อ่านเฉพาะบทความของบล็อคในรูปแบบพิเศษ ...
sidebar / flipcard / mosaic / snapshot / timeslide

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

------------


            ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เปนอดีตภาคล่วงแล้ว 2454 พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม ศุกรสังวัจฉร มาฆมาศ กัณหะปักษ์ ฉดิถีชีวะวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก 130 กุมภาพันธ์มาส อัฐมาศาหคุณพิเศษ บริเฉทกาลกำหนดพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อติศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุโตสุชาตสัง สุทธเคราะหณี จักรีบรมนารถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฎนเรนทร์สูร สันตติวงษวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฏาภินิหารอติเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตตะมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอุดลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิ์สมญาเทพทวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศล ประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวาร นายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมตประสิทธิวรยศ มโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเสวตฉัตาดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาล มหารัษฏาธิเบนทร์ ปรเมนทร ธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์ว่า พระธรรมนูญศาลทหารบกแลพระธรรมนูญศาลทหารเรือ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตราเปนพระราชบัญญัติขึ้นไว้เมื่อรัตนโกสินทรศก 126 แล 127 นั้น เปนแต่พระราชกำหนดสำหรับจัดการ แลกำหนดน่าที่ แลอำนาจศาลทหารบก แลศาลทหารเรือ และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นไว้เมื่อรัตนโกสินทรศก 127 นั้น ก็บัญญัติแต่เฉภาะลักษณโทษแห่งความผิดล่วงเลมิดต่อพระราชกำหนดกฎหมายสามัญบัดนี้สมควรจะมีพระราชบัญญัติ กำหนดลักษณโทษแห่งความผิดต่าง ๆ อันเปนฐานล่วงเลมิดต่อกฎหมาย แลน่าที่ฝ่ายทหารขึ้นไว้เปนหลักฐาน แต่ทรงพระราชปรารภว่าการกระทำผิดต่อกฎหมาย แลน่าที่ฝ่ายทหารนั้น แม้เปนการซึ่งเกิดจากความประพฤติของบุคคลที่เปนทหารเสียเป็นพื้นก็จริง แต่มีบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นจากความประพฤติของบุคคลสามัญก็ได้ ในพระราชบัญญัติเช่นนี้ควรมีบทกฎหมายบางอย่างให้ใช้ได้ตลอดทั้งบุคคลที่เปนทหารแลบุคคลสามัญแลใช่แต่เท่านั้น บุคคลซึ่งเปนทหารย่อมตั้งอยู่ในใต้บังคับวินัยทหารเมื่อกระทำผิดขึ้นต่อพระราชกำหนดกฎหมายอย่างคนสามัญ ความผิดนั้นย่อมมีลักษณการละเว้นความควรประพฤติในฝ่ายทหารเจือไปด้วย สมควรมีโทษหนักยิ่งกว่าผู้กระทำผิดเช่นเดียวกันซึ่งเป็นคนสามัญเพราะฉนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราไว้เปนพระราชบัญญัติสืบไปดังนี้

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

ภาค 1

ว่าด้วยข้อบังคับต่าง ๆ

มาตรา 1     ให้เรียกพระราชบัญญัตินี้ว่า ประมวลกฎหมายอาญาทหาร
มาตรา 2     ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน รัตนโกสินทรศก 131 เปนต้นไป
มาตรา 3     ตั้งแต่วันที่ใช้กฎหมายนี้สืบไป ให้ยกเลิก
            1) กฎหมายลักษณขบถศึก
            2) ข้อความในพระราชกำหนด กฎหมาย แลกฎ ข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวกับบรรดาความผิด ที่กฎหมายนี้บัญญัติว่าต้องมีโทษ
มาตรา 4     ในกฎหมายนี้ 
            คำว่า "ทหาน" หมายความว่า บุคคลที่หยู่ในอำนาดกดหมายฝ่ายทหาน
            คำว่า "เจ้าพนักงาน" ที่ใช้ในประมวลกฎหมายลักษณอาญา นั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดานายทหารบก นายทหารเรือ ชั้นสัญญาบัตร์ แลชั้นประทวน ที่อยู่ในกองประจำการนั้นด้วย
            คำว่า "ราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแขงต่ออำนาจผู้ใหญ่ หรือที่เปนขบถ หรือเปนโจรสลัด หรือที่ก่อการจลาจล
