อ่านเฉพาะบทความของบล็อคในรูปแบบพิเศษ ...
sidebar / flipcard / mosaic / snapshot / timeslide

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข้อบังคับกระทรงกลาโหม
ว่าด้วยเรือนจำ
พ.ศ. ๒๕๔๕

-------------------------------
              โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเรือนจำ
              อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพขอลบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า " ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเรือนจำ พ.ศ.๒๕๔๕ "
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
          ๓.๑ ข้อบังคับทหารที่ ๑๐/๑๒๐๖๗/๒๔๘๐ ลง ๓ ธ.ค.๘๐ ว่าด้วยเรือนจำ
          ๓.๒ คำสั่งทหารที่ ๕๙/๑๘๙๔ ลง ๘ พ.ค.๘๒
          ๓.๓ คำสั่งทหารที่ ๑๕๘/๑๑๕๓๗ ลง ๑๕ ก.ย.๘๒
          ๓.๔ คำสั่งทหารที่ ๒๑๗/๒๑๙๕๐ ลง ๘ ก.ย.๘๖
          ๓.๕ คำสั่งทหารที่ ๒๗๗/๒๒๐๙๙ ลง ๓๐ พ.ย.๘๗
          ๓.๖ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเรือนจำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๐๒
          ๓.๗ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเรือนจำ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๑๐
          ๓.๘ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเรือนจำ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๑๓
          ๓.๙ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเรือนจำ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘
          ๓.๑๐ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเรือนจำ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๒๕
                     บรรดาความในช้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งและคำชี้จงอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
หมวด ๑
ประเภทของเรือนจำ
ข้อ ๔. เรือนจำทหารแบ่งออกเป็นประเภท ดังนี้
           ๔.๑ เรือนจำมณฑลทหาร
           ๔.๒เรือนจำจังหวัดทหาร
           ๔.๓เรือนจำกรมกรองทหาร หรือเรือนจำทหารชั่วคราว
ข้อ ๕. เรือนจำมณฑลทหาร จัดตั้งขึ้นตามมณฑลทหาร โดยปกติสำหรับคุมขังผู้ต้องขังซึ่งเป็น คนของมณฑลทหารนั้น ๆ แต่ผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจำคุกเกินกว่า ๕ ปีขึ้นไป หรือที่ไม่ไว้วางใจจะส่งตัวไปฝากคุมขังไว้ยัง เรือนจำฝ่ายพลเรือนที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันก็ได้
ข้อ ๖. เรือนจำจังหวัดทหาร จัดตั้งขึ้นตามจังหวัดทหาร ซึ่งกองบังคับการจังหวัดนั้นมิได้ตั้งอยู่ใน จังหวัดเดียวกันกับที่ตั้งกองบังคับการมณฑลทหาร โดยปกติสำหรับคุมขังผู้ต้องขังของจังหวัดทหารนั้น ๆ แต่ผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจำคุกเกินกว่า ๒ ปีขึ้นไป หรือที่ไม่ไว้วางใจ จะส่งตัวไปฝากคุมขังไว้ยังเรือนจำ มณฑลทหารหรือเรือนจำฝ่ายพลเรือนที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันก็ได้
ข้อ ๗. เรือนจำกรมกองทหาร หรือเรือนจำทหารชั่วคราว จัดตั้งขึ้นตามหน่วยกรมกองทหาร หรือใน สถานที่บางแห่งที่เห็นสมควรและจำเป็นสำหรับเป็นที่คุมขังผู้ต้องขังซึ่งเป็นคนของกรมกองทหารนั้น ๆ
           เรือนจำประเภทนี้ ให้มีฐานะเช่นเดียวกับเรือนจำจังหวัดทหาร จัดตั้งขึ้นได้โดยความเห็นชอบของผู้บัญชาการเหล่าทัพ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินจึงให้ผู้บังคับบัญชาทหาร สูงสุด ณ ที่นั้น มีอำนาจสั่งตั้งได้ แต่ต้องรีบรายงานให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพทราบ
ข้อ ๘. ให้เรือนจำทหารต่อไปนี้ มีฐานะเท่าเรือนจำมณฑลทหาร คือ
           ๘.๑ เรือนจำฐานทัพเรือกรุงเทพ
           ๘.๒ เรือนจำฐานทัพเรือสัตหีบ
           ๘.๓ เรือนจำทหารอากาศ สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
หมวด ๒
การบังคับบัญชา
ข้อ ๑๐ เพื่อให้กิจการเรือนจำ ดำเนินไปโดยเรียบร้อย สมความมุ่งหมายของทางราชการ ให้แบ่ง การบังคับบัญชาดังนี้
           ๑๐.๑ เรือนจำมณฑลทหาร ให้ผู้บัญชาการมณฑลทหารเป็นผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง และมีผู้บังคับเรือนจำมณฑลทหารเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
                เรือนจำฐานทัพเรือกรุงเทพ ให้ผู้บังคับการสถานีทหารเรือกรุงเทพเป็น ผู้บัญชาการ เรือนจำโดยตำแหน่งและมีผู้บังคับเรือนจำฐานทัพเรือเรือกรุงเทพเป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
                เรือนจำฐานทัพเรือสัตหีบ ให้ผู้บังคับการฐานทัพเรือสัตหีบเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ โดยตำแหน่ง และมีผู้บังคับเรือนจำฐานทัพเรือสัตหีบเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
                เรือนจำทหารอากาศ สำนักงานผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมืองเป็นผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง และมีผู้บังคับเรือนจำทหารอากาศ สำนักงานผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
           ๑๐.๒ เรือนจำจังหวัดทหาร ให้ผู้บังคับการจังหวัดทหารเป็นผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง และมีผู้บังคับเรือนจำจังหวัดทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
                    เรือนจำฐานทัพเรือสงขลา ให้ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลาเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ โดยตำแหน่ง และมีผู้บังคับเรือนจำฐานทัพเรือสงขลาเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
                    เรือนจำฐานทัพเรือพังงา ให้ผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงาเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ โดยตำแหน่ง และมีผู้บังคับเรือนจำฐานทัพเรือพังงา เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
           ๑๐.๓ เรือนจำกรมกองทหาร หรือเรือนจำทหารชั่วคราว ให้ผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุด
ณ ที่นั้นเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ และให้มีผู้บังคับเรือนจำเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ข้อ ๑๑. ผู้บัญชาการเรือนจำ มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชากิจการเรือนจำโดยทั่วไป และ เป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าพนักงานเรือนจำตลอดจนผู้ต้องขังทั้งปวงที่อยู่ในเรือนจำนั้น
           นอกจากอำนาาจและหน้าที่ดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ผู้บัญชาการเรือนจำต้อง
           ๑๑.๑ ตรวจการเรือนจำด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อหาโอกาสสอบถามความทุกข์สุข ของผู้ต้องขัง ถ้าไม่สามารถไปตรวจด้วยตนเองได้ ต้องจัดนายทหารสัญญาบัตรไปตรวจแทน
           ๑๑.๒ วางระเบียบการเลี้ยงอาหาร และการจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้ต้องขัง
           ๑๑.๓ เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของผู้ต้องขัง เปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังร้องทุกข์ได้โดยสะดวก และเต็มที่

ข้อ ๑๒. ผู้บังคับเรือนจำ เป็นเจ้าพนักงานเรือนจำ มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
           ๑๒.๑ รับผิดชอบบังคับบัญชากิจการของเรือนจำให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย
           ๑๒.๒ รักษาและดูแลบูรณะสถานที่และทรัพย์สินของเรือนจำ
           ๑๒.๓ ปกครองและควบคุมระเบียบ วินัยของข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการและผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำของตน
           ๑๒.๔ ตรวจตราป้องกันการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง ตลอดจนการหลบหนีและจับกุม เมื่อมี การกระทำผิดทางอาญา
           ๑๒.๕ แบ่งการงานของเรือนจำออกเป็นส่วน ๆ มอบหมายให้เจ้าพนักงานในสังกัดไปดำเนินการ ควบคุมหรือจัดทำ
           ๑๒.๖ จัดการและควบคุมการทำงานของผู้ต้องขัง
           ๑๒.๗ ให้การศึกษาตลอดจนการอบรมผู้ต้องขัง
          ๑๒.๘ ดูแลการอนามัยของผู้ต้องขัง การสุขาภิบาลเรือนจำ และจัดให้เป็นไปตามคำแนะนำ ของแพทย์
          ๑๒.๙ รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและของอันเกี่ยวแก่กิจการของเรือนจำ
          ๑๒.๑๐ ดูแลอาหารของผู้ต้องขังให้มีคุณภาพดีพอที่จะรับประทานได้และต้องให้ผู้ต้องขัง รับประทานอาหารโดยสุภาพเรียบร้อยตามระเบียบของทหาร
          ๑๒.๑๑ เมื่อพบว่าผู้ต้องขังคนใด มีอาการป่วยต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
          ๑๒.๑๒ ถ้าผู้ต้องขังตายในเรือนจำ ให้รีบรายงานด่วนต่อผู้บัญชาการเรือนจำ แล้วจัดให้มีการชันสูตรพลิกศพศพตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
          ๑๒.๑๓ ควบคุมดูแลการทะเบียบบัญชีของเรือนจำ
          ๑๒.๑๔ เปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังร้องทุกข์ได้โดยสะดวก

ข้อ ๑๓. รองผู้บังคับเรือนจำ และผู้ช่วยผู้บังคับเรือนจำ เป็นเจ้าพนักงานเรือนจำ รองจาก ผู้บังคับเรือนจำ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
          ๑๓.๑ ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้บังคับเรือนจำ เมื่อ ผู้บังคับเรือนจำ ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
          ๑๓.๒ ปกครองบังคับบัญชาและควบคุมระเบียบวินัยของข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการและผู้ต้องขังตามที่ผู้บังคับเรือนจำมอบหมาย
          ๑๓.๓ ช่วยเหลือ ผู้บังคับเรือนจำในด้านงานธุรการของกองบังคับการเรือนจำ
          ๑๓.๔ ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับเรือนจำมอบหมาย
          เมื่อผู้บังคับเรือนจำ รองผู้บังคับเรือนจำ และผู้ช่วยผู้บังคับเรือนจำไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ ผู้บัญชาการเรือนจำแต่งตั้งข้าราชการทหารที่เห็นสมควรเป็นผู้รักษาราชการแทน
          ข้าราชการทหารเหล่าทหารสารวัตร ที่มีตำแหน่งละหน้าที่ราชการในเรือนจำ จะเป็นเจ้าพนักงานเรือนจำ เฉพาะเมื่อผู้บังคับบัญชามอบหมายให้มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง เท่านั้น

