลเหล่านี้ก็ถูกจัดขึ้นไว้ในทำเนียบของบุคคลสำคัญที่จะต้องมีการอารักขาและรักษาความปลอดภัยอย่างเลี่ยงไม่พ้น รู้จักกันไว้ก็ไม่เสียหลายหรอกครับ เพื่อชาติน่ะครับ

ถึงยังไงก็ยังน่าดูแลมากกว่านักการเมืองอาชีพครับ
แม้จะรู้สึกขัดใจอยู่บ้างเป็นบางคนก็ตามที

และสิ่งที่เราต้องทำนั้น ... ก็เพราะมันเป็นหน้าที่

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายนาม สนช.57

Posted by chanin1222 on 06:36 with 2 comments

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อดังต่อไปนี้

๑. นายกรรณภว์ ธนพรรคภวิน ๒. พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช ๓. พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์ ๔. นายกล้านรงค์ จันทิก ๕. นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร ๖. พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์ ๗. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ๘. พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ ๙. นายกิตติ วะสีนนท์ ๑๐. พลโท กิตติ อินทสร ๑๑. นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย ๑๒. พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ๑๓. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ๑๔. พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา ๑๕. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ๑๖. พลเอก คณิต สาพิทักษ์ ๑๗. พลอากาศโท จอม รุ่งสว่าง ๑๘. พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ ๑๙. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ๒๐. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ ๒๑. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ ๒๒. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ ๒๓. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต ๒๔. นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ๒๕. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข

๒๖. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ๒๗. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท ๒๘. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ๒๙. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล ๓๐. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ ๓๑. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ ๓๒. นายชัชวาล อภิบาลศรี ๓๓. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข ๓๔. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร ๓๕. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง ๓๖. นายชาญวิทย์ วสยางกูร ๓๗. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ ๓๘. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ๓๙. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ ๔๐. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน ๔๑. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๔๒. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ๔๓. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ๔๔. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๔๕. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ๔๖. นายตวง อันทะไชย ๔๗. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน ๔๘. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์ ๔๙. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ๕๐. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์

๕๑. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ๕๒. พลเอก ทวีป เนตรนิยม ๕๓. พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ ๕๔. นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ๕๕. พลอากาศเอก ธงชัย แฉล้มเขตร ๕๖. พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ ๕๗. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร ๕๘. นายธานี อ่อนละเอียด ๕๙. พลโท ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ๖๐. นายธํารง ทัศนาญชลี ๖๑. พลโท ธีรชัย นาควานิช ๖๒. พลเอก ธีระวัฒน์ บุญยะประดับ ๖๓. พลเอก ธีรเดช มีเพียร ๖๔. พลเอก นพดล อินทปัญญา ๖๕. พลเรือเอก นพดล โชคระดา ๖๖. นายนรนิติ เศรษฐบุตร ๖๗. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ๖๘. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๖๙. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ๗๐. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ ๗๑. พลโท นิวัติ ศรีเพ็ญ ๗๒. นางนิสดารก์ เวชยานนท์ ๗๓. นายนิเวศน์ นันทจิต ๗๔. นายบุญชัย โชควัฒนา ๗๕. นายบุญทักษ์ หวังเจริญ

๗๖. พลอากาศเอก บุญยฤทธิ์ เกิดสุข ๗๗. พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ๗๘. พลตํารวจโท บุญเรือง ผลพานิชย์ ๗๙. นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ ๘๐. นายประมุท สูตะบุตร ๘๑. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ๘๒. พลโท ปรีชา จันทร์โอชา ๘๓. นายปรีชา วัชราภัย ๘๔. พันตํารวจโท พงษ์ชัย วราชิต ๘๕. ร้อยตํารวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ๘๖. นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ๘๗. พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ๘๘. คุณพรทิพย์ จาละ ๘๙. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ๙๐. นายพรศักดิ์ เจียรณัย ๙๑. พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม ๙๒. พลเรือเอก พิจารณ์ ธีรเนตร ๙๓. พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์ ๙๔. พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง ๙๕. พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร ๙๖. นายพีระศักดิ์ พอจิต ๙๗. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ๙๘. พลอากาศเอก เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์ ๙๙. พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ ๑๐๐. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร

๑๐๑. พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง ๑๐๒. พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย ๑๐๓. นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง ๑๐๔. นายภาณุ อุทัยรัตน์ ๑๐๕. พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์ ๑๐๖. นายภิรมย์ กมลรัตนกุล ๑๐๗. นายมณเฑียร บุญตัน ๑๐๘. นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ๑๐๙. นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ๑๑๐. พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์ ๑๑๑. พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ๑๑๒. นายยุทธนา ทัพเจริญ ๑๑๓. พลเรือเอก ยุทธนา ฟักผลงาม ๑๑๔. พลเอก ยุวนัฏ สุริยกุล ณ อยุธยา ๑๑๕. นายรัชตะ รัชตะนาวิน ๑๑๖. พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ ๑๑๗. พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ๑๑๘. พลโท วลิต โรจนภักดี ๑๑๙. พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ๑๒๐. นายวันชัย ศารทูลทัต ๑๒๑. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๑๒๒. พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล ๑๒๓. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๑๒๔. พลเอก วิชิต ศรีประเสริฐ ๑๒๕. นายวิทยา ฉายสุวรรณ

๑๒๖. นายวิทวัส บุญญสถิตย์ ๑๒๗. พลตํารวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ ๑๒๘. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ๑๒๙. พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน ๑๓๐. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ๑๓๑. พลโท วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ๑๓๒. นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ ๑๓๓. นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ๑๓๔. นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร ๑๓๕. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย ๑๓๖. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ๑๓๗. นายศิระชัย โชติรัตน์ ๑๓๘. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ๑๓๙. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ๑๔๐. พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ๑๔๑. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ๑๔๒. พลโท ศุภกร สงวนชาติศรไกร ๑๔๓. พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ๑๔๔. พลเอก สกล ชื่นตระกูล ๑๔๕. นายสถิตย์ สวินทร ๑๔๖. พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา ๑๔๗. นายสนิท อักษรแก้ว ๑๔๘. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ๑๔๙. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ๑๕๐. นายสมชาย แสวงการ

๑๕๑. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ๑๕๒. นายสมพร เทพสิทธา ๑๕๓. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ๑๕๔. นายสมพล พันธุ์มณี ๑๕๕. พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ๑๕๖. นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ๑๕๗. พลเอก สมหมาย เกาฏีระ ๑๕๘. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม ๑๕๙. พลตรี สมโภชน์ วังแก้ว ๑๖๐. นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ๑๖๑. พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ ๑๖๒. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ๑๖๓. นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล ๑๖๔. นายสีมา สีมานันท์ ๑๖๕. พลโท สุชาติ หนองบัว ๑๖๖. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ ๑๖๗. นายสุธรรม พันธุศักดิ์ ๑๖๘. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ๑๖๙. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ๑๗๐. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ๑๗๑. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ๑๗๒. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ๑๗๓. พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์ ๑๗๔. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ๑๗๕. นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์

๑๗๖. พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล ๑๗๗. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช ๑๗๘. นางเสาวณี สุวรรณชีพ ๑๗๙. พลเอก โสภณ ศีลพิพัฒน์ ๑๘๐. พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ๑๘๑. พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ ๑๘๒. พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ ๑๘๓. พลโท อดุลยเดช อินทะพงษ์ ๑๘๔. พลโท อนันตพร กาญจนรัตน์ ๑๘๕. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ๑๘๖. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ๑๘๗. พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง ๑๘๘. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช ๑๘๙. พลเอก อักษรา เกิดผล ๑๙๐. พลอากาศเอก อาคม กาญจนหิรัญ ๑๙๑. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ๑๙๒. พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ ๑๙๓. นายอาศิส พิทักษ์คุมพล ๑๙๔. นายอําพน กิตติอําพน ๑๙๕. พลโท อําพล ชูประทุม ๑๙๖. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๑๙๗. พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ๑๙๘. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ๑๙๙. พลเอก อู้ด เบื้องบน และ ๒๐๐. พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557