            คำว่า "ต่อหน้าราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงที่อยู่ในเขตต์ซึ่งกองทัพได้กระทำสงครามนั้นด้วย
            คำว่า "คำสั่ง" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อความที่ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรเป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัยแลชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ท่านว่า เมื่อผู้รับคำสั่งนั้นได้กระทำตามแล้วก็เป็นอันหมดเขตร์ของการที่สั่งนั้น
            คำว่า "ข้อบังคับ" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อบังคับแลกฎต่าง ๆ ที่ให้ใช้อยู่เสมอ ซึ่งผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรได้ออกไว้โดยสมควรแก่กาลสมัย แลชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย
มาตรา 5     ทหารคนใดกระทำความผิดอย่างใด ๆ นอกจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ ท่านว่ามันควรรับอาญาตามลักษณะพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้ากฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ให้เปนอย่างอื่น
มาตรา 5 ทวิ     บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ผู้ใดกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นนอกราชอาณาจักรจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรในกรณีที่มิใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 107 ถึงมาตรา 129 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ถ้าได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก แต่ถ้าผู้นั้นยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
มาตรา 6     ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลทหารให้ลงอาญาประหารชีวิต ท่านให้เอาไปยิงเสียให้ตาย
มาตรา 7     ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำความผิดต่อวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำความผิดใน หรือนอกราชอาณาจักร
มาตรา 8     การกระทำความผิดอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 46 และมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเปนความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจึงให้เป็นไปตามนั้น
มาตรา 9     ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย
มาตรา 10     บรรดาบทในพระราชกำหนดกฎหมายที่ท่านกำหนดแต่โทษปรับสฐานเดียว ถ้าจำเลเปนทหารซึ่งไม่ใช่ชั้นสัญญาบัตร หรือชั้นประทวน ท่านว่าถ้าศาลวินิจฉัยเห็นสมควรจะให้จำเลยรับโทษจำคุก แทนค่าปรับตามลักษณที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายลักษณอาญานั้นก็ได้
มาตรา 11     ความผิดฐานลหุโทษก็ดี ความผิดอันต้องด้วยโทษจำคุกไม่เกินกว่าเดือนหนึ่ง หรือปรับไม่เกินกว่าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นนั้นเปนโทษที่หนักก็ดี ถ้าจำเลยเปนทหาร ท่านให้ศาลวินิจฉัยตามเหตุการ ถ้าเห็นสมควรจะเปลี่ยนให้เปนโทษขังไม่เกินกว่าสามเดือนก็ได้
มาตรา 12     เมื่อศาลทหารพิพากษาเด็ดขาดให้ลงโทษแก่ทหารคนใด ท่านว่าให้ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหาร ผู้มีอำนาจสั่งให้ลงโทษตามคำพิพากษานั้นวินิจฉัยตามเหตุการ ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังต่อหน้าประชุมทหารหมู่หนึ่งหมู่ใด ตามที่เห็นสมควรก็ได้


ภาคที่ 2

ว่าด้วยลักษณความผิดโดยเฉภาะ


มาตรา 13     ชะเลยศึกคนใดท่านปล่อยตัวไปโดยมันให้คำสัตย์ไว้ว่าจะไม่กระทำการรบพุ่งต่อท่านอีกจนตลอดเวลาสงครามคราวนั้น ถ้าแลมันเสียสัตย์นั่นไซ้ ท่านจับตัวมาได้ ท่านให้ประหารชีวิตมันเสีย หรือจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 14     ผู้ใดเปนราชสัตรู แลมันปลอมตัวล่วงเข้าไปในป้อม ค่าย เรือรบ หรือสฐานที่ใด ๆ อันเปนของสำหรับทหาร หรือมีทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ไซร้ ท่านว่ามันเป็นผู้ลักลอบสอดแนม ให้เอาตัวมันไปประหารชีวิตเสีย หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