ข้อ ๑๔. ทุกเรือนจำ ให้มีผู้คุมประจำตามอัตราตามสมควร
ข้อ ๑๕. ผู้คุมเป็นเจ้าพนักงานเรือนจำ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
             ๑๕.๑ กระทำตามคำสั่งของผู้บังคับเรือนจำโดยเคร่งครัดและด้วยความสุจริตใจ ไม่ประมาท เลินเล่อหรือละเลย
             ๑๕.๒ ปกครองและควบคุมระเบียบวินัยของผู้ต้องขัง
             ๑๕.๓ ตรวจตราป้องกันการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง ตลอดจนการหลบหนีและจับกุม เมื่อมีการกระทำผิดอาญา
             ๑๕.๔ จัดการและควบคุมการทำงานของผู้ต้องขังตามที่ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้
             ๑๕.๕ ตรวจตราเครื่องพันธนาการของผู้ต้องขังในเวลาที่จะนำผู้ต้องขังเข้าออกจากที่คุมขังทุกครั้ง เมื่อเห็นสิ่งใดชำรุดบกพร่อง ต้องรีบจัดการแก้ไขให้เป็นที่มั่นคงแข็งแรงโดยไม่นิ่งนอนใจ
             ๑๕.๖ อบรมผู้ต้องขังในเรือนจำ ให้มีวินัยและศิลธรรมอันดี
             ๑๕.๗ ดูแลตรวจตราการอนามัยของผู้ต้องขังตลอดจนการสุขาภิบาลของเรือนจำให้เป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์
             ๑๕.๘ เมื่อผู้ต้องขังร้องทุกข์โดยชอบต้องเอาใจใส่ช่วยเหลือเต็มความสามารถเท่าที่จะทำได้
             ๑๕.๙ เมื่อขณะกระทำการตามหน้าที่ จะละทิ้งหน้าที่ไปไม่ได้เป็นอันขาด
             ๑๕.๑๐ ห้ามนำญาติมิตรหรือบุคคลอื่นใดเข้าไปในเรือนจำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากผู้บังคับเรือนจำ

ข้อ ๑๖. บุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้คุม เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นกระทำหน้าที่ผู้คุม ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้คุมพิเศษ
             ผู้คุมพิเศษมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้คุมประจำทุกประการ

ข้อ ๑๗. ห้ามมิให้ผู้บังคับบัญชาเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานเรือนจำผู้ใดแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว หรือผู้อื่น อันเนื่องแต่ผลแห่งแรงงานของผู้ต้องขัง และห้ามรับจำนำ จำนอง แลกเปลี่ยน ซื้อขาย หรือยืม ทรัพย์สินของผู้ต้องขัง
ข้อ ๑๘. เจ้าพนักงานเรือนจำ จะต้องประพฤติตนให้เป็นที่เคารพนับถือของผู้ต้องขังจะใช้กิริยาวาจา หยาบคายแก่ผู้ต้องขังไม่ได้เป็นอันขาด
ข้อ ๑๙. ผู้บัญชาการเรือนจำ จะต้องให้มีแพทย์ตรวจการสุขาภิบบาล และการอนามัยภายในเรือนจำทุกแห่ง
             แพทย์ตามวรรคหนึ่ง มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเรือนจำในส่วนที่ได้กำหนดไว้ให้เป็น หน้าที่ของแพทย์

ข้อ ๒๐. ผู้ทำการในหน้าที่หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งใด ให้มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนั้น
มาตรา ๓
การรับตัวผู้ต้องขัง
ข้อ ๒๑. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำได้รับตัวผู้ต้องขังไว้แล้ว ให้จัดการดังต่อไปนี้
             ๒๑.๑ ตรวจสิ่งของที่ตัวผู้ต้องขัง
             ๒๑.๒ ให้แพทย์ตรวจอนามัยผู้ต้องขัง
             ๒๑.๓ จัดการบันทึกเรื่องเกี่ยวแก่ผู้ตัองขัง

ข้อ ๒๒. การตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ต้องขังนั้น ถ้าผู้ต้องขังเป็นหญิงก็ให้ผู้ต้องขังนั้นเองแสดง สิ่งของที่ตนมีติดตัวมาต่อเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ตรวจ หากยังเป็นที่สงสัยว่าผู้ต้องขังยังไม่แสดงสิ่งของที่มีอยู่ ทั้งหมดก็ให้เชิญหญิงอื่นที่เชื่อถือมาช่วยทำการตรวจให้
ข้อ ๒๓. เจ้าพนักงานเรือนจำ จะต้องให้ผู้ต้องขังที่รับตัวไว้ใหม่ แยกต่างหากจากผู้ต้องขังอื่น เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจอนามัยก่อน หากโดยสภาพการณ์ไม่อาจจะจัดการอย่างนั้นได้ ก็ให้พยายามปฏิบัติให้ใกล้ เคียงกับที่กำหนดไว้
ข้อ ๒๔. ให้แพทย์ตรวจอนามัยผู้ต้องขังที่ได้รับตัวไว้ใหม่ในวันที่รับตัวนั้น ถ้าไม่อาจจะมาตรวจใน วันนั้นได้ ให้มาตรวจในวันที่ถัดไปโดยเร็ว
              เมื่อแพทย์ตรวจพบว่า ผู้ต้องขังคนใดป่วย จะต้องมีการรักษาพยาบาลหรือมีโรคติดต่อซึ่งจะลุกลาม เป็นภัยร้ายแรงต่อผู้อื่น ให้แพทย์ชี้แจงแนะนำการปฏิบัติต่อผู้บังคับเรือนจำ
             เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำ จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวกับ การรักษาพยายาลผู้ต้องขังนั้น
             หากแพทย์ตรวจพบว่าผู้ต้องขังคนใดป่วย ซึ่งจำเป็นต้องส่งออกไปรักษาตัวนอกเรือนจำให้แพทย์ แจ้งต่อผู้บังคับเรือนจำ พร้อมทั้งทำรายงานยื่นต่อผู้บัญชาการเรือนจำโดยตรง ในรายงานนั้นให้ชี้แจงอาการป่วยที่ตรวจพบ ความเห็นในเรื่องโรคหรือชนิดของการป่วยและสถานรักษาพยาบาลนอกเรือนจำที่เห็นสมควรจะให้จัดส่งตัว ไปรักษาพยาบาลนั้นด้วย

ข้อ ๒๕. ในกรณีที่แพทย์ไม่สามารถจะมาตรวจในวันที่รับตัวผู้ต้องขังไว้ได้ และเจ้าพนักงานเรือนจำ สังเกตเห็นว่า ผู้ต้องขังมีอาการป่วยจะต้องรักษาพยาบาล หรือมีโรคติดต่อจะลุกลามเป็นภัยร้ายแรงต่อผู้อื่น ให้ผู้บังคับเรือนจำรีบจัดการส่งตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดแล้วรีบรายงานด่วนให้ผู้บัญชาการเรือนจำทราบ
             ในกรณีที่ได้ส่งตัวผู้ต้องขัง ที่มีอาการป่วยไปรักษาตัว ในสถานพยาบาลนอกเรือนจำ ให้ ผู้บังคับเรือนจำจัดผู้คุมไปควบคุมตามความเหมาะสมและจำเป็น

ข้อ ๒๖. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำรับตัวผู้ต้องขังไว้ ต้องสอบสวนผู้นั้นให้ตรงกับรายการในหมายหรือ
เอกสารการสั่งขังก่อน แล้วจึงให้จัดการจดบันทึกข้อความที่เกี่ยวกับ่ผู้ต้องขัง และลงทะเบียนต่อไป


หมวด ๔
การแยกผู้ต้องขัง

ข้อ ๒๗. ผู้ต้องขังให้แบ่งออกเป็นประเภท ดังนี้
             ๒๗.๑ คนต้องขังระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาของศาลและคนฝาก
             ๒๗.๒ คนต้องจำขังตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
             ๒๗.๓ นักโทษ
             คนต้องขัง คนฝากและคนต้องจำขังตามข้อ ๒๗.๑ และข้อ ๒๗.๒ นั้น จะต้องแบ่งออกเป็นพวกย่อยอีก ๒ จำพวก คือ ข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตรจำพวกหนึ่ง กับ ข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ทหารกองประจำการและบุคคลอื่นจำพวกหนึ่ง
ข้อ ๒๘. ให้จัดแบ่งสถานที่ของเรือนจำออกเป็นส่วน ๆ โดยให้มีสิ่งกีดกั้นหรือขอบเขตที่แน่นอน แสดงแบ่งส่วนนั้น ๆ และจัดแยกผู้ต้องขังแต่ละประเภทหรือจำพวกไว้ในส่วนต่าง ๆ ที่จัดแบ่งขึ้นนั้น หากเรือนจำใด โดยสภาพการณ์ไม่อาจทำได้ดังกล่าว ให้พยายามจัดการคุมขังผู้ต้องขังให้ใกล้เคียงกับที่ ได้กล่าวมาแล้ว
ข้อ ๒๙. ผู้ต้องขังซึ่งไม่ควรจะรวมอยู่กับผู้ต้องขังอื่นในประเภทเดียว หรือสถานที่เดียวกันได้โดยจะก่อ เหตุร้ายหรือมีเหตุพิเศษอย่างอื่นที่ควรจะแยกการคุมขังแล้ว ก็ให้แยกผู้นั้นไปได้
ข้อ ๓๐. คนต้างขังในระหว่างสอบสวนหลายคนในคดีเดียวกัน โดยปกติให้แยกไว้อย่าให้ปะปนกัน
ข้อ ๓๑. คนต้องขังหญิง ให้แยกคุมขังไว้ต่างหากจากผู้ต้องขังชาย และเมื่อมีสภาพเป็นนักโทษแล้ว เมื่อใด ให้ส่งตัวไปคุมขังไว้ยังเรือนจำฝ่ายพลเรือน
หมวด ๕
นักโทษ