บรรดากฎหมายที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็จะสามารถเดินหน้าสานต่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้เสียที และก็คงจะขจัดปัดเป่ากฎหมายที่สร้างความแตกแยกในบ้านเมืองให้หมดสิ้นไปจากสภาพร้อมกันไป

กฎหมายควรจะมีไว้เพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชน
ไม่ใช่มีไว้เพื่อกดขี่ข่มเหงประชาชน
และสร้างรากฐานความร่ำรวยให้แก่พวกตนและขี้ข้าบริวาร
เพราะ
ความถูกต้อง เที่ยงธรรม เป็นหัวใจของการปกครอง 

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รัฐธรรมนูญ 2557

Posted by chanin1222 on 10:07 with 2 comments


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2557

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 
พุทธศักราช ๒๕๕๗ 
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร 
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ 
เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

               พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยคณะทหารและตํารวจได้นําความกราบบังคมทูลว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จนลุกลามไปสู่แทบทุกภูมิภาคของประเทศ ประชาชนแตกแยกเป็นฝ่ายต่างๆ ขาดความสามัคคีและมีทัศนคติไม่เป็นมิตรต่อกัน บางครั้งเกิดความรุนแรง ใช้กําลังและอาวุธสงครามเข้าทําร้ายประหัตประหารกัน สวัสดิภาพและการดํารงชีวิตของประชาชนไม่เป็นปกติสุข การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองชะงักงัน กระทบต่อการใช้อํานาจในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร และในทางตุลาการ การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล นับเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้รัฐจะแก้ไขปัญหาด้วยกลไกและมาตรการทางกฎหมาย เช่น นํากฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในภาวะต่าง ๆ มาบังคับใช้ ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และฝ่ายที่ไม่ได้เป็นคู่กรณี เช่น องค์กรธุรกิจภาคเอกชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กองทัพ และวุฒิสภา ได้พยายามประสานให้มีการเจรจาปรองดองกัน แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ กลับจะเกิดข้อขัดแย้งใหม่ในทางกฎหมายและการเมือง เป็นวังวนแห่งปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น ในขณะที่ความขัดแย้งได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นจลาจลได้ทุกขณะซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของประชาชนผู้สุจริต กระทบต่อการทํามาหากินและภาวะหนี้สินของเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การป้องกันปัญหาจากภัยธรรมชาติ ความเชื่อถือในอํานาจรัฐ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งยังเปิดช่องให้มีการก่ออาชญากรรมและความไม่สงบอื่นเพิ่มขึ้น อันจะเป็นการทําลายความมั่นคงของชาติ และความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในที่สุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงจําเป็นต้องเข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ยกเว้นความในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ โดยได้กําหนดแนวทางการแก้ปัญหาไว้สามระยะคือ ระยะเฉพาะหน้า เป็นการใช้อํานาจสกัดการใช้กําลังและการนําอาวุธมาใช้คุกคามประชาชน ยุติความหวาดระแวง และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ที่สะสมมากว่าหกเดือนให้คลี่คลายลง เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะที่สองซึ่งจะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทําหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ ฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย ความรู้รักสามัคคี และความเป็นธรรม แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง จัดให้มีกฎหมายที่จําเป็นเร่งด่วน จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่น ๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่วางกติกาการเมืองให้รัดกุม เหมาะสม ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สามารถตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรม ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ในการดําเนินการดังกล่าวนี้จะให้ความสําคัญแก่หลักการพื้นฐานยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตยเพียงประการเดียว จึงจําเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนําความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง ไม่ชัดเจน ไร้ทางออกในยามวิกฤติ ขาดประสิทธิภาพหรือไม่เป็นธรรม ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชนในชาติ ซึ่งควรใช้เวลาไม่ยาวนาน หากเทียบกับเวลาที่จะต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ถ้าปล่อยให้สถานการณ์ผันแปรไปตามยถากรรม จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทําขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
               ให้บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้ และภายใต้บังคับมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภาหรือประธานรัฐสภา ให้หมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี

มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางสภานติิบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๕ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้
               ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุด จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สําหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี

มาตรา ๖ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนําให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

มาตรา ๗ การถวายคําแนะนําเพื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คํานึงถึงความรู้ความสามารถ ความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

มาตรา ๘ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๓) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(๕) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
(๖) เคยต้องคําพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๗) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตําแหน่ง
(๘) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานัก
(๙) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
               สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือรัฐมนตรีในขณะเดียวกันมิได้

มาตรา ๙ สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
(๔) สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๒
(๕) ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม
               ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
               ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

มาตรา ๑๑ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องอุทิศตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย 

มาตรา ๑๒ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

มาตรา ๑๓ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม 
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอํานาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา และกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่

มาตรา ๑๔ พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
               ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
               ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา
               ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
               ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น คณะรัฐมนตรีอาจขอรับไปพิจารณาก่อนสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะรับหลักการก็ได้
               การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทําได้โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ แต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้กระทําโดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น

มาตรา ๑๕ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
               ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

มาตรา ๑๖ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเก่ียวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สําคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ต้องห้ามตามข้อบังคับ ในกรณีนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะตราข้อบังคับกําหนดองค์ประชุมให้แตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ก็ได้ 
               เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้

มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาสําคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้

มาตรา ๑๘ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใด ๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผ้นู ั้นในทางใดมิได้
               เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุมตามคําสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนผู้ดําเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใด หากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และถ้อยคํานั้นมีลักษณะเป็นความผิดอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
               ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยเมื่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี

มาตรา ๑๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีอื่นอีกจํานวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดําเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ
               ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคําดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” 
               พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติถวายคําแนะนําตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา
               การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
               นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และให้นําเอกสิทธิ์ตามมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การชี้แจงแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรานี้ด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๒๐ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
(๓) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
(๕) ไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๖) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
               ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙ (๑) หรือ (๒)

มาตรา ๒๑ เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ
               เมื่อได้ประกาศใช้พระราชกําหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกําหนดนั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่พระราชกําหนดนั้นใช้บังคับ เว้นแต่พระราชกําหนดนั้นมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อน การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกําหนดดังกล่าวตกไป
               การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่ไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย พระราชอํานาจในการพระราชทานอภัยโทษ และพระราชอํานาจในการอื่นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา ๒๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการทําหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
               หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
               หนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางตามวรรคสอง หมายถึง หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทําให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
               เมื่อมีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ

มาตรา ๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า ผู้พิพากษาและตุลาการ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และทรงให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตําแหน่งเพราะความตาย

มาตรา ๒๕ บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่รัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

มาตรา ๒๗ ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
(๑) การเมือง
(๒) การบริหารราชการแผ่นดิน
(๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
(๔) การปกครองท้องถิ่น
(๕) การศึกษา
(๖) เศรษฐกิจ
(๗) พลังงาน
(๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๙) สื่อสารมวลชน
(๑๐) สังคม 
(๑๑) อื่น ๆ
               ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทําให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

มาตรา ๒๘ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา
               พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
               ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

มาตรา ๒๙ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) และให้นําความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติโดยอนุโลม แต่การวินิจฉัยตามมาตรา ๙ วรรคสอง ให้เป็นอํานาจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ

มาตรา ๓๐ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติดําเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ ด้านละหนึ่งคณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดแต่ละจังหวัดเพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลําเนาในจังหวัดนั้น ๆ
(๒) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ
(๓) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ และมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละด้าน แล้วจัดทําบัญชีรายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองมิได้
(๔) การสรรหาบุคคลตาม (๓) ให้คํานึงถึงความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ การกระจายตามจังหวัด โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส
(๕) ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดประกอบด้วยบุคคลตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๖) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติคัดเลือกบุคคลที่เห็นสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) เสนอ ไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน โดยในจํานวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
               จํานวนกรรมการในคณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะ วิธีการสรรหา กําหนดเวลาในการสรรหา จํานวนบุคคลที่จะต้องสรรหา และการอื่นท่จีําเป็น ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๓๑ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ
(๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้น
               ในการดําเนินการตาม (๑) หากเห็นว่ากรณีใดจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดําเนินการต่อไป
               ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม (๒) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก
               ให้นําความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกรรมาธิการจํานวนสามสิบหกคน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ
(๒) ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จํานวนยี่สิบคน
(๓) ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ ฝ่ายละห้าคน
               การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นครั้งแรก
               ในกรณีที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่าที่เหลืออยู่ แต่ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้ง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตําแหน่งที่ว่างตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่ง
               ให้นําความในมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๓๓ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เว้นแต่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 
(๒) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
(๓) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ (๔) เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ 
               เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดํารงตําแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒) แล้วเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณา
               ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนําความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒) ความเห็นของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความเห็นของประชาชนรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาด้วย