มาตรา 15     ผู้ใดปิดบังซ่อนเร้น หรือช่วยราชสัตรูที่กระทำเช่นว่ามาในมาตรา 14 โดยที่มันรู้ขัดว่าเป็นราชสัครูก็ดี มันปิดบังซ่อนเร้น หรือช่วยผู้ลักลอบสอดแนมโดยที่รู้ชัดแล้วก็ดี ท่านว่าโทษมันถึงต้องประหารชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
มาตรา 16     ผู้ใดเปนทหาร แลมันบังอาจเกลี้ยกล่อมคนให้เไปเข้าเป็นพวกราชสัตรู ท่านว่าโทษมันถึงต้องประหารชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
มาตรา 17     ผู้ใดท่านใช้ให้เปนนายทหารบังคับกองทหารใหญ่น้อย ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่อย่างใด ๆ ของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ายังมิทันสิ้นกำลังแลสามารถที่มันจะป้องกันแลต่อสู้ข้าศึก มันยอมแพ้ยกกองทหาร ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่นั้น ๆ ให้แก่ราชสัตรูเสียไซ้ ท่านว่าโทษมันถึงประหารชีวิต หรือจำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 18     ผู้ใดยุงยง หรือข่มขืนใจ หรือสมคบกันเพื่อยุยง หรือข่มขืนใจให้ผู้บังคับกองทหารใหญ่น้อย ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่อย่างใด ๆ ของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยอมแพ้แก่ราชสัตรู ท่านว่าโทษของมันถึงประหารชีวิต หรือจำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 19     ผู้ใดเป็นายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะกระทำการบพุ่ง ถ้าและมันถอยออกเสียจากที่รบนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ท่านว่าโทษของมันถึงประหารชีวิต หรือจำคุกจนตอดชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 20     ผู้ใดเปนนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมันจงใจกระทำหรือปล่อยให้เรือนั้นชำรุดหรืออับปาง ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา 21     ผู้ใดเปนนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมันกระทำหรือปล่อยให้เรือนั้นชำรุด หรืออับปางด้วยความประมาทของมันไซ้ ท่านว่าโทษของมัน ถึงจำคุกไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 22     ผู้ใดเจตนากระทำ หรือปล่อยให้เรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชำรุด หรืออับปาง ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี
มาตรา 23     ผู้ใดกระทำ หรือปล่อยให้เรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชำรุด หรืออับปางด้วยความประมาทของมันไซ้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าสองปี
มาตรา 24     ถ้าเรือนั้นเป็นเรือสำหรับใช้เดิรในลำน้ำ ท่านว่าควรลดอาญาอย่างหนักที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20, 21, 22, 23 นั้นลงกึ่งหนึ่ง และมิให้ศาลต้องถือตามอาญาอย่างเบาที่บัญญัติไว้นั้น ๆ เปนประมาณในการที่จะปรับโทษผู้กระทำผิด
มาตรา 25     ผู้ใดเปนนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือเดินทะเลลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นเช่นพยุ เปนต้น และมันไม่พากเพียรจนสุดสิ้นความสามารถที่จะแก้ไขให้เรือนั้นพ้นอันตรายเสียก่อน มันละทิ้งเรือนั้นไปเสียไซ้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 26     ผู้ใดเปนนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือเดิรทะเลลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น เช่นเรือเกยที่ตื้น หรือจวนอับปาง มันรู้ว่ายังมีคนอยู่ในเรือนั้น แลมันจงใจไปเสียจากเรือนั้นไซ้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 27     ผู้ใดเปนทหาร ถ้ามันมิได้มีเหตุอันสมควรที่จะกระทำได้ และมันบังอาจทำลาย หรือละทิ้งเครื่องสาตราวุธ กระสุนดินปืน เสบียง ม้า หรือเครื่องยุทธนาการอย่างใด ๆ ก็ดี หรือทำให้ของนั้น ๆ วิปลาศบุบฉลายไปก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระหว่างโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเปนสามสฐาน คือสฐานหนึ่งให้ประหารชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันกระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่ายี่สิบปี