ข้อ ๓๒. นักโทษ แบ่งออกเป็นชั้น ๆ ดังต่อไปนี้
             ๓๒.๑ ชั้นเยี่ยม
             ๓๒.๒ ชั้นดีมาก
             ๓๒.๓ ชั้นดี
             ๓๒.๔ ชั้นกลาง
             ๓๒.๕ ชั้นเลว
             ๓๒.๖ ชั้นเลวมาก
ข้อ ๓๓. นักโทษที่เข้าใหม่ให้อยู่ในชั้นกลางจนกว่าจะมีการเลื่อนหรือลดชั้น เว้นแต่ได้เคยต้องโทษ มาแล้วและมาต้องโทษในคราวนี้อีกภายในห้าปี นับแต่วันพ้นโทษคราวก่อนกับความผิดทั้งสองคราวนั้น ไม่ใช่ความผิดฐานลหุโทษหรือประมาท ให้อยู่ในชั้นเลว
ข้อ ๓๔. นักโทษย่อมได้รับสิทธิ ความสะดวกและประโยชน์ต่างกันตามชั้นในข้อสำคัญดังต่อไปนี้
             ๓๔.๑ นักโทษ
                     ๓๔.๑.๑ นักโทษชั้นเยี่ยม
                                 ๓๔.๑.๑.๑ จะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ความสะดวกในอันดับสูงสุด
                                 ๓๔.๑.๑.๒ จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
                                 ๓๔.๑.๑.๓ จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งเป็นยามในตรวจ
                                 ๓๔.๑.๑.๔ จะได้รับการพิจารณาเมื่อขอลาไปกิจธุระสำคัญหรือกิจการในครอบครัวตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ปีละไม่เกิน ๒ ครั้ง
                                 ๓๔.๑.๑.๕ จะได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ ไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของกำหนดโทษที่ระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเด็ดขาด ในกรณีที่มีการพระราชทานอภัยโทษ ให้ถือกำหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด
                                 ๓๔.๑.๑.๖ จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้
                                 ๓๔.๑.๑.๗ จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้
                                 ๓๔.๑.๑.๘ จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องนุ่งห่มของตนเอง ซึ่งไม่ขัดกับข้อบังคับนี้ได้
                                 ๓๔.๑.๑.๙ มีโอกาสไดรับการเยี่ยมจากญาติมิตร สัปดาห์ละสองครั้ง
                                 ๓๔.๑.๑.๑๐ ไม่ต้องทำงานหนัก เว้นแต่เกี่ยวแก่อนามัยของผู้ต้องขังและการสุขาภิบาล ของเรือนจำ
                     ๓๔.๑.๒ นักโทษชั้นดีมาก
                                 ๓๔.๑.๒.๑. จะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ความสะดวกในอันดับรองลงไป จากชั้นเยี่ยม
                                 ๓๔.๑.๒.๒. จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
                                 ๓๔.๑.๒.๓ จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งเป็นยามในสามัญ
                                 ๓๔.๑.๒.๔. จะไดัรับการพิจารณาเมื่อขอลาไปกิจธุระสำคัญ หรือกิจการครอบครัวตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ปีละไม่เกินหนึ่งครั้ง
                                 ๓๔.๑.๒.๕ จะได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ ไม่น้อยกว่า หนึ่งในสี่ของกำหนดโทษที่ระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเด็ดขาด ในกรณีที่มีการพระราชทานอภัยโทษ ให้ถือกำหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด
                                 ๓๔.๑.๒.๖. จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้
                                 ๓๔.๑.๒.๗ จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้
                                 ๓๔.๑.๒.๘. จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องนุ่งห่มของตนเองซึ่งไม่ขัดกับข้อบังคับนี้ได้
                                 ๓๔.๑.๒.๙ มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาตมิตรสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
                                 ๓๔.๑.๒.๑๐ ไม่ต้องทำงานหนัก เว้นแต่เกี่ยวแก่อนามัยของผู้ต้องขังและการสุขาภิบาล ของเรือนจำ
                     ๓๔.๑.๓ นักโทษชั้นดี
                                 ๓๔.๑.๓.๑ จะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ได้รับความสะดวกรองลงไปจาก ชั้นดีมาก
                                 ๓๔.๑.๓.๒. จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
                                 ๓๔.๑.๓.๓ จะได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ ไม่น้อยกว่า หนึ่งในห้าของกำหนดโทษที่ระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเด็ดขาด ในกรณีที่มีการพระราชทานอภัยโทษ ให้ถือกำหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด
                                 ๓๔.๑.๓.๔ จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
                                 ๓๔.๑.๓.๕ จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้สัปดาห์ละสองมื้อ
                                 ๓๔.๑.๓.๖ มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาตมิตรสองสัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง
                     ๓๔.๑.๔ นักโทษชั้นกลาง
                                 ๓๔.๑.๔.๑ จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้สองสัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง
                                 ๓๔.๑.๔.๒ จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้สัปดาห์ละหนึ่งมื้อ
                                 ๓๔.๑.๔.๓ มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาตมิตรสามสัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง
                     ๓๔.๑.๕ นักโทษชั้นเลว
                                 ๓๔.๑.๕.๑ จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้สามสัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง
                                 ๓๔.๑.๕.๒ จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้สองสัปดาห์ต่อหนึ่งมื้อ
                                 ๓๔.๑.๕.๓ มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาตมิตรสี่สัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง
                     ๓๔.๑.๖ นักโทษชั้นเลวมาก
                                 ๓๔.๑.๖.๑ จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้สี่สัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง
                                 ๓๔.๑.๖.๒ มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาตมิตรห้าสัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง
                                 ๓๔.๑.๖.๓. ห้ามสูบบุหรี่
             ๓๔.๒ คนต้องขังและคนฝาก ย่อมได้รับสิทธิโดยอนุโลมตามนักโทษชั้นเยี่ยมในเรื่อง
                      ๓๔.๑ การส่งจดหมายถึงญาติมิตร
                      ๓๔.๒ การรับประทานอาหารส่วนตัว
                      ๓๔.๓ การเยี่ยมจากญาติมิตร
ข้อ ๓๕. นักโทษที่อยู่ในชั้นต่ำ เมื่อเลื่อนชั้นไปอยู่ในชั้นสูงย่อมได้รับประโยชน์ในชั้นที่ได้เลื่อนขึ้น ไปอยู่และในทางตรงกันข้าม นักโทษชั้นสูงที่ถูกลดลงมาอยู่ในชั้นต่ำ ย่อมจะต้องเสียประโยชน์ ในชั้นสูงที่ตนได้รับอยู่ก่อน และจะต้องมารับการปฏิบัติ ตลอดจนความสะดวกในชั้นต่ำที่ตนต้องเข้าอยู่ใหม่
ข้อ ๓๖. นักโทษที่มีความชอบในราชการเป็นพิเศษจะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ความสะดวก หรืออาจได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นให้ แล้วแต่ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาเห็นสมควรตามความชอบ และ คุณประโยชน์อันเกิดแก่ราชการ
ข้อ ๓๗. โดยปกติให้ตั้งนักโทษชั้นดีมากขึ้นเป็นยามในสามัญได้ร้อยละยี่สิบ และตั้งนักโทษชั้นเยี่ยม ขึ้นเป็นยามในตรวจได้ร้อยละสิบ ของจำนวนผู้ต้องขังที่มีอยู่ในเรือนจำนั้น เว้นแต่ในกรณีพิเศษ ผู้บัญชาการเรือนจำอาจสั่งได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๓๘. ยามในสามัญมีหน้าที่ดังนี้
             ๓๘.๑ ในเวลากลางคืน มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันอยู่ยามดูแลผู้ต้องขังภายในที่คุมขัง
             ๓๘.๒ ในเวลาที่ต้องขังออกทำงานนอกเรือนจำ ให้มีหน้าที่ตามแต่ผู้บัญชาจะมอบหมายให้
ข้อ ๓๙. ยามในตรวจ มีหน้าที่ดังนี้
             ๓๙.๑ เป็นผู้ช่วยผู้คุม ควบคุมผู้ต้องขังเวลาทำงานซึ่งอยู่ภายในบริเวณเรือนจำ
             ๓๙.๒ ดูแลตรวจตรายามในสามัญที่เป็นยามให้ปฏิบัติหน้าที่โดยกวดขัน
ข้อ ๔๐. การเลื่อนหรือลดชั้นก็ดี การตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่เป็นยามในสามัญหรือยามในตรวจก็ดี อยู่ในอำนาจของผู้บัญชาการเรือนจำที่จะพิจารณาและสั่งอนุมัติ
ข้อ ๔๑. การเลื่อนชั้นให้กระทำเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนครั้งหนึ่ง และเมื่อสิ้นเดือนธันวาคมอีกครั้งหนึ่ง แต่นักโทษที่จะได้รับการพิจารณานี้ต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือน นับตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด
             ในกรณีมีเหตุพิเศษ จะเลื่อนชั้นก่อนเวลาตามวรรคหนึ่งก็ได้
             การลดชั้นจะกระทำได้เมื่อเกิดการฝ่าฝืนข้อห้ามและข้อปฏิบัติของผู้ต้องขัง
ข้อ ๔๒. การเลื่อนหรือลดชั้น ตามปกติให้กระทำได้ตามลำดับ คราวละชั้น เว้นแต่ในกรณที่มีเหตุพิเศษ จะเลื่อนหรือลดข้ามชั้นก็ได้
             ให้ผู้บัญชาการเรือนจำตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเลื่อนหรือลดชั้นตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
              ๔๒.๑ การเลื่อนชั้นตามปกติ พิจารณาดังนี้
                        ๔๒.๑.๑ ต้อง มีความประพฤติเรียบร้อย ขยันหมั่นเพียร
                        ๔๒.๑.๒. ต้องตั้งใจรับการอบรมเกี่ยวกับวิชาสามัญ วิชาชีพ ศืลธรรม วัฒนธรรมอันดี ไม่มีการฝ่าฝืนข้อห้ามข้อปฏิบัติของผู้ต้องขังแต่อย่างใด
              ๔๒.๒ การเลื่อนชั้นกรณีมีเหตุพิเศษ ต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี มีความอุตสาหะความก้าวหน้าในการศึกษาอบรมและทำงาน บังเกิดผลดี และทำความชอบแก่ราชการดีเด่นเป็นพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                        ๔๒.๒.๑. ต่อสู้ขัดขวางป้องกันการหักแหกเรือนจำ
                        ๔๒.๒.๒. ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในภาวะอันตราย
                        ๔๒.๒.๓ เสี่ยงอันตรายเข้าป้องกันและจับกุมผู้ต้องขังอื่นที่ก่อการจลาจลหรือก่อเหตุร้ายแรง
                        ๔๒.๒.๔ ทำการดับเพลิงในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้อาคารสถานที่ของเรือนจำจนได้ผลดี หรือจนตนเองได้รับ อันตราย
                        ๔๒.๒.๕ ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดนอกจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามปกติธรรมดา จนบังเกิดผลดีแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
              ๔๒.๓ การลดชั้น เมื่อมีการฝ่าฝืนข้อห้ามและข้อปฏิบัติของผู้ต้องขัง
หมวด ๖
เครื่องพันธนาการ

ข้อ ๔๓. เครื่องพันธนาการอันพึงใช้แก่ผู้ต้องขังนั้น กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
              ๔๓.๑ ตรวน
              ๔๓.๒ กุญแจมือ
              ๔๓.๓ โซ่ล่าม
ข้อ ๔๔. ตรวนมี ๒ ขนาด คือ
              ๔๔.๑ ขนาดที่ ๑ วัดผ่าศูนย์กลาง ๑๐ มิลลิเมตร
              ๔๔.๒ ขนาดที่ ๒ วัดผ่าศูนย์กลาง ๑๗ มิลลิเมตร
              ลูกโซ่ระหว่างวงแหวนนั้น มิให้ใช้สั้นกว่า ๕๐ เซนติเมตร และมิให้ยาวกว่า ๗๕ เซนติเมตร กับต้องมิให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า ๑๗ มิลลิเมตร
              การใช้ตรวนนั้น โดยปกติให้ใช้ขนาดที่ ๑ จะพึงใช้ขนาดที่ ๒ ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
ข้อ ๔๕. กุญแจมือ ให้ใช้ตามแบบขนาดซึ่งทางราชการจะกำหนดตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๔๖. โซ่ล่ามนั้น ให้ใช้ล่ามระหว่างตรวนหรือระหว่างกุญแจมือกับสิ่งยึดเหนี่ยวประจำที่ อย่างอื่น โซ่นี้ ีขนาดยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร กับต้องมิให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า ๑๐ มิลลิเมตร
ข้อ ๔๗. ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ เป็นเจ้าหน้าที่ มีอำนาจที่จะสั่งให้ใช้และเพิกถอนการใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง อันเนื่องมาจากสภาพของเรือนจำ สภาพของเหตุการณ์ หรือสภาพของท้องถิ่น
ข้อ ๔๘. ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังไปนอกเรือนจำ ถ้าจะใช้เครื่อง พันธนาการให้ใช้กุญแจมือ เว้นแต่นักโทษหรือคนต้องขังในคดีอุกฉกรรจ์จะใช้ตรวนก็ได้
ข้อ ๔๙. เครื่องพันธนาการซึ่งกำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ มิให้ใช้แก่ผู้ต้องขังอายุเกินหกสิบปี หรือผู้ต้องขังหญิง เว้นแต่เป็นบุคคลดุร้ายหรือวิกลจริต ซึ่งจำต้องป้องกันมิให้ก่อภยันตราย หรือเป็นผู้ต้องขังชายซึ่งดำเนินตามความในข้อ ๔๘
ข้อ ๕๐. ห้ามมิให้เจ้าพนักงานใช้เครื่องพันธนาการอย่างอื่น นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ เว้นแต่ ในกรณีฉุูกเฉินจำเป็น ผู้บัญชาการเรือนจำจะอนุญาตให้ใช้เครื่องพันธนาการอย่างอื่น ซึ่งเห็นว่า เบากว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ก็ได้
หมวด ๗
การควบคุมผู้ต้องขัง