มาตรา ๓๕ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) การรับรองความเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
(๒) การให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย
(๓) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกํากับและควบคุมให้การใช้อํานาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
(๔) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
(๕) กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดําเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงําหรือชี้นําโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๖) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ
(๗) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
(๘) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
(๙) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทําลายหลักการสําคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้
(๑๐) กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสําคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป
               ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาถึงความจําเป็นและความคุ้มค่าที่ต้องมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่จําเป็นต้องมี ให้พิจารณามาตรการที่จะให้การดําเนินงานขององค์กรดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย

มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทําเสร็จต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจัดให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประชุมกันเพื่อพิจารณาเสนอแนะหรือให้ความเห็นให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ
               สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสร็จสิ้นการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คําขอแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ยื่นคําขอหรือที่ให้คํารับรองคําขอของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคําขอหรือรับรองคําขอของสมาชิกอื่นอีกมิได้
               ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วย และคณะรัฐมนตรีหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเสนอความคิดเห็นหรือยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายในสามสิบวันนบแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ
               คําขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ยื่นต่อประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาคําขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง ในการนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ตามที่เห็นสมควร
               เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องมีมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติจะแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความของร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นข้อผิดพลาดที่มิใช่สาระสําคัญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น
               เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคสองแล้ว ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ โดยให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
               ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป 

มาตรา ๓๘ ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนด หรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไปตามมาตรา ๓๗ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้มีการดําเนินการเพื่อแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ขึ้น เพื่อดําเนินการแทนตามอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ 
               ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยกร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง
               ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดที่สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ชุดใหม่มิได้

มาตรา ๓๙ เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จําเป็น ในการนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่จําเป็นก็ได้ แต่เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้น

มาตรา ๔๐ เงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามในการดํารงตําแหน่งทางการเมือง มิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา

มาตรา ๔๒ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป และมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
               ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ดํารงตําแหน่งใดในคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ได้ แต่ในกรณีเพิ่มเติม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าคน และจะกําหนดให้หน่วยงานใดทําหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ได้ตามที่เห็นสมควร
               ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๙ ในเรื่องใด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
               ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาใด ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้

มาตรา ๔๓ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบหรือรับทราบจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ให้เป็นอํานาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการให้ความเห็นชอบหรือรับทราบแทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
               ก่อนที่คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้าร้บหน้าที่ ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

มาตรา ๔๔ ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว

มาตรา ๔๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๕ และมาตรา ๔๔ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกําหนดให้เป็นอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่สําหรับผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีอํานาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อมีกรณีที่เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
               การพิจารณาและการทําคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัยที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อวรรคหนึ่งหรือรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๔๖ ในกรณีทีี่เห็นเป็นการจําเป็นและสมควร คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีมติร่วมกันให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ก็ได้ โดยจัดทําเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบ
               ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
               ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเห็นชอบด้วย
               มติให้ความเห็นชอบต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
               เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และให้นําความในมาตรา ๓๗ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๗ บรรดาประกาศและคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคําสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคําสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคําสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทําก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เป็นประกาศหรือคําสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ประกาศหรือคําสั่งดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคําสั่ง แล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก
               ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคําสั่งให้บุคคลใดดํารงตําแหน่งหรือพ้นจากตําแหน่งใดที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๔ ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งให้บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งนั้นหรือทรงให้บุคคลนั้นพ้นจากตําแหน่งนั้นด้วย

มาตรา ๔๘ บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา 
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตามให้ทันข่าว

Posted by chanin1222 on 13:09 with No comments

เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเสมอมาในบ้านเรา เมื่อรัฐบาลถูกยึดอำนาจกลับคืนไปอยู่ในมือของผู้ใด ผู้นั้นก็มีสิทธิที่สมบูรณ์ในการบริหารปกครองประเทศ 


คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 
เป็นผู้ครอบครองสิทธินั้น ณ วันนี้

คำสั่งหรือประกาศที่มีออกมาทุกฉบับจึงมีผลตามกฎหมายโดยสมบูรณ์

จึงสมควรติดตามเนื้อหาของประกาศทุกฉบับอย่างจริงจัง เพราะนี่คือกฎหมายที่จะมีผลต่อเนื่องไปอีกเนิ่นนาน จนกว่าจะมีคำสั่ง ประกาศ หรือ พ.ร.บ.ฯลฯ มาประกาศให้ยกเลิกในภายหลัง

บทบาทของ "ทหาร" ในวันนี้ คือ พระเอกขี่ม้าขาว ที่ต้องรับบทบาทในทุกหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น
  • ด้านการบริหารปกครองประเทศ 
  • การปราบปรามการกระทำความผิดในทุกรูปแบบ 
  • การดูแลด้านสวัสดิการของประชาชน 
  • การช่วยเหลือพัฒนาท้องถิ่น 
  • การปลอบขวัญและสร้างความปรองดองในหมู่ประชาชน 
  • ฯลฯ

วันนี้เก็บเอาสาระมาฝากด้วยลิงค์ของ isranews  ซึ่งเป็นแหล่งที่รวบรวม ประกาศและคำสั่ง ของ คสช.ไว้ทุกฉบับจนถึงปัจจุบัน  คลิกที่นี่เลยครับ

แถมท้ายด้วย Twitter ของ คสช.ครับ คลิกที่นี่

และจะลองดึงทวิตเตอร์ของ คสช.มาลงไว้ดูแบบสดๆ เลยนะครับ


วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556


ย้อนกลับไปหลายปีที่ผ่านมา ประมาณ พ.ศ.2528 เคยใช้เวลานานนับปีในการเก็บรวบรวมกฎหมายทหารต่างๆ ตั้งแต่ กฎกระทรวง ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ระเบียบกองทัพบก คำสั่งทหาร คำสั่ง กห. คำสั่ง ทบ. ระเบียบสำนักนายกฯ ระเบียบ กห. ระเบียบ ทบ.ฯลฯ กว่าจะได้มาแต่ละแผ่นแต่ละเรื่องแทบจะต้องพลิกแผ่นดินหา มาในระยะหลังจึงเริ่มฉลาดขึ้นมาหน่อยที่พบว่า มีการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้พิมพ์เป็นเล่มใหญ่ๆ หนาเป็นตั้ง เรียกว่า ประมวลวินัยทหาร ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ภาค

รายละเอียดของแต่ละภาค คงจะต้องไปหาอ่านเอาต่อเองนะครับ แต่วันนี้พยายามจะไปดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหม ปรากฎว่าลิงค์เดิมหายสาบสูญไปเสียแล้วต้องไปค้นหามาจากคลังส่วนตัว แล้วตัดสินใจอัพโหลดไปไว้ในพื้นที่ส่วนตัวเสียเลยจะได้ไม่สูญหายไปไหนอีก

ท่านผู้ใฝ่รู้จึงสามารถเข้าไปดาวน์โหลด ประมวลวินัยทหาร 5 ภาคได้จากลิงค์ที่ด้านข้างนะครับ ทุกไฟล์เป็นไฟล์ .pdf  แต่สำหรับในภาคที่ 5 เล่ม 2 มีขนาดใหญ่เกินพิกัดไปหน่อยจึงต้องแปลงเป็นไฟล์  .rar  ก่อนนำขึ้นไปเก็บไว้ รบกวนให้ท่านคลายไฟล์ออกมาก่อนนะครับ หรือท่านจะเปิดจากตรงนี้ก็ได้