มาตรา 28     ธงซึ่งได้มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ในราชการ เปนเครื่องหมายสำหรับประเทศก็ดี รัฐบาลก็ดี หรือสำหรับเรือรบหลวง หรือกรมกองทหารใด ๆ ก็ดี หรือเปนเครื่องหมายสำหรับเกียรติยศ หรือตำแหน่งน่าที่ราชการของบุคคลใด ๆ ก็ดีเหล่านี้ ถ้าในเวลาเจ้าพนักงานได้ชักขึ้นไว้ หรือประดิษฐไว้ หรือเชิญไปมาแห่งใด เพื่อเปนเครื่องหมายดังที่ว่านั้น ผู้หนึ่งผู้ใดบังอาจ ลด ล้ม หรือกระทำแก่ธงนั้นให้อันตราย ชำรุด หรือเปื้อนเปรอะ เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรไซ้ ท่านว่ามันมีความผิดฐานสบประมาทธง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่า 1 ปี   อนึ่ง ถ้าธงที่มันสบประมาทนั้น เปนธงเครื่องหมายสำหรับพระเกียรติยศของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมาร หรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระราชโอรสพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่ารัชกาลใด ๆ ก็ดี ท่านไม่ประสงค์จะให้เอาความในมาตรานี้ไปใช้ลบล้างอาญาที่ท่านได้บัญญัติไว้สำหรับความผิดฐานแสดงความอาฆาฎมาทร้ายแลหมิ่นประมาท ดังได้กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายลักษณอาญาสำหรับพระราชอาณาจักร์สยามมาตรา 98 หรือมาตรา 100 นั้น
มาตรา 29     ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้อยู่ยามรักษาการก็ดี ท่านมอบหมายให้กระทำการตามบังคับ หรือคำสั่งอย่างใด ๆ ก็ดี ถ้าและมันละทิ้งน่าที่นั้นเสีย หรือมันไปเสียจากน่าที่โดยมิได้รับอนุญาตก่อน ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสฐาน คือ สฐานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สฐานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสิบปี
มาตรา 30     ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืน หรือละเลยมิกระทำตามคำสั่งอย่างใด ๆ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเปนสามสฐาน คือสฐานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สฐานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 31     ผู้ใดเปนทหาร แลมันขัดขืนมิกระทำตามคำสั่งอย่างใด ๆ โดยมันแสดงความขัดขืนด้วยกิริยา หรือวาจาองอาจต่อหน้าหมู่ทหารถืออาวุธด้วยไซ้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเปนสามสฐาน คือ สฐานหนึ่งให้ประหารชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมัน ไม่เกินกว่าสิบปี
มาตรา 32     ผู้ใดเปนทหาร และมันขัดขืน หรือละเลยมิกระทำตามข้อบังคับอย่างใด ๆ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำคามผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึกไซ้ ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 33     ผู้ใดเปนทหาร และมันขัดขืนมิกระทำตามข้อบังคับอย่างใด ๆ โดยมันแสดงความขัดขืนนั้นด้วยกริยา หรือวาจาองอาจต่อหน้าหมู่ทหารถืออาวุธด้วยไซ้ ท่านว่ามันมีคามผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาศึกสงครามหรือในเขตร์ ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 34     ผู้ใดเปนทหาร ท่านใช้ให้เปนยามรักษาการ หรืออยู่ยามประจำหน้าที่ และมันหลับเสียในหน้าที่ก็ดี หรือเมาสุราในหน้าที่ก็ดี ท่านว่ามันความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงสามปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมัน ไม่เกินกว่าสองปี
มาตรา 35     ผู้ใดเปนทหาร ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการ หรืออยู่ยามประจำหน้าที่ แลปรากฎว่ามันมิได้เอาใจใส่ หรือมันมีความประมาทในหน้าที่นั้นไซ้ ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสามปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสองปี
มาตรา 36     ผู้ใดบังอาจใช้กำลังทำร้ายแก่ทหารยามรักษาการก็ดี หรือแก่ทหารอยู่ยามประจำหน้าที่ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คิอ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเปนสามสฐาน คือ สถานหนึ่งให้ประหารชีวิตร์ สฐานหนึ่งให้จำคุกมันจนตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกมันตั้งแต่ห้าปีจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลา หรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปีถ้าและในการประทุษร้ายนั้น มันทำให้เขาถึงตาย หรือให้เขามีบาดเจ็บถึงสาหัสด้วยไซ้ ท่านว่าถ้ามันสมควรรับโทษหนักยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้แล้ว ก็ให้มันผู้กระทำผิดนั้นรับอาญาตามลักษณะที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตรา 250, 251 และ 257 แห่งประมวลกฎหมายลักษณอาญา
มาตรา 37     ผู้ใดหมิ่นประมาท หรือขู่เข็ญว่าจะกระทำร้ายแก่ทหารยามรักษาการก็ดี ฤาแก่ทหารอยู่ยามประจำน่าที่ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมัน ไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 38     ผู้ใดเปนทหาร และมันบังอาจกระทำการประทุษร้ายด้วยกำลังกายแก่ผู้ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือมันไซ้ ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสฐาน คือ สฐานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สฐานหนึ่งให้จำคุกมันตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกมันตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลา หรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมัน ตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี
มาตรา 39     ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจใช้กำลังทำร้ายแก่ทหารผู้ใดซึ่งเปนผู้ใหญ่เหนือมันไซ้ ท่านว่ามันควรรับอาญาจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 40     ถ้าและในการกระทำผิดเช่นว่ามาในมาตรา 38 และ 39 นั้น เป็นเหตุให้ผู้ต้องประทุษร้ายถึงตาย หรือต้องบาดเจ็บถึงสาหัสด้วยไซ้ ท่านว่าถ้ามันสมควรรับโทษหนักยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้แล้ว ก็ให้ลงอาญาแก่มันผู้กระทำผิดนั้น ตามลักษณที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตรา 250, 251 และ 257 แห่งประมวลกฎหมายลักษณอาญา
มาตรา 41     ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้บังคับบัญชา หรือต่อทหารที่เป็นผู้ใหญ่เหนือมัน หรือมันหมิ่นประมาทใส่ความหรือโฆษนาความหมิ่นประมาทอย่างใด ๆ ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา 42     ถ้าทหารมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปใช้กำลังทำร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำร้ายก็ดี หรือมันกระทำการอย่างใด ๆ ขึ้นให้วุ่นวายในบ้านเมืองของท่านก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดฐานกำเริบ ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุด้วยกันทุกคนดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเปนสามสฐาน คือ สฐานหนึ่งให้ประหารชีวิตเลย สฐานหนึ่งให้จำคุกมันจนตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมัน ไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 43     ถ้าและในพวกทหารที่กระทำการกำเริบที่ว่ามาในมาตรา 42 นั้น มีสาตราวุธไปด้วยตั้งแต่คนหนึ่งขึ้นไป ท่านว่าพวกนั้นต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุด้วยกันทุกคน ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญามันเปนสามสฐาน คือ สฐานหนึ่งให้ประหารชีวิตเสีย สฐานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สฐานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            2) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงครามหรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