ข้อ ๕๑. ให้นำผู้ต้องขังเข้าห้องขังเวลา ๑๘๐๐ และนำออกจากห้องขังเวลา ๐๖๐๐ หากกำหนดเวลานี้ไม่เหมาะแก่กิจการหรือสภาพการณ์แห่งเรือนจำ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำกำหนด เวลาใหม่ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๕๒. ก่อนที่จะนำผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำหรือกลับเข้าเรือนจำ เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมต้อง ตรวจสิ่งของต้องห้ามที่ตัวผู้ต้องขังก่อนเสมอทุกครั้ง
ข้อ ๕๓. เมื่อจ่ายผู้ต้องขังออกนอกบริเวณเรือนจำ หากการควบคุมตกเป็นหน้าที่ของทางเรือนจำ แล้ว ต้องจัดให้มีผู้คุมหนึ่งคน ต่อผู้ต้องขังไม่เกินห้าคน จะเปลี่ยนแปลงจำนวนนี้ได้ต่อเมื่อ ผู้บัญชาการเรือนจำได้อนุมัติ
ข้อ ๕๔. เมื่อจะนำผู้ต้องขังเดินทางไกลไปต่างท้องถิ่นจะต้องจัดให้ผู้ควบคุมไม่น้อยกว่าสองคน
ข้อ ๕๕. การรักษาการณ์นอกกำแพงหรือขอบเขตเรือนจำเพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องขังหลบหนีนั้น ให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาและสั่งการป้องกันหรือขอกำลังจากหน่วยทหารที่ใกล้เคียงได้ ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๕๖. เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในเรือนจำ เจ้าพนักงานเรือนจำต้องรีบแจ้งเหตุต่อผู้บังคับเรือนจำทันที และเป็นหน้าที่ผู้บังคับเรือนจำจะต้อง
              ๕๖.๑ รวบรวมเจ้าพนักงานเรือนจำทำการป้องกันโดยกวดขัน
              ๕๖.๒ ให้แจ้งเหตุต่อนายทหารเวรรักษาการณ์หรือกองรักษาการณ์ที่ใกล้เคียงให้ทราบโดยด่วน
              ๕๖.๓ ให้รีบรายงานผู้บัญชาการเรือนจำ
              เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำทราบเหตุ จะต้องมายังเรือนจำและจัดการระงับเหตุโดยทันที
ข้อ ๕๗. ผู้ต้องขังทั้งปวง เมื่อทราบว่าได้มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นดังกล่าว ในข้อ ๕๖ ต้องสงบนิ่งอยู่ตามหน้าที่ที่กำลังกระทำอยู่ และต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานเรือนจำ โดยเคร่งครัด
หมวด ๘
การทำงาน

ข้อ ๕๘. นักโทษและผู้ต้องขังในความผิดฐานละเมิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักรช ๒๔๗๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ไม่ พิการทุพพลภาพหรือป่วยนั้น เจ้าพนักงานเรือนจำจะจัดให้ทำงานได้ทุกอย่างตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๕๙. งานที่จัดให้ทำนั้น จักต้องพิจารณาถึงเหตุผลต่อไปนี้ เช่น
              ๕๙.๑ กำหนดโทษ
              ๕๙.๒ ความแข็งแรงแห่งร่างกาย
              ๕๙.๓ สติ ปัญญา และอุปนิสัย
              ๕๙.๔ ฝีมือหรือความรู้ความชำนาญ
              ๕๙.๕ ผลของการงาน
              ๕๙.๖ ผลในทางอบรม
              ๕๙.๗ สภาพการณ์แห่งเรือนจำ
              นอกจากนี้ แล้วแต่ผู้บังคับเรือนจำจะพิจารณาาตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๖๐. ห้ามมิให้จ่ายผู้ต้องขังออกทำงานนอกเรือนจำ เว้นแต่นักโทษชาย และคนต้องจำขัง ในความผิดฐานละเมิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักรช ๒๔๗๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตได้
ข้อ ๖๑. การจ่ายผู้ต้องขังไปทำงานนอกเรือนจำ เจ้าหน้าที่ผู้มารับกับเจ้าหน้าที่ทาง เรือนจำต้องลงนามรับส่งผู้ต้องขังกันไว้ในสมุดบัญชีให้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๖๒. เวลาทำงาน ห้ามมิให้ผู้ควบคุมอนุญาตให้บุคคลใด นอกจากผู้บังคับบัญชาหรือ เจ้าหน้าที่ของเรือนจำเข้าใกล้หรือพูดจา หรือให้สิ่งของไม่ว่าอย่างใดแก่ผู้ต้องขัง
ข้อ ๖๓. โดยปกติให้กำหนดเวลาทำงาน ดังนี้
             ๖๓.๑ เวลา ๐๖๐๐ ทำงานที่เกี่ยวแก่การอนามัยของผู้ต้องขัง การสุขาภิบาลของ เรือนจำหรือสถานที่ราชการบางแห่งที่เห็นสมควร
             ๖๓.๒ เวลา ๐๘๐๐ ถึง ๐๙๐๐ รับประทานอาหารเช้า
             ๖๓.๓ เวลา ๐๙๐๐ จ่ายไปทำงานตามหน้าที่
             ๖๓.๔ เวลา ๑๒๐๐ พักงาน
             ๖๓.๕ เวลา ๑๓๐๐ เริ่มทำงานต่อไป
             ๖๓.๖ เวลา ๑๖๐๐ เลิกงาน อาบน้ำ รับประทานอาหารเย็นและพักผ่อนต่อไปจนถึงเวลาเข้าห้องขัง
             ๖๓.๗ ก่อนถึงเวลานอน ให้ผู้ต้องขังได้มีการไหว้พระสวดมนต์ตามระเบียบของทหาร
ข้อ ๖๔. ในวันหยุดราชการต่าง ๆ โดยปกติ ให้ผู้ต้องขังทำการที่เกี่ยวแก่การอนามัยของผู้ต้องขัง การสุขาภิบาลของเรือนจำ และรับการอบรมในตอนเช้า (ระหว่างเวลา ๐๖๐๐ - ๑๒๐๐) ตอนบ่ายให้พักงาน
หมวด ๙
การอนามัยและการสุขาภิบาล

ข้อ ๖๕. ให้แพทย์เข้าตรวจเรือนจำ ในส่วนที่เกี่ยวแก่การอนามัยของผู้ตรวจขังและการสุขาภิบาลของเรือนจำโดยทั่ว ๆ ไป ไม่น้อยกว่าเดือนละสองครั้ง
             ในการตรวจนั้น เมื่อเห็นสมควรจะจัดการอย่างใดให้ชี้แจงแนะนำแก่ผู้บังคับเรือนจำและ จดหมายเหตุบันทึกไว้ในสมุดตรวจของเรือนจำ
ข้อ ๖๖. ให้ผู้ต้องขังทุกคน มีหน้าที่ต้องรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม หลับนอนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตน ห้องขัง และส่วนใดส่วนหนึ่งของเรือนจำ
ข้อ ๖๗. โดบปกติให้จ่ายเครื่องนุ่งห่มหลับนอนแก่ผู้ต้องขัง ดังนี้
             ๖๗.๑ เสื้อกางเกงสองชุด
             ๖๗.๒ ผ้าอาบน้ำหนึ่งผืน
             ๖๗.๓ ผ้าห่มนอนหนึ่งผืน
             ๖๗.๔ หมอนหนึ่งใบ
             ๖๗.๕ เสื่อหรือผ้าปูนอนหนึ่งผืน
             ๖๗.๖ มุ้งหนึ่งหลัง
ข้อ ๖๘. เสื้อ ใช้คอพวงมาลัยแบบเดียวกันกับเสื้อชั้นในของทหาร กางเกงเป็นชนิดกางเกงขาสั้นอย่าง กางเกงกีฬา
 ข้อ ๖๙ เสื้อและกางเกงให้ใช้สี ดังนี้
             ๖๙.๑ เรือนจำทหารบก ใช้สีกากีแกมเขียว
             ๖๙.๒. เรือนจำทหารเรือ ใช้สีกากี
             ๖๙.๓ เรือนจำทหารอากาศ ใช้สีเทา
             ส่วนผ้าอาบน้ำ ผ้าห่มนอน หมอน เสื่อ หรือผ้าขาวปูนอนนั้น ให้อนุโลมจ่ายให้ เช่นเดียวกับทหารในกรมกอง เฉพาะมุ้งนั้น ให้พิจารณาจ่ายให้ในโอกาสอันควร
ข้อ ๗๐. โดยปกติ ให้ผู้บังคับบัญชาอนุญาตให้นักโทษแต่ชั้นดีขึ้นไป กับคนต้องขังและ คนฝากขังออกเดินนอกห้องขัง หรือออกกำลังกายตามเวลาในเขตซึ่งกำหนดไว้ได้
ข้อ ๗๑. เรือนจำทุกแห่ง ต้องจัดให้มีสถานพยาบาลเพื่อเป็นที่ทำการรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง เว้นแต่สภาพการณ์ไม่เหมาะที่จะจัดดังกล่าวแล้วได้ จะจัดขึ้นในสถานพยาบาลของทหารที่ใกล้เคียงที่สุดก็ได้
ข้อ ๗๒. เมื่อแพทย์หรือเจ้าพนักงานเรือนจำพบผู้ต้องขังป่วย ให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๔. และข้อ ๒๕. โดยอนุโลม
ข้อ ๗๓. ผู้ต้องขังที่เป็น ผู้ติดยาเสพติดอย่างร้ายแรง ให้จัดเข้าเป็นผู้ป่วยโดยอนุโลม
หมวด ๑๐
การเลี้ยงอาหาร
ข้อ ๗๔. ห้ามมิให้ผู้ต้องขังหุงหาประกอบอาหารเป็นส่วนตัว หรือนำอาหารไปรับประทานนอกเขตที่ทางการเรือนจำได้กำหนดไว้ โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับเรือนจำ
ข้อ ๗๕. นักโทษ และคนต้องจำขังฐานละเมิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักรช ๒๔๗๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้อง รับประทานอาหารซึ่งทางการเรือนจำจ่ายให้ จะรับประทานอาหารส่วนตัวได้แต่เฉพาะผู้ที่ได้รับ อนุญาตตามข้อบังคับนี้
ข้อ ๗๖. โดยปกติ ต้องจัดให้ผู้ต้องขังได้รับประทานอาหารอย่างน้อยวันละสองมื้อ คือ เช้า และเย็น อาหารมื้อหนึ่ง ๆ ให้มีข้าวและกับ
ข้อ ๗๗. ผู้ต้องขังที่ทำงานหนักหรือตรากตรำ ผู้บัญชาการเรือนจำจะสั่งให้จัดอาหารเพิ่ม ให้มากสิ่งหรือมากมื้อขึ้นก็ได้ หรือจะอนุญาตให้นำอาหารส่วนตัวมารับประทานเป็นพิเศษก็ได้
ข้อ ๗๘. อาหารที่ผู้ต้องขังจะรับประทาน ต้องให้เจ้าหน้าที่แพทย์ตรวจก่อน ในกรณีที่เจ้าหน้าที่แพทย์มาตรวจไม่ได้ ให้จัดเจ้าพนักงานเรือนจำ เป็นผู้ตรวจแทน
หมวด ๑๑
ข้อห้ามและข้อปฏิบัติของผู้ต้องขัง
ข้อ ๗๙. ผู้ต้องขังต้องปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้
             ๗๙.๑ เมื่อมีอาการป่วย หรือมีทุกข์ร้อนหย่างใดเกิดขึ้น ต้องรีบรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
             ๗๙.๒ ต้องเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ และผู้บังคับบัญชาเหนือตน
             ๗๙.๓ ต้องไม่เกียจคร้านต่อหน้าที่การงาน
             ๗๙.๔ ต้องอยู่ในความควบคุมโดยแน่นอน จะไปไหนตามลำพังไม่ได้
             ๗๙.๕ ต้องกระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่โดยกวดขันและด้วยความเต็มใจ ไม่ประมาทเลิดเล่อหรือละเลย
             ๗๙.๖ ต้องรับประทานอาหารตามกำหนดเวลาจะแกล้งอดอาหารด้วยอุบายใด ๆ ไม่ได้เป็นอันขาด
             ๗๙.๗ ห้ามเล่นการพนัน เสพติด หรือเครื่องดองของเมาทุกชนิด
             ๗๙.๘ ห้ามทะเลาะวิวาทหรือล้อเลียน และร้องรำทำเพลงไม่ว่าเวลาใด ๆ
             ๗๙.๙ ห้ามให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยตรง หรือโดยอ้อม
             ๗๙.๑๐ ห้ามกล่าวเท็จหรือรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
             ๗๙.๑๑ ห้ามแสดงกริยาวาจาหยาบคาย และลามกอนาจาร
             ๗๙.๑๒ ห้ามสูบบุหรี่ในขณะทำงานหรือในท้องที่ต้องห้าม เว้นแต่ได้รับอนุญาต
             ๗๙.๑๓ ห้ามคบคิดกันจะหนี หรือทำร้ายเจ้าหน้าที่หรือผู้ต้องขังด้วยกันเอง
             ๗๙.๑๔ เมื่อทราบว่ามีผู้ใดจะก่อเหตุร้าย ต้องรีบรายงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยเร็ว
ข้อ ๘๐ . ห้ามมิให้ผู้ต้องขังนำสิ่งของดังต่อกล่าวไปนี้เข้ามา หรือเก็บรักษาไว้ในเรือนจำ คือ
             ๘๐.๑ ยาเสพติด หรือของมืนเมาอย่างอื่นซึ่งรวมทั้งเครื่องมือในการใช้ประกอบการเสพ
             ๘๐.๒ สุรา หรือสิ่งอื่นซึ่งดื่มได้เมาอย่างสุรา
             ๘๐.๓ เครื่องอุปรกรณ์สำหรับเล่นการพนัน
             ๘๐.๔ เครื่องอุปกรณ์ในการหลบหนี
             ๘๐.๕ อาวุธ
             ๘๐.๖ วัตถุระเบิดหรือน้ำมันเชื้อเพลิง หรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดเพลิงได้
             ๘๐.๗ สัตว์มีชีวิต
             ๘๐.๘ ของเน่า ของเสีย ของที่เป็นพิษต่อชิวต ร่างกาย หรือของที่ทำให้เกิดความราคาญต่อผู้ต้องขังอื่น
             ๘๐.๙ สิ่งของที่นำเข้ามาเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายเป็นการค้ากำไร
             ๘๐.๑๐ สิ่งของที่มีไว้เป็นการผิดกฎหมาย
ข้อ ๘๑. สิ่งของต่อไปนี้ ถ้ามีจำนวนไม่มากเกินสมควร ให้ผู้บังคับเรือนจำพิจารณาอนุญาตให้ผู้ต้องขัง นำเข้ามา หรือเก็บรักษาไว้ในเรือนจำได้ คือ
             ๘๑.๑ เครื่องมือที่เกี่ยวแก่การรักษาอนามัยของผู้ต้องขัง
             ๘๑.๒ เงินตรา
             ๘๑.๓ อาหารที่ปรุงแล้วเสร็จ ซึ่งยอมให้ผู้ต้องขังรับประทานได้ตามที่กำหนดไว้ใน หมวด ๑๐
ข้อ ๘๒. ผู้ต้องขังจะมีเงินตราติดตัวไว้ได้เพียงไม่เกินสามสิบบาท ส่วนที่เหลือนอกจากนั้น สิ่งของ อันมีค่า ต้องจัดการมอบแก่ผู้บังคับเรือนจำเพื่อนำฝากเจ้าหน้าที่การเงินต่อไปโดยเร็ว
ข้อ ๘๓. บรรดาสิ่งของซึ่งมิใช่เป็นสิ่งของต้องห้าม แต่่ก็มิใช่เป็นสิ่งของที่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ใน เรือนจำได้ ต้องจัดการให้ผู้ต้องขังมอบหมายไว้กับญาติมิตรหรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกเรือนจำหรือให้จำหน่าย เสีย หากไม่อาจกระทำดังกล่าวแล้วได้ ให้ผู้บังคับเรือนจำเก็บรวบรวมขึ้นบัญชีรักษาไว้และคืนให้ในเมื่อผู้นั้นพ้นโทษ
ข้อ ๘๔. สิ่งของซึ่งเข้าใจว่าจะได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย หรือมีไว้เป็นการผิดกฎหมาย สิ่งของ
ต้องห้ามตามข้อบังคับนี้ ให้เจ้าพนักงานยึดไว้แล้วรีบรายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๘๕. ข้อห้ามและข้อปฏิบัติของผู้ต้องขังตามหมวดนี้ ให้เจ้าพนักงานเรือนจำอ่านให้ ผู้ต้องขังฟังไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ผู้ต้องขังที่เข้าใหม่ต้องอ่านให้ฟังด้วยทุกคน
หมวด ๑๒
การลงทัณฑ์ฐานผิดวินัย