มีเวลาเมื่อไหร่ก็จะพยายามหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานมาลงไว้ให้ทบทวนกันหรือถ้ามีข่าวคราวกฎหมายใหม่ๆ (แปลกๆ ) ก็จะเอามาลงไว้เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจารณ์ กันตามอัธยาศัย

บอกตรงๆ ว่ากฎหมายเมืองไทยมีออกมาเป็นรายชั่วโมงครับ ตามดูทันก็ดี ไม่ทันก็ช่าง ก็คนมันอยากจะออกซะอย่าง มีประโยชน์กับประชาชนหรือประเทศชาติหรือไม่มีก็ช่าง ขอให้คนออกกับพรรคพวกได้ประโยชน์เท่านั้นก็พอ ประเทศชาติและประชาชนไม่ใช่ส่วนสำคัญ ไชโย

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


(สำเนา) 
ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม 
ว่าด้วยสารวัตรทหาร 
พ.ศ.๒๕๕๕
 _____________________ 

 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสารวัตรทหาร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสารวัตรทหาร พ.ศ.๒๕๕๕”

ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
๓.๑ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสารวัตรทหาร พ.ศ.๒๕๑๙
๓.๒ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสารวัตรทหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๑
๓.๓ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสารวัตรทหาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๙
บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้ หรือซึ่งขัดหรือ แย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน

ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
๔.๑ คำว่า “ทหารสารวัตร” หมายถึง ทหารเหล่าทหารสารวัตรที่บรรจุในอัตรากำลังของหน่วยต่าง ๆ
๔.๒ คำว่า “สารวัตรทหาร” หมายถึง ทหารสารวัตรหรือทหารเหล่าอื่นหรือพรรคอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่สารวัตรทหารตามคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหาร
๔.๓ คำว่า “ผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหาร”หมายถึง ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารที่มีทหารสารวัตรอยู่ในบังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดสารวัตรทหารตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศกำหนด ในกรณีไม่มีทหารสารวัตรอยู่ในบังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหารได้ภายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ หรือตามอำนาจที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือแบบธรรมเนียมของทหาร

ข้อ ๕ สารวัตรทหารให้จัดจากทหารสารวัตร ในกรณีไม่มีทหารสารวัตรบรรจุอยู่ในอัตรากำลังของหน่วยหรือในเหล่าทัพใด ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดสารวัตรทหารตามที่ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กำหนด จัดทหารเหล่าอื่นหรือพรรคอื่นเป็นสารวัตรทหารได้

ข้อ ๖ การแต่งกายของสารวัตรทหารในขณะปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับและแบบธรรมเนียมของทหารที่ว่าด้วยการนั้น

ข้อ ๗ เพื่อให้การรักษาระเบียบวินัยดำเนินไปโดยเคร่งครัดรวมถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีให้สารวัตรทหารมีหน้าที่ดังนี้
๗.๑ สอดส่องตรวจตราให้ทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ในระเบียบวินัยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
๗.๒ ว่ากล่าวตักเตือนและจับกุมทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่กระทำความผิด
๗.๓ สืบสวนสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร
๗.๔ ควบคุมการจราจรในกิจการทหาร
๗.๕ รักษาความปลอดภัยทางวัตถุและอารักขาบุคคลสำคัญ
๗.๖ ปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรือนจำทหาร และเชลยศึก ทหารผลัดหน่วย พลเรือน ผู้ถูกกักกันในยามสงคราม ตามที่กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
๗.๗ กำหนดมาตรการป้องกันอาชญากรรมในวงการทหาร
๗.๘ หน้าที่อื่นตามที่กระทรวงกลาโหมหรือผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหารจะกำหนด

ข้อ ๘ สารวัตรทหารมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารได้ตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

ข้อ ๙ สารวัตรทหารมีอำนาจที่จะปฏิบัติต่อทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมผู้ไม่อยู่ในระเบียบวินัย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีซึ่งอยู่ภายนอกที่ตั้งหน่วยทหารหรือสถานที่ทำงานตามควรแก่กรณีดังนี้
๙.๑ ว่ากล่าวตักเตือน
๙.๒ จับกุม
๙.๓ ตรวจค้นผู้ถูกจับกุมเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของที่ผิดกฎหมายหรือเพื่อใช้ในการกระทำที่ผิดกฎหมาย ถ้าผู้ถูกจับกุมเป็นหญิงให้สารวัตรทหารหญิงหรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจค้น
๙.๔ ยึดสิ่งของตามข้อ ๘.๓ หรือ สิ่งของที่อาจเป็นภัยอันตรายหรือที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในการกระทำผิดนั้นได้

ข้อ ๑๐ ในการจับกุม สารวัตรทหารต้องแจ้งเหตุที่จะจับกุมให้ผู้จะต้องถูกจับกุมทราบ การจับกุมให้กระทำโดยละม่อม ถ้าจำเป็นจะต้องใช้เครื่องพันธนาการหรือใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนก็ให้กระทำได้แต่ต้องไม่เกินสมควรแก่เหตุ

ข้อ ๑๑ เมื่อสารวัตรทหารจับกุมผู้ใดแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๑.๑ รายงานให้ผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหารทราบโดยเร็ว
๑๑.๒ ผู้ถูกจับกุมสังกัดอยู่ในหน่วยทหารที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของหน่วยสารวัตรทหารที่จับกุมให้นำตัวผู้ถูกจับกุมส่งหน่วยทหารต้นสังกัดของผู้นั้น หรือรีบแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกจับกุมทราบโดยเร็วเพื่อรับตัวไป ในกรณีนี้ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายไปรับตัวผู้ถูกจับกุมนั้นโดยเร็ว และต้องไม่เกินกว่า ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง
๑๑.๓ ผู้ถูกจับกุมสังกัดอยู่ในหน่วยทหารที่ตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของหน่วยสารวัตรทหารที่จับกุม ให้รีบแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกจับกุมทราบโดยเร็วเพื่อรับตัวไป ในกรณีนี้ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายไปรับตัวผู้ถูกจับกุมนั้นโดยเร็ว และต้องไม่เกินกว่า ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
๑๑.๔ ในระหว่างที่ยังไม่มีการรับตัวให้สารวัตรทหารควบคุมหรือจัดการเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกจับกุมหลบหนี

ข้อ ๑๒ ในเขตพื้นที่ใดมีหน่วยทหารต่างเหล่าทัพตั้งอยู่เมื่อเห็นเป็นการสมควรผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหารในเขตพื้นที่นั้นอาจจัดสารวัตรทหารร่วมขึ้นปฏิบัติภารกิจในบังคับบัญชาของนายทหารเหล่าทัพใดก็ได้ทั้งนี้ให้ทำความตกลงกันเป็นหนังสือ

ข้อ ๑๓ สารวัตรทหารไม่มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ ต่อบุคคลอื่นนอกจากทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมซึ่งกระทำความผิด เว้นแต่จะได้รับการร้องขอจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจให้ร่วมมือด้วยในเหตุผลอันสมควร หรือเป็นการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อ ๑๔ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ออกระเบียบปลีกย่อยเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ได้

 ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ (((
 (ลงชื่อ) พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต 
 ( สุกำพล สุวรรณทัต ) 
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 

หมายเหตุ:- หลักการและเหตุผลในการประกาศใช้ระเบียบฉบับนี้ คือ ปรับปรุงข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสารวัตรทหาร พ.ศ.๒๕๑๙ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๑๐๔) และมาตรา ๑๗ (๑) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงชื่อส่วนราชการจากเดิม “กองบัญชาการทหารสูงสุด” เป็น “กองบัญชาการกองทัพไทย” และตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ลับ ที่ ๓๓/๕๓ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เรื่อง แก้อัตราเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหม (ส่วนกลาง) และคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(เฉพาะ) ลับ ที่ ๔๓/๕๓ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์๒๕๕๓ เรื่อง แก้อัตราเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหม (ส่วนกลาง)ที่กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีอำนาจในการจัดและการสั่งใช้สารวัตรทหาร รวมทั้งสามารถออกระเบียบปลีกย่อย เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามข้อบังคับและเป็นแนวทางเดียวกัน จึงจำเป็นต้องออกข้อบังคับนี้