            3) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมัน ไม่เกินกว่าสิบปี
มาตรา 44     เมื่อเจ้าพนักงาน ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ได้บังคับทหารที่กระทำการกำเริบในที่ใด ๆ ให้เลิกไปเสีย ถ้าและพวกทหารที่กระทำการกำเริบนั้น คนใดที่ยังมิได้ใช้กำลังทำร้ายอย่างใด แล้วเลิกไปตามบังคับนั้นโดยดี ท่านว่าให้ลงโทษแก่มันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 และ 43 นั้นแต่กึ่งหนึ่ง
มาตรา 45     ผู้ใดเปนนายทหารชั้นสัญญาบัตร์ ชั้นประทวน ชั้นนายสิบ ชั้นจ่า หรือเปนพลทหารก็ดี ถ้าแลมันขาดจากหน้าที่ราชการโดยมิได้รับอนุญาต หรือมันขาดจากราชการในเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตลาแล้วก็ดี แม้เปนไปด้วยความเจตนาจะหลีกเลี่ยงจากราชการตามคำสั่งให้เดิรกองทหาร หรือเดิรเรือไปจากที่ หรือคำสั่งเรียกระดมเตรียมศึกนั้นไซ้ ท่านว่ามันมีคามผิดฐานหนีราชการ อีกนัยหนึ่งมันขาดจากราชการ
จนถึงกำหนดที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ
            1) ขาด 24 ชั่วโมง ต่อหน้าราชสัตรู
            2) ขาด 3 วัน ถ้ามิใช่ต่อหน้าราชสัตรู แต่ในเวลาสงครามหรือในเขตร์ที่ใช้กฎอัยการศึก
            3) ขาด 15 วัน ในที่และเวลาอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ดังนี้ไซ้ ท่านก็ว่ามันมีความผิด ฐานหนีราชการดุจกัน
มาตรา 46     ผู้ใดกระทำความผิดฐานหนีราชการ ท่านว่ามันต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
            1) ถ้ามันหลบหนีไปเข้าอยู่กับพวกราชสัตรู ท่านว่าโทษมันถึงตาย
            2) ถ้ามันกระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉนั้นให้จำคุกมันไว้ยี่สิบปี
            3) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตร์ซึ่งอยู่ในอำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไว้ตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี
            4) ถ้ามันกระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมัน ผู้กระทำผิดนั้นไว้ไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา 47     ผู้ใดเปนทหาร ท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อ หรือทำ หรือปกครองรักษาทรัพย์สิ่งใด ๆ ของทหาร ถ้าและมันบังอาจเอาของอื่นปลอมหรือปนกับทรัพย์สิ่งนั้นให้เสื่อมลงก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้นโดยมันรู้เห็นเปนใจด้วยก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี และปรับแตั้งแต่ร้อยบาทขึ้นไปจนถึงสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่งและทหารคนใดท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อ หรือทำ หรือปกครองรักษาสิ่งใด ๆ ของทหาร ถ้าและมันบังอาจจ่ายทรัพย์สิ่งใด ๆ ที่มันรู้อยู่ว่ามีของอื่นปลอมหรือปนเช่นว่ามาแล้วก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น แล้วมันไม่รบร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ที่เหนือมันก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวาโทษเช่นว่ามาในมาตรานี้แล้วนั้นดุจกัน
มาตรา 48     ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดกระทำการปราศจากความเมตตาแก่คนที่ถูกอาวุธบาดเจ็บ หรือแก่คนที่ป่วยเจ็บในกองทัพฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ดี หรือกระทำการปล้นทรัพย์แย่งทรัพย์อย่างใด ๆ ที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตรา 249 ถึงมาตรา 259 และมาตรา 288 ถึงมาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายลักษณอาญานั้น ท่านให้เพิ่มโทษมันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่ท่านบัญญัติไว้สำหรับความเช่นนั้นขึ้นด้วยอีกกึ่งหนึ่ง                                      