ข้อ ๘๖. ผู้บังคับเรือนจำจังหวัดทหาร หรือ ผู้บังคับเรือนจำ ที่มีฐานะเทียบเท่าเรือนจำจังหวัดทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์ ดังต่อไปนี้
             ๘๖.๑ ภาคทัณฑ์
             ๘๖.๒ งดหรือลดสิทธิต่าง ๆ ได้มีกำหนดไม่เกินสองเดือน
             ๘๖.๓ ขังเดี่ยวไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๘๗. ผู้บังคับเรือนจำมณฑลทหาร หรือ ผู้บังคับเรือนจำ ที่มีฐานะเทียบเท่า เรือนจำมณฑลทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์ ดังต่อไปนี้
             ๘๗.๑ ภาคทัณฑ์
             ๘๗.๒ งดหรือลดสิทธิต่าง ๆ ได้มีกำนหดไม่เกินสามเดือน
             ๘๗.๓ ขังเดี่ยวไม่เกินหนึ่งเดือน
ข้อ ๘๘. ผู้บังคับบัญชาเรือนจำตั้งแต่ผู้บัญชาการเรือนจำขึ้นไป มีอำนาจลงทัณฑ์ตามพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ได้ทุกสถาน แต่การงดหรือลดสิทธิต่าง ๆ นั้น มีกำหนดไม่เกินหกเดือน
ข้อ ๘๙. ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งเป็นความผิดจะต้องรับโทษหลายสถานนั้น ห้ามมิให้ลงโทษสำหรับความผิดนั้นเกินกว่าสองสถาน
ข้อ ๙๐. กรณีที่ผู้ต้องขังมีลักษณะเป็นคนดื้อด้าน โดยที่ได้รับทัณฑ์ทางวินัยทหาร หรือวินัยทาง เรือนจำอย่างหนี่งอย่างใดมาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง หรือขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยจงใจมาแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ถ้าผู้นั้นยังประพฤติผิดอีก ให้ผู้บัญชาการเรือนจำมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสั่งเพิ่มทัณฑ์สถานอื่นในความผิดครั้งหลังนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๙๑. การขังเดี่ยวนั้นให้กระทำโดยวิธีแยกผู้ต้องรับโทษจากผู้ต้องขังอื่นและกักขังไว้ในที่ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษ ห้ามติดต่อหรือพูดจากับผู้อื่นทั้งสิ้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นก็ให้ผู้บังคับเรือนจำมีอำนาจอนุญาตได้
             ให้ผู้บังคับเรือนจำสั่งให้มีผู้คอยตรวจการขังให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง และสังเกตเมื่อเห็นมีอาการป่วย ซึ่งจะต้องมีการรักษาพยาบาล
ข้อ ๙๒. ห้องมืดซึ่งจะใช้สำหรับเป็นที่กักขังผู้ต้องโทษนั้น ให้เจ้าหน้าที่แพทย์ตรวจเห็นชอบด้วยว่า จะไม่เป็นการผิดต่ออนามัยอย่างร้ายแรงจึงใช้ได้
ข้อ ๙๓. การใช้หรือเพิ่มเครื่องพันธนาการนั้น ให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาเลือกใช้ให้สมควรก่ความผิด แต่เฉพาะตรวน ห้ามใช้เกินกว่าสองชั้นเป็นอันขาด
หมวด ๑๓
การเยี่ยมผู้ต้องขัง