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

วันนี้ได้เข้าไปทำการแก้ไข พระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ โดยเพิ่มข้อความในมาตราที่แก้ไขใหม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๐ และ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็เปลี่ยนข้อความใหม่ใส่แทนข้อความเดิมไปเลย เพื่อความสะดวกในการอ่านและไม่ทำให้สับสน

โดยใน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการเปลี่ยนแปลง มาตรา 22 เพียงมาตราเดียว
ส่วนใน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ มีการเปลี่ยนแปลง มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ มาตรา ๒๒(ซึ่งเพิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐) และ มาตรา ๒๓ (โดยเพิ่มโทษเป็นระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่ยาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

มีโอกาสได้พูดคุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งของ โรงเรียนทหารสารวัตร เพื่อจะขอความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านเอกสารวิชาการ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับและ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ จนท.สห. ที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อนำมาเผยแพร่ให้เพื่อนพ้องน้องพี่ทั่วประเทศได้รับทราบ ซึ่ง อาจารย์ท่านก็กรุณาให้ความอนุเคราะห์รับว่าจะดำเนินการส่งเอกสารมาให้ เมื่อมีการรวบรวมจัดทำหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ก็ขออนุญาตสงวนนามไว้ก่อนนะครับแล้วค่อยบอกกล่าวกันภายหลัง

ก็จะพยายามรวบรวมเก็บเกี่ยว เอกสาร กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ คำแนะนำ หรือตำราวิชาการ นำมาถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจใฝ่ศึกษา ได้ค้นคว้าหาความรู้กันอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา ความสามารถ นำปัจจัยเหล่านี้ไปพัฒนาขีดความสามารถของตนและกำลังพลภายในหน่วย เพือ่ความสถาพรยั่งยืนของ เหล่า สห.ต่อไป

และบางช่วงบางทีอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าเว็บบ้างเล็กน้อย ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีอารมณ์บรรเจิดต้องการที่จะปรับปรุงรสชาติของชีวิตบ้างเป็นบางโอกาส เพื่อขจัดความเบื่อหน่ายน่ะเองครับ ไม่มีอะไร

ขอให้มีความก้าวหน้าในอาชีพโดยทั่วกันครับ

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


วิวัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกวินาที ทำให้ต้องมาเริ่มปรับปรุงแก้ไขหน้าบล็อคใหม่ทั้งหมด จากเดิมที่ตั้งใจว่าจะจัดทำในรูปแบบของเว็บไซท์ แต่ปรากฎว่าการเข้าถึงอาจะจะยากสักหน่อยเพราะชื่อที่ยาวเหยียด จึงหันกลับมาหารูปแบบบล็อคที่ได้รับการปรับปรุงจนสามารถทำงานได้อย่างเรียบง่ายและสมบูรณ์พอสมควรในการนำเสนอ

ดังนั้น ปัญหาทางด้านวิวัฒนาการที่ติดตามมาก็คือการติดตามค้นหาบรรดา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรทหารมารวบรวมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้เป็นปัจจุบันที่สุดเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงานได้ เนื่องจากมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายมากมายเกิดขึ้นมา บางฉบับก็ส่งผลในด้านดีทำให้บทบาทด้านสมรรถภาพและคุณค่าของสารวัตรทหารเพิ่มพูนมากขึ้น บางฉบับก็ลดทอนบทบาทและขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ให้ลดน้อยลง บางฉบับก็สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคมของสารวัตรทหาร

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น บทบาทในส่วนรวมจึงขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอต่อสายตาประชาชนในยุคที่สื่อสารมวลชนกว้างไกลไร้ขีดจำกัด ภาพของผู้กระทำความผิดหรือสิ่งที่ไม่ถูกต้องจึงถูกนำมาประจานให้ประชาชนทั่วไปได้รู้เห็นกันอยู่ตลอดเวลา

ความรอบรู้ในหลักการและกฎหมาย คือ หัวใจของการปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับคำว่า คุณธรรม จริยธรรม และความยุติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ราชกิจจานุเบกษา เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๓๙ ก ลง ๒๗ กุมภาพันธ   ๒๕๕๑

พระราชบัญญัติ
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ.  ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช  ป.ร.
ใหไว  ณ  วันที่  ๑๙  กุมภาพันธ  พ.ศ.  ๒๕๕๑
เปนปที่  ๖๓  ในรัชกาลปจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล ยเ ดช   มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา ฯ  
ใหประกาศวา
โดยที่เปนการสมควรมีกฎหมายวาดวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล   ซึ่งมาตรา  ๒๙  และมาตรา  ๓๑  ประกอบกับมาตรา  ๓๒  มาตรา  ๓๓    มาตรา  ๓๔  มาตรา  ๓๖   มาตรา  ๔๑  และมาตรา  ๔๓  ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย  บัญญัติใหกระทําไดโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ ใหตราพระราชบัญญัติขึ้นไวโดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแหง ชาติ  ดังตอไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกวา พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับตั้งแตวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร”   หมายความวา  การดําเนินการเพื่อปองกัน  ควบคุม  แกไข  และฟนฟูสถานการณใด  ที่เปนภัยหรืออาจเปนภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุมบุคคลที่กอใหเกิดความไมสงบสุข  ทําลาย  หรือทําความเสียหายตอชีิวต  รางกาย  ทรัพยสินของประชาชนหรือของรัฐ  ใหกลับสูสภาวะปกติเพื่อใหเกิดความสงบเรียบรอยของประชาชน   หรือความมั่นคงของรัฐ
คณะกรรมการ”   หมายความวา  คณะกรรมการอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผูอํานวยการ”  หมายความวา  ผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
หนวยงานของรัฐ”   หมายความวา  สวนราชการ  รัฐวิสาหกิจ  องคการมหาชน  องคกร
ปกครองสวนทองถิ่น   และหนวยงานอื่นของรัฐ  แตไมรวมถึงศาลและองคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
เจาหนาที่ของรัฐ”  หมายความวา  ขาราชการ  พนักงาน และลูกจางของหนวยงานของรัฐ
พนักงานเจาหนาที่”  หมายความวา  ผูซึ่งผูอํานวยการแตงตั้งใหปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
จังหวัด”  หมายความรวมถึง  กรุงเทพมหานคร
ผูวาราชการจังหวัด”  หมายความรวมถึง  ผูวาราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔ ใหนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด  ๑
กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