มาตรา 49     ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดใช้ธงกาชาด หรือเครื่องหมายกาชาดโดยผิดข้อบังคับ แห่งหนังสือสัญญานานาประเทศ ซึ่งทำที่เมืองเยนีวา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก 125 ท่านว่ามันมีความผิดต้องด้วยอาญาซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 128 แห่งประมวลกฎหมายลักษณอาญา
มาตรา 50     ผู้ใดเปนทหาร ถ้ามันกระทำผิดในเวลาที่ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการ หรืออยู่ยามประจำที่ หรือให้กระทำการอย่างใด ๆ ที่มีสาตราวุธของหลวงประจำตัวโดยความผิดที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตราต่าง ๆ แห่งกฎหมายลักษณะอาญาดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือมาตรา 98 ถึงมาตรา 100 ความผิดในฐานประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูลมาตรา 102 ถึงมาตรา 104 ความผิดฐานกบฏภายในพระราชอาณาจักรมาตรา 105 ถึงมาตรา 108 ความผิดฐานกบฎภายนอกพระราชอาณาจักรมาตรา 112 ถึงมาตรา 115 ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศมาตรา 116 ถึงมาตรา 128 ความผิดต่อเจ้าพนักงานมาตรา 151 ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาลมาตรา 154 ความผิดฐานช่วยผู้อื่นให้พ้นอาชญาอันควรรับโทษตามกฎหมายมาตรา 165 ถึงมาตรา 169 ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขังมาตรา 177 ถึงมาตรา 182 ความผิดฐานสมคบกันเป็นอั้งยี่ และเป็นส้องโจรผู้ร้ายมาตรา 183 และมาตรา 184 ความผิดฐานก่อการจลาจลมาตรา 185 ถึงมาตรา 201 ความผิดฐานกระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน ฐานกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และฐานกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย
มาตรา 253 ความผิดฐานเกี่ยวข้องในที่วิวาทต่อสู้กัน ซึ่งมีผู้ถึงแก่ความตายมาตรา 254 ถึงมาตรา 259 ความผิดฐานประทุษร้ายแก่ร่างกายมาตรา 268 ถึงมาตรา 277 ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ มาตรา 288 ถึงมาตรา 296 ความผิดฐานลักทรัพย์มาตรา 297 ถึงมาตรา 302 ความผิดฐานวิ่งราว ฐานชิงทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ และฐานสลัดมาตรา 303 ความผิดฐานกรรโชกมาตรา 327 ถึงมาตรา 330 ความผิดฐานบุกรุกท่านว่ามันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่ท่านบัญญัติไว้สำหรับความผิดเช่นนั้น และให้เพิ่มโทษขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง
มาตรา 51     (ยกเลิก)
มาตรา 52     เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ในมาตรา 20, 22, 27, (2 ฤา 3), 29 (2 ฤา 3),
30 (2 ฤา 3), 31 (2 ฤา 3), 32, 33, 36 (2 ฤา 3), 37, 38 (2 ฤา 3), 39, 41, 42 (2 ฤา 3), 43 (2 ฤา 3), 46 (2, 3 ฤา 4), ฤา 47 แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ได้กระทำลงด้วยความประสงค์ที่จะบ่อนให้สมรรถภาพของกรมกองทหารเสื่อมทรามลงไซร้ ท่านให้เพิ่มโทษผู้กระทำผิดดังต่อไปนี้ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุกตลอดชีวิตร์ไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้นเปนโทษอย่างสูงสุดถึงประหารชีวิตร์ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุกมีกำหนดยี่สิบปีไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้นเป็นโทษจำคุกไว้จนตลอดชีวิตร์เป็นอย่างสูงสุดถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุกมีกำหนดเวลาอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ท่านให้เพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ได้วางไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ในวรรคต้นนี้ ได้กระทำไปเปนส่วนหนึ่งของแผนการ
ที่จะล้างล้มรัฐบาลก็ดี ฤาจะให้เปลี่ยนประเพณีย์การเมือง ฤาเศรษฐกิจแห่งพระราชอาณาจักร์ด้วยใช้กำลังบังคับ ฤากระทำร้ายก็ดี ท่านว่ามันผู้กระทำมีความผิดต้องระวางโทษถึงประหารชีวิตร์ ฤาจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิตร์

-----------------------




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น