ข้อ ๙๔. การเยี่ยมผู้ต้องขังนั้น ให้เยี่ยมได้แต่เฉพาะวันหยุดงาน ระหว่างเวลาแต่ ๑๒๐๐ ถึง ๑๕๐๐ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ให้ผู้บังคับเรือนจำมีอำนาจอนุญาตให้เยี่ยมเป็นพิเศษในวันและเวลาอื่นได้
ข้อ ๙๕. คนต้องขังในระหว่างสอบสวน ห้ามการเยี่ยมเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับเรือนจำ
ข้อ ๙๖. กรณีนอกจากที่กล่าว ในข้อ ๙๔. และข้อ ๙๕ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่เรือนจำ อนุญาตให้ผู้ใดเยี่ยมผู้ต้องขังเป็นอันขาด
ข้อ ๙๗. เจ้าหน้าที่เรือนจำจะอนุญาตให้ผู้เยี่ยมพบกับผู้ต้องขังได้แต่เฉพาะในบริเวณเรือนจำและในที่ซึ่งได้กำหนดไว้เท่านั้น และขณะเยี่ยมต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่กำกับ คอยดูคอยฟังอยู่ด้วยตลอดเวลาที่เยี่ยม
ข้อ ๙๘. ผู้บังคับเรือนจำจะอนุญาตให้ทนายซึ่งแก้ต่างผู้ต้องขังติดต่อกับผู้ต้องขังโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่กำกับคอยฟังก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร
ข้อ ๙๙. ถ้าผู้มาเยี่ยมกับผู้ต้องขังพูดกันเป็นภาษาอื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้กำกับฟังไม่เข้าใจหรือพูดเป็นเชิง ยุยงเสี้ยมสอนในทางทุจริตหรือด้วยอุบายอย่างใด ๆ ก็ดี ให้เจ้าหน้าที่นั้นมีอำนาจที่จะห้ามมิให้พูดกันต่อไปได้ แล้วรีบรายงานผู้บังคับเรือนจำทราบทันที
ข้อ ๑๐๐. ผู้คุมหรือผู้ต้องขังคนใด ทราบว่าผู้มาติดต่อกับผู้ต้องขังกระทำการใด ๆ เป็นเชิงยุยงเสี้ยมสอนในทางทุจริต ให้รีบรายงานให้ผู้บังคับเรือนจำทราบ
             เมื่อผู้บังคับเรือนจำได้รับรายงานดังกล่าวแล้ว จะสั่งให้นำตัวผู้ต้องขังกลับคืนเข้าห้องขังและบังคับ ผู้เยี่ยมหรือผู้มาติดต่อให้ออกจากเรือนจำไปในทันทีก็ได้
ข้อ ๑๐๑. ถ้าผู้มาเยี่ยมหรือติดต่อนำสิ่งของมาให้ผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่ผู้กำกับจะต้องตรวจของนั้นก่อน เมื่อเห็นเป็นของไม่ต้องห้ามจึงให้มอบแก่ผู้ต้องขังรับไป ถ้าเป็นของต้องห้ามต้องยึดของนั้นไว้ แล้วรีบรายงานให้ ผู้บังคับเรือนจำทราบ
หมวด ๑๔
การลา
ข้อ ๑๐๒. การอนุญาตให้ลานั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้พิจารณาแล้ว เห็นความจำเป็นและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ข้อ ๑๐๓. เมื่อผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาได้ ผู้บัญชาการเรือนจำจะต้องทำหนังสือสำคัญ มอบให้ผู้นั้นติดตัวไป และผู้ได้รับอนุญาตต้องนำหนังสือสำคัญนี้ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่ที่ไปนั้นทราบในกำหนดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาไปถึง ถ้าไม่แสดงเจ้าพนักงานฝ่าย ปกครองจะจับตัวส่งมายังเรือนจำก็ได้
มาตรา ๑๕ อยู่ระหว่างการแก้ไข
พักการลงโทษ
ข้อ ๑. นักโทษจะพักการลงโทษได้ต่อเมื่อคณะกรรมการต่อไปนี้เห็นชอบ และได้รับ อนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คณะกรรมการให้ประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำเป็นประธาน และมีข้าราชการ กลาโหมชั้นผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับการเรือชั้น ๓ หรือผู้บังคับฝูงบินขึ้นไปมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ นาย
ข้อ ๒. เงื่อนไขระหว่างพักการลงโทษนั้น ให้กำหนดไว้เป็น ๓ สถานตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ให้ละเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
ก. ไม่กระทำผิดอาญาขึ้นอีก
ข. ไม่เข้าไปในเขตท้องที่ที่กำหนดไว้
ค. ไม่ประพฤติตนในทางเสื่อมเสีย เช่น เสพฝิ่น เล่นการพนัน เป็นต้น
(๒) ให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
ก. ให้รายงานตนเองต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่ง ท้องถิ่นที่ไปอยู่หรือเจ้าพนักงานเรือนจำทหารตามกำหนดเวลาเดือนละ ๑ ครั้ง
ข. ให้กระทำการหาเลี้ยงชีพตามที่เจ้าพนักงานจัดหาให้
ค. ให้กระทำการหาเลี้ยงชีพในกิจการงานซึ่งผู้นั้นมีอยู่แล้ว หรือที่ญาติมิตรจัดหาให้
ง. ให้ปฏิบัติกิจทางศาสนา
(๓) ให้ละเว้นและให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามวรรค (๑) และ (๒) ข้างต้น
ข้อ ๓. เมื่อมีอนุมัติพักการลงโทษแล้ว ให้ผู้บัญชาการเรือนจำออกหนังสือสำคัญซึ่งระบุ เงื่อนไขไว้นั้นให้แก่นักโทษรับไปเป็นคู่มือ และมีหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการจังหวัดแห่งท้องถิ่นที่ไป อยู่นั้นด้วย
ข้อ ๔. หนังสือสำคัญที่ออกให้ตามข้อก่อนนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ได้รับการพักการลงโทษ จะต้องแสดงแก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือเจ้าพนักงานเรือนจำทหาร หากหนังสือ สำคัญนั้นหายต้องรีบรายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำทหารเพื่อขอรับฉบับแทน
ถ้าไม่แสดงหนังสือสำคัญ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ จะจับตัวส่งคืนเรือนจำก็ได้
มาตรา ๑๖
การปล่อยตัว
ข้อ ๑. เมื่อนักโทษคนใดจะต้องปล่อยตัวให้พ้นโทษในสัปดาห์ต่อไปข้างหน้า ให้ผู้บังคับเรือนจำเสนอรายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำ เพื่อขอคำสั่งปล่อยต่อไป
ข้อ ๒. เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้รับรายงานขออนุญาตปล่อยนักโทษดังกล่าวแล้วในข้อ ก่อนต้องจัดนายทหารชั้นสัญญาบัตรไปตรวจสอบก่อนปล่อยนั้นทุกครั้ง
ข้อ ๓. ถ้าเป็นการปล่อยคนต้องชังตามคำสั่งของศาลหรือเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีอำนาจแล้วให้ ผู้บังคับเรือนจำจัดการปล่อยได้ทีเดียว ส่วนหมายหรือเอกสารการสั้งปล่อยนั้นให้นำเสนอต่อผู้บัญชา การเรือนจำจัดการปล่อยได้ทีเดียว ส่วนหมายหรือเอกสารการสั่งปล่อยนั้นให้นำเสนอต่อผู้บัญชาการเรือนจำ
ข้อ ๔. เมื่อถึงกำหนดปล่อยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) เรียกสิ่งของที่จ่ายประจำตัวคืน
(๒) คืนทรัพย์สินของผู้ต้องขังให้แก่ผู้ต้องขังไป
(๓) ทำหลักฐานในการปล่อยน
(๔) ผู้ต้องขังคนใดไม่มีเครื่องแต่งกายจะแต่งออกไปจากเรือนจำ ให้จ่าย เครื่องงแต่งกายให้สำรับหนึ่งตามที่เห็นสมควร
(๕) ออกบัตรแสดงบริสุทธิ์ให้
ข้อ ๕. เมื่อจะมีการปล่อยตัวผู้ต้องขังดังกล่าวมาแล้ว ในวันและเวลาใดให้ผู้บังคับ เรือนจำแจ้งไปยังกรมกองทหารต้นสังกัดของผู้นั้น หรือกองทะเบียนทหารเรือ เพื่อจะได้จัด เจ้าหน้าที่มารับตัวต่อไป
มาตรา ๑๖ ทวิ
การประหารชีวิตนักโทษ
ข้อ ๑. การประหารชีวิตนักโทษนั้น ให้มีคณะกรรมการดำเนินการชุดหนึ่งประกอบด้วย ผู้บัญชาการเรือนจำเป็นประธานกรรมการ ผู้บังคับเรือนจำ และแพทย์ ๑ นาย ซึ่งแต่งตั้งโดยผู้ มีอำนาจสั่งลงโทษเป็นกรรมการ
คณะกรรมการ มีหน้าที่ตรวจตราระมัดระวังให้การประหารชีวิตคำเนินไปตาม กฎหมายและระเบียบแบบแผน
ให้ผู้บัญชาการเรือนจำแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ทำการยิงไม่น้อยกว่า ๒ นาย และเจ้าหน้าที่ ระวังเหตุตามสมควร พร้อมทั้งจัดหาปืนที่ใช้ยิง และเตรียมสถานที่สำหรับประหาร
ข้อ ๒. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำได้รับมอบหมายแจ้งโทษเด็ดขาดแล้ว ให้รีบถ่ายรูป นักโทษผู้ต้องประหารชีวิตทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ครึ่งตัวไม่สวมหมวก ขนาด ๑๐ /- ๑๕ เซนติเมตร ให้เรือนจำเก็บไว้ ๑ ชุด ส่งไปศาลเพื่อติดสำนวนไว้ ๑ ชุด รูปถ่ายเหล่านั้นให้ผู้ บังงคับเรือนจำลงลายมือชื่อรับรองกำกับไว้หลังรูปปถ่ายด้วย และให้สอบถามนักโทษว่า มีข้อที่ จะถวายเรื่องราวขอรับพระราชทานอภัยโทษหรือจำทำพินัยกรรมหรือไม่ แล้วทำบันทึกให้นักโทษ ลงลายมือชื่อไว้ ถ้ามีให้รีบปฏิบัติการไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือช่วยเป็นธุระจัดการ ไปตามสมควร
ให้ผู้บังคับเรือนจำตรวจสอบคดี ตำหนิ รูปพรรณตามทะเบียนรายตัว และทำบันทึก เป็นหลักฐานไว้ให้เรียบร้อยก่อนถึงวันประหารชีวิต ทั้งนี้เพื่อมิให้ผิดตัว
ข้อ ๓. ก่อนถึงวันประหารชีวิต ให้คณะกรรมการรีบจัดการพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษ ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ๓ ฉบับ และลงลายมือชื่อกำกับในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือแล้วส่งไปยังกอง ทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ หรือกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขต แล้วแต่กรณี ๒ ฉบับ พร้อมด้วยแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องโทษประหารชีวิตนั้นที่มีอยู่ทางเรือนจำ เพื่อตรวจ พิสูจน์ว่าเป็นลายนิ้วมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ และเมื่อตรวจพิสูจน์แล้วได้ผลประการใด ให้ผู้ตรวจส่งผลการพิสูจน์พร้อมด้วยแผ่นพิมพ์นิ้วมือดังกล่าวคืนคณะกรรมการด้วยอย่างละ ๑ ฉบับ
ข้อ ๔. เมื่อถึงวันประหารชีวิต ให้คณะกรรมการตรวจสอบรูปถ่ายกับตัวนักโทษตลอด จนหลักฐานต่าง ๆ ให้เป็นที่แน่ใจว่าไม่ผิดตัว ไม่วิกลจริต หรือไม่ใช่หญิงมีครรภ์ แล้วให้คณะ กรรมการจัดการให้นักโทษประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เสร็จแล้วให้ผู้บังคับเรือนจำนำสำเนา คำพิพากษาที่ให้ประหารชีวิต และคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งลงโทษอ่านให้นักโทษฟังและให้นักโทษ ลงลายนมือชื่อรับทราบไว้ต่อจากนั้นให้คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ทำการยิงพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ ระวังเหตุนำนักโทษไปยังสถานที่ประการชีวิต และจัดการยิงเสียให้ตายต่อหน้าคณะกรรมการ
หากคณะกรรมการตรวจสอบรูปถ่ายนกับตัวนักโทษ ตลอดจนหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ปรากฎว่าไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน หรือนักโทษวิกลจริตหรือนักโทษเป็นหญิงมีครรภ์ ให้ระงับการ ประหารชีวิตไว้ก่อนแล้วรายนงานผู้มีอำนาจสั่งลงโทษโดยเร็ว
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งลงโทษได้รับรายงานตามความในวรรคก่อนแล้ว ให้พิจารณา ดำเนินการต่อไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน
ข้อ ๕. เมื่อประหารชีวิตแล้ว ให้คณะกรรมการปฏิบัติดังนี้
(๑) ถ่ายรูปผู้ต้องโทษประหารชีวิต ด้านหน้าครึ่งตัว ขนาด ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร โดยคณะกรรมการลงลายมือชื่อรับรองกำกับไว้
(๒) ทำบันทึกการประหารชีวิตให้ปรากฎข้อความว่า ได้ตรวจร่างกาย นักโทษผู้ถูกประหารชีวิตแล้วปรากฎว่าตายจริง
(๓) พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องโทษประหารชีวิต และลงลายมือชื่อคณะกรรมการ ไว้ ๒ ฉบับ ส่งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากรกรมตำรวจ หรือกองกำกับการตำรวจ วิทยาการเขตแล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบตามนัยข้อ ๓ อีกครั้งหนึ่ง และขอให้ผู้ตรวจส่งแผ่นพิมพ์ ลายนิ้วมือคืนไปยังคณะกรรมการ ๑ ฉบับ พร้อมด้วยผลการตรวจ
(๔) ทำรายงานการประหารชีวิตเสนอผู้มีอำนาจสั่งลงโทษโดยเร็ว เพื่อให้ ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษรายงานกระทรวงกลาโหมต่อไป ส่วนหลักฐานทั้งหมดให้รวบรวมเก็บรักษา ไว้ที่เรือนจำประกอบประวัตินักโทษ
(๕) ศพนักโทษนั้น ถ้ามีญาติมาขอรับก็ให้รับไป ถ้าไม่มีให้จัดการฝังหรือ บรรจุเก็บไว้ตามแต่จะเห็นสมควร
ข้อ ๖. สถานที่สำหรับประหารชีวิต ต้องอยู่ในที่ซึ่งไม่อาจเกิดภยันตรายแก่ประชาชน
ข้อ ๗. ในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงคราม ถ้าไม่สามารถจะปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ได้ ครบถ้วนก็ให้ปฏิบัติตามเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องไม่ให้ขัดกฎหมายและต้องบันทึกเหตุขัดข้องไว้ในราย งานการประหารชีวิตด้วย
ข้อ ๘. กำหนดการปลีกย่อย นอกจากนี้ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นผู้บัญชาการเรือนจำขึ้นไป กำหนดได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๑๗
การร้องทุกข์ยื่นเรื่องราวและถวายฎีกา
ข้อ ๑. การร้องทุกข์นั้น อาจกระทำด้วยวาจาหรือด้วยการยื่นเป็นหนังสือก็ได้ ถ้ากระทำ ด้วยวาจาให้เจ้าพนักงานที่ได้รับร้องทุกข์บันทึกคำร้องทุกข์นั้นไว้ บันทึกคำร้องทุกข์หรือหนังสือร้อง ทุกข์ต้องลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์
ข้อ ๒. การร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราว และการถวายฎีกานั้น หากผู้ต้องขังไม่สามารถ จัดหาเครื่องเขียนส่วนตัวได้ ต้องจัดของราชการให้
การเขียนคำร้องทุกข์ เรื่องราว หรือฏีกา ผู้ต้องขังจะเขียนเอง หรือขอร้องให้ผู้อื่น เขียนให้ตามถ้อยคำของตนก็ได้ หากตนไม่สามารถจะเขียนเองได้
การเขียนดังกล่าวในวรรคก่อน ต้องเขียบในที่ซึ่งทางการเรือนจำจัดให้
ในกรณีที่ผู้ต้องขังขอสงวนข้อความเป็นลับ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานอยู่ใกล้ในระยะที่อาจ อ่านได้หรือขออ่านหรือยอมให้ผู้อื่นมีโอกาสเช่นนั้น นอกจากผู้ต้องขังนั้นจะยินยอม
ข้อ ๓. หนังสือร้องทุกข์ หรือเรื่องราว หรือฎีกานั้นให้ผู้ต้องขังยื่นต่อผู้บังคับเรือนจำหรือ จะใส่ลงที่ซึ่งทางการได้จัดไว้เป็นพิเศษเพื่อการนั้นก็ได้
ข้อ ๔. เมื่อผู้บังคับเรือนจำได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วในข้อก่อน หากมิใช่เป็นกรณีดังกล่าวในข้อต่อไปให้เปิดผนึกซองออกอ่านตรวจดูข้อความ และปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) สอบข้อเท็จจริง
(๒) แก้ไขหรือช่วยเหลือตามคำร้องขอตามสมควรแก่กรณี หรือ
(๓) เสนอต่อไปยังผู้บัญชาการเรือนจำพร้อมกับรายงานชี้แจงการปฏิบัติที่กล่าวแล้ว
ข้อ ๕. ข้อความในหนังสือร้องทุกข์ เรื่องราว หรือฎีกานั้น ผู้ต้องขังจะขอรักษาเป็น ความลับก็ได้ ถ้าเช่นนั้นต้องสอดหนังสือไว้ในซองและผนึกเสีย หน้าซองให้เขียนว่า "ลับ" ถ้าผู้ ต้องขังไม่ได้เขียนคำนี้ไว้ ให้เจน้าพนักงานเรือนจำเขียนให้ในเมื่อทราบความประสงค์
หนังสือเช่นนี้ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานเรือนจำอ่าน แต่มีหน้าที่จะต้องจัดส่งไปยังผู้รับหาก เป็นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือทูลเกล้า ฯ ถวายแล้ว ให้ส่งไปยังผู้บังคับ บัญชาเพื่อดำเนินการต่อไปตามระเบียบ
ข้อ ๖. คำสั่งหรือคำชี้แจงตอบคำร้องทุกข์เรื่องราวหรือฎีกา ต้องแจ้งให้ผู้ยื่นทราบและ จัดให้ผู้ยื่นได้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