มาตรา ๕ ใหจัดตั้งกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยยอวา กอ.รมน.”  ขึ้นในสํานักนายกรัฐมนตรี  มีอํานาจหนาที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
กอ.รมน.  มีฐานะเปนสวนราชการรูปแบบเฉพาะอยูภายใตการบังคับบัญชาขึ้นตรงตอนายกรัฐมนตรี  โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน  การจัดโครงสราง  การแบงสวนงานและอํานาจหนาที่ของสวนงาน  และอัตรากําลัง  ใหเปนไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ใหนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหนารัฐบาล   เปน   ผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยยอ วา ผอ.รมน.”   เปน ผูบังคับบัญชาขาราชการ  พนักงาน  และลูกจางใน  กอ.รมน.  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ  กอ.รมน.  โดยมีผูบัญชาการทหารบกเปนรองผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผูอํานวยการอาจแตงตั้งผูชวยผูอํานวยการจากขาราชการในสังกัด  กอ.รมน.   หรือเจาหนาที่ของรัฐอื่นไดตามความเหมาะสม  โดยคํานึงถึงโครงสรางและการแบงสวนงานภายในของ  กอ.รมน.ใหเสนาธิการทหารบกเปนเลขาธิการ  กอ.รมน.  มีหนาที่รับผิดชอบงานอํานวยการและธุรการของ  กอ.รมน.
รองผูอํานวยการ  ผูชวยผูอํานวยการ  และเลขาธิการ  กอ.รมน.  มีอํานาจบังคับบัญชาขาราชการ  พนักงาน  และลูกจางใน  กอ.รมน.  รองจากผูอํานวยการและมีอํานาจหนาที่อื่นตามที่ผูอํานวยการกําหนด
ใหผูอํานวยการมีอํานาจทํานิติกรรม  ฟองคดี  ถูกฟองคดี  และดําเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.  ทั้งนี้  โดยกระทําในนามของสํานักนายกรัฐมนตรีในการปฏิบัติหนาที่และการใชอํานาจตามพระราชบัญญัตินี้  ผูอํานวยการจะมอบอํานาจเปนหนังสือใหรองผูอํานวยการเปนผูปฏิบัติหรือใชอํานาจแทนก็ได
มาตรา ๖ ให กอ.รมน.เปนสวนราชการตามกฎหมายวาดวยวิธีการงบประมาณและกฎหมายวาดวยเงินคงคลัง
มาตรา ๗ ให  กอ.รมน.  มีอํานาจหนาที่  ดังตอไปนี้
(๑)  ติดตาม  ตรวจสอบ  และประเมินแนวโนมของสถานการณที่อาจกอใหเกิดภัยคุกคามดานความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดําเนินการตอไป
(๒)  อํานวยการในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  ในการนี้ใหมีอํานาจหนาที่เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและดําเนินการตอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาใหความเห็นชอบ  
เมื่อคณะรัฐมนตรีใหความเห็นชอบแลวใหหนวยงานของรัฐปฏิบัติตามแผนและแนวทางนั้น
(๓)  อํานวยการ   ประสานงาน  และเสริมการปฏิบัติของหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของในการดําเนินการตามแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานตาม  (๒)  ในการนี้  คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให  กอ.รมน.  มีอํานาจในการกํากับการดําเนินการของหนวยงานของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดดวยก็ได
(๔)  เสริมสรางใหประชาชนตระหนักในหนาที่ที่ตองพิทักษรักษาไวซึ่งชาติ ศาสนา  และพระมหากษัตริย  สรางความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ  รวมทั้งสงเสริมใหประชาชนเขามามีสวนรวมในการปองกันและ   แกไขปญหาตาง ๆ   ที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และความสงบเรียบรอยของสังคม
(๕)  ดําเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี  สภาความมั่นคงแหงชาติ  หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๘ นอกจากการมอบอํานาจตามกฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการแผนดินแลว  บรรดาอํานาจหนาที่ของผูอํานวยการตามพระราชบัญญัตินี้  ผูอํานวยการจะมอบอํานาจให  ผอ.รมน.ภาค  ผอ.รมน.จังหวัด  หรือผูอํานวยการศูนยหรือหัวหนาหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นปฏิบัติแทนก็ได
มาตรา ๙ เพื่อประโยชนในการปฏิบัติการตามอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.ตามพระราชบัญญัตินี้ ใหหนวยงานของรัฐจัดสงเจาหนาที่ของรัฐไปปฏิบัติหนาที่ใน  กอ.รมน.ตามที่ผูอํานวยการรองขอ   และใหองคกรกลางบริหารงานบุคคลหรือองคกรอื่นที่มีอํานาจหนาที่ทํานองเดียวกันของหนวยงานของรัฐนั้น  จัดใหหนวยงานของรัฐที่จัดสงเจาหนาที่ของรัฐไปปฏิบัติหนาที่ยัง  กอ.รมน.  มีอัตรากําลังแทนตามความจําเปนแตไมเกินจํานวนอัตรากําลังที่จัดสงไป
มาตรา ๑๐ ใหมีคณะกรรมการอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรคณะหนึ่ง  ประกอบดวย  
นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเปนประธาน  รัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม  และรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยเปนรองประธาน รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรม  รัฐมนตรีวาการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ปลัดกระทรวงกลาโหม  ปลัดกระทรวงการตางประเทศ  ปลัดกระทรวงมหาดไทย    อัยการสูงสุด  เลขาธิการสภาความมั่นคงแหงชาติ   ผูอํานวยการสํานักขาวกรองแหงชาติ    ผูอํานวยการสํานักงบประมาณ  เลขาธิการคณะกรรมการขาราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ  ผูบัญชาการทหารสูงสุด  ผูบัญชาการทหารบก   ผูบัญชาการทหารเรือ  ผูบัญชาการทหารอากาศ   ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติ  อธิบดีกรมบัญชีกลางและอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  เปนกรรมการ   และเลขาธิการ กอ.รมน. เปนกรรมการและเลขานุการ   และใหผูอํานวยการแตงตั้งขาราชการใน  กอ.รมน.  เปนผูชวยเลขานุการไมเกินสองคน
ใหคณะกรรมการมีอํานาจหนาที่กํากับ  ใหคําปรึกษาและเสนอแนะตอ  กอ.รมน.  ในการปฏิบัติงานในอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.  รวมตลอดทั้งอํานาจหนาที่  ดังตอไปนี้
(๑)  วางระเบียบเกี่ยวกับการอํานวยการและประสานงานกับหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(๒)  วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ  กอ.รมน.  กอ.รมน.ภาค  และ  กอ.รมน.จังหวัด
(๓)  ออกขอบังคับเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การคลัง  การพัสดุ  และการจัดการทรัพยสินของ    กอ.รมน.
(๔)  แตงตั้งคณะที่ปรึกษา  กอ.รมน.โดยคํานึงถึงการมีสวนรวมของประชาชนในภาคสวนตางๆ อยางนอยใหประกอบดวยผูทรงคุณวุฒิหรือมีประสบการณดานรัฐศาสตร  รัฐประศาสนศาสตร  นิติศาสตร    วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี  การคุมครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การแกไขปญหาโดยสันติิวิธี  การรักษาความมั่นคงของรัฐ  สื่อมวลชนและมีหนาที่ในการเสนอแนะการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น และใหคําปรึกษาตามที่คณะกรรมการหารือ
(๕)  แตงตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหนาที่ตามที่ไดรับมอบหมาย
(๖)  ปฏิบัติหนาที่อื่นตามที่บัญญัติไวในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๑ เมื่อมีกรณีจําเปนในอันที่จะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในพื้นที่ของกองทัพภาคใด  คณะกรรมการโดยคําเสนอแนะของผูอํานวยการจะมีมติใหกองทัพภาคนั้นจัดใหมีกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค  เรียกโดยยอวา  กอ.รมน.ภาค”  ก็ได
ให  กอ.รมน.ภาค  เปนหนวยงานขึ้นตรงตอ  กอ.รมน.  โดยมีแมทัพภาคเปนผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค  เรียกโดยยอวา  ผอ.รมน.ภาค”   มี หน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคตามที่ผูอํานวยการมอบหมาย
เพื่อประโยชนในการปฏิบัติหนาที่ของ  กอ.รมน.ภาค ใหผูอํานวยการมีอํานาจแตงตั้งขาราชการและลูกจาง ของกองทัพภาค  รวมตลอดทั้งขาราชการ  พนักงาน  และลูกจางของหนวยงานของรัฐที่อยูในเขตพื้นที่ใหมาปฏิบัติงานประจําหรือเปนครั้งคราวใน  กอ.รมน.ภาค  ไดตามที่ผอ.รมน.ภาค เสนอ
ผอ.รมน.ภาค  เปน ผูบังคับบัญชาขาราชการ   พนักงาน   และลูกจางที่ไดรับ คําส่ังใหมาปฏิบัติงานใน  กอ.รมน.ภาค และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ  กอ.รมน.ภาค
การจัดโครงสราง  การแบงสวนงานและอํานาจหนาที่  อัตรากําลัง และการบริหารงานของสวนงานภายใน  กอ.รมน.ภาค  ใหเปนไปตามที่ผูอํานวยการกําหนดตามขอเสนอของ  ผอ.รมน.  ภาค
ให กอ.รมน. และกองทัพภาคพิจารณาใหการสนับ สนุนดานบุคลากร  งบประมาณและทรัพยสิน  ในการ       ปฏิบัติงานของ กอ.รมน.ภาค ตามที่ ผอ.รมน.ภาค  รองขอ  และใหนําความในมาตรา  ๙  มาใชบังคับกับ  กอ.รมน.ภาค  ดวยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชนใ นการสรางการมีสวนรวมในการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น  ผอ.รมน.ภาค  อาจแตงตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา  กอ.รมน.ภาคขึ้นคณะหนึ่ง  ประกอบดวย ประธานกรรมการและกรรมการมีจํานวนไมเกินหาสิบคนโดยแตงตั้งจากผูซึ่งเปนที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ทุกภาคสวน   มีหนาที่ในการเสนอแนะการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น  และใหคําปรึกษาตามที่  ผอ.รมน.ภาค  รองขอ
มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชนในการสนับสนุน   ชวยเหลือ และปฏิบัติการตามอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.ภาค  ตามมาตรา  ๑๑  ผอ.รมน.ภาค  โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยและผูอํานวยการจะตั้งกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด  เรียกโดยยอวา  กอ.รมน.จังหวัด”   ขึ้นในจังหวัดที่อยูในเขตของกองทัพภาคเปนหนวยงานขึ้นตรงตอ  กอ.รมน.ภาค  ก็ได  โดยมีหนาที่รับผิดชอบและสนับสนุน การรักษาความมั่นคงภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดนั้น ตามที่ผูอํานวยการมอบหมาย  และใหผูวาราชการจังหวัดเปนผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด  เรียกโดยยอวา  ผอ.รมน.จังหวัด”  เปนผูบังคับบัญชาขาราชการ  พนักงาน  และลูกจาง  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ  กอ.รมน.จังหวัด
การจัดโครงสราง  การแบงสวนงานและอํานาจหนาที่  อัตรากําลัง  และการบริหารงานของสวนงานภายใน  กอ.รมน.จังหวัด  ใหเปนไปตามที่ผูอํานวยการกําหนดให  กอ.รมน.  และจังหวัดพิจารณาใหการสนับสนุนดานบุคลากร  งบประมาณและทรัพยสิน  ในการปฏิบัติงานของ  กอ.รมน.จังหวัด  ตามที่  ผอ.รมน.จังหวัด  รองขอ  และใหนําความในมาตรา  ๙  มาใชบังคับกับ  กอ.รมน.จังหวัด  ดวยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชนใ นการสรางการมีสวนรวมในการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น   ผอ.รมน.จังหวัด   อาจแตงตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.จังหวัดขึ้นคณะหนึ่ง  ประกอบดวยประธานกรรมการและกรรมการมีจํานวนไมเกินสามสิบคนโดยแตงตั้งจากผูซึ่งเปนที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพ้ืนที่ทุกภาคสวน  มีหนาที่ในการเสนอแนะการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น และใหคําปรึกษาตามที่  ผอ.รมน.จังหวัดรองขอ

หมวด  ๒
ภารกิจการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณอันกระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแตยังไมมีความจําเปนตองประกาศสถานการณฉุกเฉินตามกฎหมายวาดวยการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน และเหตุการณนั้นมีแนวโนมที่จะมีอยูตอไปเปนเวลานานทั้งอยูในอํานาจหนาที่หรือความรับผิดชอบในการแกไขปญหาของหนวยงานของรัฐหลายหนวยคณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให   กอ.รมน.  เปนผูรับผิดชอบในการปองกัน  ปราบปราม  ระงับ  ยับยั้ง  และแกไขหรือบรรเทาเหตุการณที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น ภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กําหนดได   ทั้งนี้   ใหประกาศใหทราบโดยทั่วไป
ในกรณีที่เหตุการณตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดําเนินการแกไขไดตามอํานาจหนาที่ของหนวยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ  ใหนายกรัฐมนตรีประกาศใหอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.   ที่ไดรับมอบหมายตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง  และใหนายกรัฐมนตรีรายงานผลตอสภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภาทราบโดยเร็ว
มาตรา ๑๖ ในการดําเนินการตามที่ไดรับมอบหมายตามมาตรา  ๑๕  ให กอ.รมน.มีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้ดวย
(๑)  ปองกัน  ปราบปราม  ระงับ  ยับยั้ง  และแกไขหรือบรรเทาเหตุการณที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่ไดรับมอบหมายตามมาตรา  ๑๕
(๒)  จัดทําแผนการดําเนินการตาม  (๑)  เสนอตอคณะกรรมการเพื่อใหความเห็นชอบ
(๓)  กํากับ ติดตาม และเรงรัดหนวยงานของรัฐและเจาหนาที่ของรัฐที่เกี่ยวของใหดําเนินการ หรือบูรณาการในการดําเนินการใหเปนไปตามแผนตาม  (๒)
(๔)  ส่ังใหเจาหนาที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมวาจะเปนภัยตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือเปนอุปสรรค ตอการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ที่กําหนด
ในการจัดทําแผนตาม  (๒)  ให  กอ.รมน.  ประชุมหารือกับสํานักงานสภาความมั่นคงแหงชาติและหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของดวย  และในการนี้ใหจัดทําแผนเผชิญเหตุในแตละสถานการณที่คาดวาจะเกิดขึ้น
ในกรณีที่มีคําส่ังตาม  (๔)  แลว ให  กอ.รมน.  แจงใหหนวยงานของรัฐที่เจาหนาที่ของรัฐผูนั้นสังกัดทราบพรอมดวยเหตุผล  และใหเจาหนาที่ของรัฐซึ่งไดรับคําส่ังใหออกจากพื้นที่ ั้ นนไปรายงานตัวยังหนวยงานของรัฐที่ตนสังกัดโดยเร็ว   ในการนี้ใหหนวยงานของรัฐเจาสังกัดดําเนินการออกคําส่ังใหเจาหนาที่ของรัฐผูนั้นพนจากตําแหนงหนาที่  หรือพนจากการปฏิบัติหนาที่ในพื้นที่ตามที่กําหนดไวในคําส่ังดังกลาว
เพื่อประโยชนในการปฏิบัติการตามอํานาจหนาที่ตามวรรคหนึ่ง  ถามีความจําเปนที่  กอ.รมน. ตองใชอํานาจหรือหนาที่ตามกฎหมายใดที่อยูในอํานาจหนาที่หรือความรับผิดชอบของหนวยงานของรัฐใดใหคณะรัฐมนตรีมีอํานาจแตงตั้งผูดํารงตําแหนงใด ๆ  ใน กอ.รมน.เปนเจาพนักงานหรือพนักงานเจาหนาที่ตามกฎหมายนั้น  หรือมีมติใหหนวยงานของรัฐนั้นมอบอํานาจหนาที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายในเรื่องดังกลาว  ให  กอ.รมน.  ดําเนินการแทนหรือมีอํานาจดําเนินการดวยภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กําหนด  ทั้งนี้ ตองกําหนดหลักเกณฑและเงื่อนไขในการใชอํานาจนั้นไวดวย
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีความจําเปนเพื่อแกไขปญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรใหเปนไปตามอํานาจหนาที่ในมาตรา  ๑๖  ในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  
ใหผูอํานวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจจัดตั้งศูนยอํานวยการหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นเพื่อปฏิบัติภารกิจอยางหนึ่งอยางใดหรือหลายอยางเปนการเฉพาะก็ได
โครงสราง  อัตรากําลัง  การบริหารจัดการ  อํานาจหนาที่ การกํากับติดตามหรือ บังคับบัญชา
ศูนยอํานวยการหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นตามวรรคหนึ่ง  ใหเป็นไปตามที่ผูอํานวยการโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการกําหนด  โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใหนําความในมาตรา  ๙   มาใชบังคับกับศูนยหรือหนวยงานตามวรรคหนึ่งดวยโดยอนุโลม  โดยใหอํานาจของผูอํานวยการเปนอํานาจของผูอํานวยการศูนยหรือหัวหนาหนวยงานนั้น
มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชนในการปองกัน  ปราบปราม  ระงับ  ยับยั้ง  และแกไขหรือบรรเทาเหตุการณภายในพื้นที่ตามมาตรา  ๑๕  ใหผูอํานวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอํานาจออกขอกําหนดดังตอไปนี้
(๑)  ใหเจาหนาที่ของรัฐที่เกี่ยวของปฏิบัติการหรืองดเวนการปฏิบัติการอยางหนึ่งอยางใด
(๒)  หามเขาหรือใหออกจากบริเวณพื้นที่  อาคาร  หรือสถานที่ที่กําหนดในหวงเวลาที่ปฏิบัติการ  เวนแตไดรับอนุญาตจากพนักงานเจาหนาที่  หรือเปนบุคคลซึ่งไดรับการยกเวน
(๓)  หามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กําหนด
(๔)  หามนําอาวุธออกนอกเคหสถาน
(๕)  หามการใชเสนทางคมนาคมหรือการใชยานพาหนะ  หรือกําหนดเงื่อนไขการใชเสนทางคมนาคมหรือการใชยานพาหนะ
(๖)  ใหบุคคลปฏิบัติหรืองดเวนการปฏิบัติอยางหนึ่งอยางใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณอิเล็กทรอนิกส  เพื่อปองกันอันตรายที่จะเกิดแกชีวิต  รางกาย  หรือทรัพยสินของประชาชน
ขอกําหนดตามวรรคหนึ่งจะกําหนดหลักเกณฑ เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดไวดวยก็ได 
ทั้งนี้  การกําหนดดังกลาวตองไมกอความเดือดรอนแกประชาชนเกินสมควรแกเหตุ
มาตรา ๑๙ ในการดําเนินการตามอํานาจหนาที่ตามมาตรา  ๑๖  (๑)  ใหผูอํานวยการและพนักงานเจาหนาที่ที่ผูอํานวยการมอบหมาย  เปนพนักงานฝายปกครองหรือ ตํารวจชั้นผูใหญและรวมเปนพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิีธพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๐ ในการใชอํานาจของ  กอ.รมน.  ตามมาตรา  ๑๖  (๑)  ถากอใหเกิดความเสียหายแกประชาชนผูสุจริต  ให  กอ.รมน. จัดใหผูนั้นไดรับการชดเชยคาเสียหายตามควรแกกรณีตามหลักเกณฑและเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๒๑ ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให  กอ.รมน. ดําเนินการตามมาตรา  ๑๕ 
หากปรากฏวาผูใดตองหาวาไดกระทําความผิดอันมีผลกระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่
คณะรัฐมนตรีกําหนด  แตกลับใจเขามอบตัวตอพนักงานเจาหนาที่หรือเปนกรณีที่พนักงานสอบสวนไดดําเนินการสอบสวนแลวปรากฏวาผูนั้นไดกระทําไปเพราะหลงผิดหรือรูเทาไมถึงการณและการเปด
โอกาสใหผูนั้นกลับตัวจะเปนประโยชนตอการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  ในการนี้ใหพนักงานสอบสวนสงสํานวนการสอบสวนของผูตองหานั้น พรอมทั้งความเห็นของพนักงานสอบสวนไปใหผูอํานวยการ
ในกรณีที่ผูอํานวยการเห็น ดวยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนใหสงสํานวนพรอมความเห็นของผูอํานวยการใหพนักงานอัยการเพื่อยื่นคํารองตอศาล  หากเห็นสมควรศาลอาจส่ังใหสงผูตองหานั้น ใหผูอํานวยการเพื่อเขารับการอบรม  ณ   สถานที่ที่กําหนดเปนเวลาไมเกินหกเดือน และปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาลกําหนดดวยก็ได
การดําเนินการตามวรรคสอง  ใหศาลส่ังไดตอเมื่อผูตองหานั้นยินยอมเขารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกลาว
เมื่อผูตองหาไดเขารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกําหนดดังกลาวแลว สิทธินําคดีอาญามาฟองผูตองหานั้นเปนอันระงับไป
มาตรา ๒๒ พนักงานเจาหนาที่ซึ่งปฏิบัติหนาที่ภายในพื้นทีที่กําหนดตามมาตรา ๑๕   อาจไดรับคาตอบแทนพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
พนักงานเจาหนาที่ตามวรรคหนึ่งผูใดเจ็บปวย เสียชีิวต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหนาที่  ใหไดรับสิทธิประโยชนอื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมายกําหนด  ทั้งนี้  ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๒๓ บรรดาขอกําหนด ประกาศ คําสั่ง หรือการกระทําตามหมวดนี้ไมอยูในบังคับของกฎหมายวาดวย วิีธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การดําเนินคดีใด ๆ  อันเนื่องมาจากขอกําหนด  ประกาศ  คําส่ัง  หรือการกระทําตามหมวดนี้ ใหอยูในอํานาจของศาลยุติธรรม  ทั้งนี้  ในกรณีที่ศาลจะตองพิจารณาเพื่อใชมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวกอนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา   แลวแตกรณี  ใหศาลเรียกเจาพนักงานหรือพนักงานเจาหนาที่ซึ่งออกขอกําหนด  ประกาศ  หรือคําส่ัง หรือกระทําการนั้น  มาเพื่อชี้แจงขอเท็จจริง  รายงาน   หรือแสดงเหตุผล เพื่อประกอบการพิจารณาส่ังใชมาตรการหรือวิีธการชั่วคราวดังกลาวดวย