มาตรา ๑๘
การพิมพ์ลายนิ้วมือ
ข้อ ๑. เมื่อมีผู้ต้องหาว่ากระทำผิดทางอาญา หลบหนีคดีอาญาหลบหนีที่ควบคุม หรือ หลบหนีเรือนจำ ให้ผู้สอบสวนปฏิบัติดังนี้
(๑) ให้พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหาคนละ ๓ ฉบับ สำหรับในจังหวัดพระนครธนบุรี ให้ส่งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ สำหรับในจังหวัดอื่นที่เป็นท้องที่เดียวกันกับ เขตตำรวจภูธรเขตใด ให้ส่งไปยังกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตในเขตนั้นแล้วแต่กรณีเพื่อตรวจสอบ
ทั้ง ๓ ฉบับ เมื่อได้รับแจ้งผลของการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ให้นำแผ่น พิมพ์ลายนิ้วมือนั้นพร้อมทั้งผลของการตรวจสอบติดสำนวนส่งไปยังอัยการทหาร
เมื่อได้รับผลของการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบแล้วโดยจะเป็นแผ่นพิมพ์ ลายนิ้วมือหรือรายการประวัติอาชญากรก็ตาม ซึ่งแสดงว่าผู้ต้องหามีประวัติเป็นบุคคลเคยต้องโทษ มาแล้วก่อนที่จะติดสำนวนส่งไปยังอัยการทหาร ให้ปฏิบัติดังนี้
ก. บันทึกหมายเลขตามที่ปรากฎในช่องเลขทะเบียน บ.ช.ท. ที่ ... ซึ่ง ปรากฎในรายการประวัติอาชญากร หรือในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือลงไว้ในสมุดรายงานคดี หรือหลักฐาน เกี่ยวกับคดีของผู้ต้องหาคนนั้น ๆ กับให้บันทึกเลขหมาย บ.ช.ท.นี้ลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ ทุกฉบับที่จะติดสำนวนส่งไปยังอัยการทหารด้วย
ข. เมื่อคดีถึงที่สุดและจะต้องแจ้งผลคดีไปให้กองทะเบียนประวัติ อาชญากรกรมตำรวจหรือกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตทราบ แล้วให้บันทึกเลขหมาย บ.ช.ท.ของบุคคลนั้น ๆ ไปให้ทราบด้วยทุกครั้ง
ค. การสอบถามทุกกรณี หรือการแจ้งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของ บุคคลที่เคยส่งพิมพ์ลายสิ้วมือไปให้ตรวจสอบแล้ว ให้แจ้งหมายเลข บ.ช.ท.ของบุคคลนั้น ๆ ไปให้ทราบด้วยทุกครั้ง
(๒) การกรอกข้อความลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ ให้กรอกชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้าไม่มีชื่อสกุลให้กรอกให้ชัดเจนว่า"ไม่มี") ข้อหา เพศ เลขคดีชั้นต้น วันเดือนปีที่จับ กับ ข้อความอื่น ๆ ตลอดจนตำหนิ รูปพรรณและประวัติย่อให้ครบถ้วนทุกช่องและ
ก. ถ้าหากทราบ หรือผู้ถูกพิมพ์ลายนิ้วมือยอมรับว่าเคยต้องโทษมาก่อน ให้บันทึกว่า "เคยต้องโทษฐาน......" ด้วยตัวอักษรสีแดง
ข. ถ้าผู้ต้องหารับสารภาพในกรณีที่ต้องาในชั้นสอบสวน และยอมรับว่า เคยต้องโทษมาก่อน ให้บันทึกว่า "รับสารภาพเคยต้องโทษฐาน......" ด้วยตัวหนังสือสีแดง
(๓) การส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือไปขอให้ตรวจสอบให้ส่งพร้อมกับหนังสือนำส่ง หมายเลข ๑ ท้ายข้อบังคับนี้ และให้จัดส่งโดยเร็วที่สุด
หากจะต้องส่งสำนวนการสอบสวนให้อัยการทหาร ก่อนที่จะได้รับแจ้งผลการ ตรวจสอบ ให้ผู้สอบสวนบันทึกติดสำนวนไว้ว่า ได้ส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือไปให้กองทะเบียน ประวัติอาชญากรกรมตำรวจ หรือกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตตรวจสอบแล้ว โดย หนังสือที่เท่าใด ลงวันเดือนปีด้วย หรือจำสำเนาหนังสือดังกล่าวติดสำนวนไว้ก็ได้ ในกรณี เช่นนี้เมื่อได้รับแจ้งผลการตรวจสอบแล้ว ให้จัดการส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือพร้อมทั้งผลการ ตรวจสอบตามไปยังอัยการทหารโดยเร็วที่สุด
ข้อ ๒. เมื่ออัยการทหารได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ ผู้สอบสวนฝ่ายทหารเพื่อฟ้องยังศาลทหาร ให้ตรวจดูด้วยว่าผู้สอบสวนได้จัดการส่งแผ่นพิมพ์ ลายนิ้วมือผู้ต้องหาทุกคนและส่งไปตรวจสอบแล้วหรือไม่ หากยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้ ทักทวงพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนฝ่ายทหารรีบจัดการ เสียทุกราย
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจหรือกองกำกับการ ตำรวจวิทยาการเขตแจ้งผลการตรวจสอบลายนิ้วมือผู้ต้องหามายังอัยการทหารโดยตรง หาก ปรากฏว่าผู้ต้องหามีประวัติเป็นบุคคลเคยต้องโทษมาก่อน ให้อัยการทหารกรอกเลขหมาย บ.ช.ท. จากรายการประวัติอาชญากรของผู้ต้องหาลงไว้ในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องหา คนนั้น ๆ ที่มีอยู่ในสำนวนทุกฉบับ
เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเป็นหน้าที่ของอัยการทหารจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าศาลพิพากษาให้จำคุกหรือทั้งจำทั้งปรับให้อัยการทหารส่งแผ่นพิมพ์ ลายนิ้วมือและรายการประวัติอาชญากร (ถ้ามี) ให้ผู้บังคับเรือนจำดำเนินการต่อไป
(๒) ถ้าศาลพิพากษาปรับ รอการกำหนดโทษ รอการลงโทษหรือกักขัง ให้ อัยการทหารบันทึกโทษลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือที่ติดมากับสำนวนสอบสวนให้ครบถ้วนทุก ๆ ช่องที่กำหนดไว้แล้วจัดการดังนี้
ก. ในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี ให้ส่งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจภายใน ๕ วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุด
ข. สำหรับในจังหวัดอื่นที่เป็นท้องที่เดี่ยวกันกับเขตตำรวจภูธรใด ให้ส่ง ไปยังกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตในเขตนั้นภายใน ๕ วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุด
(๓) รายการที่ต้องบันทึกตามคำพิพากษามีดังนี้
ก. ชื่อศาลที่ตัดสิน
ข. หมายเลขคดีดำและคดีแดง
ค. เรื่องที่ต้องหา
ง. กำหนดโทษ
จ. ฐานความผิด
ฉ. บทกฎหมายและมาตราที่ลงโทษ
ช. วันที่ต้องโทษ
ซ. วันพ้นโทษหรือวันปล่อยตัว ถ้าไม่อาจทราบได้เพราะตัวขอประกัน ผลัดชำระค่าปรับหรือต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้บันทึกวันที่ศาลตัดสิน
(๔) การบันทึกคำพิพากษา ลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือนี้ ต้องพิมพ์ดีดหรือเขียนตัวบรรจงด้วยหมึก
(๕) การส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือเมื่อคดีถึงที่สุดไปให้กองทะเบียนประวัติอาชญากรกรมตำรวจหรือ
กองกำกับการตำรวจวิทยาการเขต ให้ส่งโดยมีหนังสือนำส่ง ตามแบบหมายเลข ๒ ท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ ๓. เรือนจำทหาร มีหน้าที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการพิมพ์ลายนิ้วมือ ดังต่อไปนี้
(๑) การรับตัวผู้ต้องขัง
เมื่อรับตัวผู้ต้องขังให้จัดการพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องขังทุกคนเก็บไว้เป็นหลักฐานละ ๒ ฉบับ
(๒) ผู้ต้องขังพ้นโทษ
ก่อนที่ผู้ต้องขังคนใดจะพ้นโทษออกไปจากเรือนจำหรือสถานควบคุม ๑ เดือนให้จัดการดังนี้
ก. เรือนจำในจังหวัดพระนคร - ธนบุรี ให้ส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ ผู้ต้องขังพ้นโทษไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ คนละ ๒ ฉบับ แต่ถ้าผู้พ้นโทษ คนใดต้องคำพิพากษาศาลให้ลงโทษในฐานกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ทุกกรณี ให้ส่งแผ่นพิมพ์ ลายนิ้วมือเพิ่มขึ้นอีกคนละ ๑ ฉบับ รวมเป็นคนละ ๓ ฉบับ
ข. เรือนจำในจังหวัดอื่นที่เป็นท้องที่เดียวกันกับเขตตำรวจภูธรเขตใด ให้ส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือไปยังกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตนั้นคนละ ๒ ฉบับ
ค. ถ้าจะต้องปล่อยผู้ต้องขังนั้นไปก่อนได้รับโทษจำคุก เช่น ต้องขังมา พอกับโทษหรือยอมเสียค่าปรับตามคำพิพากษา รอการกำหนดโทษ รอการลงโทษ ฯลฯ เป็นต้น ก่อนจะปล่อยตัวไปให้พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องขังนั้นทันทีคนละ ๒ ฉบับ แล้วกรอกข้อความลงในแผ่น พิมพ์ลายนิ้วมือให้ครบถ้วนส่งไปให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ หรือกองกำกับการ ตำรวจวิทยาการเขตซึ่งท้องที่นั้นอยู่ในเขตตำรวจภูธรเขตนั้นแล้วแต่กรณี
(๓) ผู้ต้องขังตาย
เมื่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาหรือผู้ที่ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วตายลง ให้ส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ตาย ๑ ฉบับ ไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ หรือกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตซึ่งท้องที่นั้นอยู่ในเขตตำรวจภูธรเขตนั้นแล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบทุกราย และแจ้งเหตุให้ทราบด้วย
(๔) ผู้ต้องขังหลบหนี
เมื่อผู้ต้องขังหลบหนีการควบคุมไป ให้ผู้บังคับเรือนจำรวบรวมหลักฐานการ หลบหนีของผู้นั้น คือแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ ๒ ฉบับ รูปถ่าย (ถ้ามี) บัญชีผู้ต้องขังหลบหนี สำเนา หมายจับ สำเนาหมายจำคุก สำเนาหมายขัง สำเนาคำสั่งควบคุมตัว กับหนังสือนำส่งแล้วเสนอ ผู้บังคับบัญชา เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองในเขตท้องที่ที่เรือนจำนั้นตั้งอยู่ จัดการออกหมายจับให้แล้วจัดการดังนี้
ก. เรือนจำในจังหวัดพระนคร - ธนบุรี ให้ส่งหลักฐานการหลบหนีของ ผู้ต้องขังไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากรกรมตำรวจ แล้วขอให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจจัดการแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือพร้อมด้วยหลักฐานการหลบหนีส่งไปให้กองกำกับการ ตำรวจวิทยาการเขตเอง
ข. เรือนจำในจังหวัดอื่นที่เป็นท้องที่เดียวกันกับเขตตำรวจภูธรใด ให้ ส่งหลักฐานการหลบหนีของผู้ต้องขังไปยังกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตตำรวจภูธรเขตนั้น แล้วขอให้กองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตนั้นจัดการแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือพร้อมด้วยหลักฐาน การหลบหนีส่งไปให้กองทะเบียนประวัติอาชญากรกรมตำรวจเอง
(๕) การบันทึกเลขหมาย บ.ช.ท.
การส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องขังพ้นโทษผู้ต้องขังตาย หรือผู้ต้องขังหลบ หนีไป ให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ หรือกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขต ดำเนินการให้กรอกประวัติย่อและตำหนิ รูปพรรณผู้ต้องขังให้สมบูรณ์พร้อมกับเลขหมาย บ.ช.ท. ตามที่ได้รับแจ้งจากอัยการทหารลงไว้ในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือหรือในบัญชีผู้ต้องขังหลบหนีด้วยทุก ๆ คน
(๖) เมื่อจับผู้ต้องขังหลบหนีได้ หรือผู้ต้องขังหลบหนีกลับมามอบตัวเองให้ผู้ บัญชาการเรือนจำรายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อแจ้งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ หรือกองกำกับการตำรวจวิทยาการเขตแล้วแต่กรณี เพื่อให้งดการตรวจสอบแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และถอนประกาศสืบจับ
(๗) การส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องขังพ้นโทษ ผู้ต้องขังตาย หรือผู้ต้องขัง หลบหนีไป ให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจ หรือกองกำกับการตำรวจวิทยาการ เขตให้ส่งโดยมีหนังสือนำส่งตามแบบหมายเลข ๓ ท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ ๔. การพิมพ์ลายนิ้วมือทุกชนิดจะต้องพิมพ์โดยวิธีกลิ้งนิ้วจากขอบเล็บข้างหนึ่งไป จนบรรจบขอบเล็บอีกข้างหนึ่งให้มีลายเส้นตัดเห็นได้ชัดเจน ไม่พร่าหรือมัวมืดเลอะเลือน หมึก ที่พิมพ์ต้องไม่หนาบางเกินไปทุก ๆ นิ้ว กับให้ดำเนินการดังนี้
(๑) นิ้วมือนิ้วใดเป็นลายแบบมัดหวาย ต้องพิมพ์ให้ติดจุดสันดอนกับจุด ใจกลาง ให้สามารถนับลายเส้นจากจุดสันดอนกับจุดใจกลางได้ทุก ๆ ด้าน
(๒) ถ้านิ้วมือนิ้วใดเป็นลายแบบก้นหอยต้องพิมพ์ให้ติดจุดสันดอนข้างขวาและ ข้างซ้าย ให้สามารถสาวลายเส้นจากจุดสันดอนทางซ้ายมือไปสู่จุดสันดอนทางขวามือได้ถูกต้อง
(๓) การพิมพ์ลายนิ้วมือให้พิมพ์ให้ติดตั้งแต่ข้อนิ้วช่วงที่ ๑ ไปจนถึงปลายนิ้ว ให้มีลายเส้นเห็นได้โดยชัดเจนและให้เต็มนิ้ว ระวังอย่าให้กลับมือและเปลี่ยนนิ้วให้ผิดจากช่อง แบบพิมพ์ถ้านิ้วมือใดพิการเห็นชัดเจนไม่ได้ ก็ให้หมายเหตุไว้ที่ช่องสำหรับนิ้วนั้น ลายพิมพ์นิ้วมือ ใดที่พิมพ์ไม่ติดจุดสันดอนหรือจุดใจกลางแม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จะใช้ในการตรวจสอบไม่ได้
(๔) ถ้าจะพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ใด ให้สอบสวนเสียก่อน เมื่อเห็นถูกต้องไม่ผิดตัว แล้ว จึงให้เขียนข้อความลงในแบบพิมพ์และพิมพ์ลายมือผู้นั้น
(๕) เครื่องใช้สำหรับพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีไว้พร้อมคือ
ก. แท่นสำหรับคลึงหมึก
ข. ลูกกลิ้งยางสำหรับคลึงหมึก
ค. หมึกชนิดพิมพ์หนังสือ (หมึกอื่นใช้ไม่ได้)
ง. แบบพิมพ์ลายมือ
จ. โต๊ะชนิดเขียนหนังสือสำหรับพิมพ์ลายนิ้วมือ
ฉ. แท่นประทับแบบพิมพ์
(๖) แบบพิมพ์ให้ใช้กระดาษแข็งสีขาวขนาด ๒๐ x ๒๐ เซนติเมตร ตามแบบที่กำหนดไว้ท้าย
ข้อบังคับนี้
ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
(ลงนาม) พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ศาลาว่าการกลาโหมพระนคร
๓ ธ.ค. ๘๐
----------------------------------------------
มาตรา ๑๙
สมุดและบัญชีต่าง ๆ
ข้อ ๑. ในเรือนจำทุกแห่ง ต้องจัดให้มีสมุดบัญชีและแบบพิมพ์ประจำดังต่อไปนี้
(๑) ทะเบียนคนต้องขังระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา (แบบ ร.จ.๑)
(๒) ทะเบียนนักโทษ (แบบ ร.จ.๒)
(๓) ทะเบียนคนต้องขัง (ทางวินัย) (แบบ ร.จ.๓)
(๔) สมุดคนฝาก (แบบ ร.จ.๔)
(๕) สมุดรับจ่ายผู้ต้องขัง (แบบ ร.จ.๕)
(๖) สมุดรับฝากเงินของผู้ต้องขัง (แบบ ร.จ.๖)
(๗) สมุดรับฝากของ (แบบ ร.จ.๗)
(๘) บัญชีเสนอปล่อยนักโทษ (แบบ ร.จ.๘)
(๙) บัตรอนุญาตลา (แบบ ร.จ.๙)
(๑๐) บัตรอนุญาตพักการลงโทษ (แบบ ร.จ.๑๐)
(๑๑) บัตรแสดงบริสุทธิ์ (แบบ ร.จ.๑๑)
(๑๒) สมุดตรวจการเรือนจำ
(๑๓) สมุดบัญชีสิ่งของ
ข้อ ๒. แบบสมุด ทะเบียน และบัญชีต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วในข้อ ๑ แห่งมาตรานี้นั้นให้ใช้ตามตัวอย่างท้าย
ข้อบังคับนี้
สมุดทะเบียน และแบบบัญชีที่มีอยู่แล้วแต่เดิมให้ใช้ไปพลางก่อนจนกว่าจะจัดทำขึ้นใหม่จึงให้เป็นไปตาม
ข้อบังคับนี้
ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๐
(ลงนาม) จอมพลถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