หมวด  ๓
บทกําหนดโทษ

มาตรา ๒๔ ผูใดฝาฝนขอกําหนดที่ออกตามมาตรา  ๑๘  (๒)  (๓)  (๔)  (๕)    หรือ  (๖)   ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหนึ่งป  หรือปรับไมเกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๒๕ ใหโอนบรรดากิจการ   ทรัพยสิน   งบประมาณ   หนี้  สิทธิ  ขาราชการ  พนักงาน  ลูกจาง  และอัตรากําลังของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในตามคําส่ังสํานักนายกรัฐมนตรี   ที่  ๒๐๕/๒๕๔๙  เรื่อง  ก ารจัดตั้งกองอํานวยการรัก ษาความมั่นคงภายใน   ลงวันที่   ๓๐  ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙  มาเปนของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๖ ใหศูนยอํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต  และกองบัญชาการผสมพลเรือน  ตํารวจ ทหาร  ที่จัดตั้งขึ้นตามคําส่ังสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๗/๒๕๔๙ เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต  ลงวันที่  ๓๐  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙    เปนศูนยอํานวยการหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา  ๑๗  แหงพระราชบัญญัตินี้

ผูรับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก  สุรยุทธ  จุลานนท
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ  :-  เหตุผลในการประกาศใชพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง
จากบุคคลหรือกลุมบุคคลที่มีหลากหลาย  มีความรุนแรง  รวดเร็ว  สามารถขยายตัวจนสงผลกระทบเปน วงกวาง  และมีความสลับซับซอน  จนอาจกระทบตอเอกราชและบูรณภาพแหงอาณาเขต  กอใหเกิดความ
ไมสงบเรียบรอยในประเทศ  และเปนภยันตรายตอความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น เพื่อใหสามารถปองกัน 
และระงับภัยที่เกิดขึ้นไดอยางทันทวงที  จึงสมควรกําหนดใหมีหนวยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบ
ดําเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  ตลอดจนบูรณาการ และประสานการปฏิบัติรวมกับทุกสวนราชการ  สง เสริมใหประชาชนเขามามีสวนรวมในการปองกันและรักษาความมั่นคง  รวมทั้งเสริมสรางความเขมแข็งในทองถิ่นของตน  เพื่อปองกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแตในยามปกติ  และในยามที่เกิดสถานการณอันเปนภัยตอความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  และกําหนดใหมีมาตรการและกลไกควบคุมการใชอํานาจ    เปนการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ  เพื่อใหสามารถแกไขสถานการณไดอยางมีประสิทธิภาพและเปนเอกภาพ จึงจําเปนตองตราพระราชบัญญัตินี้