--------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๒๐
ข้อความเบ็ดเตล็ด

ข้อ ๑. สิ่งของต้องห้ามซึ่งระบุใว้ในมาตรา ๑๑ นั้น ให้ใช้บังคับถึงบุคคล นอกจากผู้ต้องขังด้วยความในวรรคก่อน ไม่บังคับถึงเงินหรือสิ่งของอื่นที่จะนำเข้าไป หรือ นำออกมาจากเรือนจำหรือส่งมอบให้ หรือรับจากผู้ต้องขังเพียงเท่าที่ได้อนุญาตไว้ หรือเมื่อ ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอันกำหนดไว้ในระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำนั้น ๆ
ข้อ ๒. นักโทษซึ่งอยู่ในชั้นต่าง ๆ ก่อนวันในพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ให้ปรับเข้าชั้นตามที่กำหนดได้ดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ยามในสามัญตรวจปรับเทียบเข้าชั้นดีมาก
(๒) ยามในสามัญปรับเทียบเข้าชั้นดี
ข้อ ๓. เมื่อคนต้องขังหรือคนฝากได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือถึงตายในขณะช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
ผู้กระทำการตามหน้าที่ก็ดี ในขณะทำการตามหน้าที่ของตนอันอาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยหรือชีวิตก็ดี
มีสิทธิจะได้รับเงินรางวัลตามจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พิจารณาเห็นสมควร โดยพฤติการณ์แห่งกรณี
ข้อ ๔ กำหนดการปลีกย่อยนอกจากนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ผูบัญชาการเรือนจำขึ้นไปกำหนดได้
ตามความจำเป็น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น