อ่านเฉพาะบทความของบล็อคในรูปแบบพิเศษ ...
sidebar / flipcard / mosaic / snapshot / timeslide

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


วิวัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกวินาที ทำให้ต้องมาเริ่มปรับปรุงแก้ไขหน้าบล็อคใหม่ทั้งหมด จากเดิมที่ตั้งใจว่าจะจัดทำในรูปแบบของเว็บไซท์ แต่ปรากฎว่าการเข้าถึงอาจะจะยากสักหน่อยเพราะชื่อที่ยาวเหยียด จึงหันกลับมาหารูปแบบบล็อคที่ได้รับการปรับปรุงจนสามารถทำงานได้อย่างเรียบง่ายและสมบูรณ์พอสมควรในการนำเสนอ

ดังนั้น ปัญหาทางด้านวิวัฒนาการที่ติดตามมาก็คือการติดตามค้นหาบรรดา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรทหารมารวบรวมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้เป็นปัจจุบันที่สุดเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงานได้ เนื่องจากมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายมากมายเกิดขึ้นมา บางฉบับก็ส่งผลในด้านดีทำให้บทบาทด้านสมรรถภาพและคุณค่าของสารวัตรทหารเพิ่มพูนมากขึ้น บางฉบับก็ลดทอนบทบาทและขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ให้ลดน้อยลง บางฉบับก็สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคมของสารวัตรทหาร

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น บทบาทในส่วนรวมจึงขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอต่อสายตาประชาชนในยุคที่สื่อสารมวลชนกว้างไกลไร้ขีดจำกัด ภาพของผู้กระทำความผิดหรือสิ่งที่ไม่ถูกต้องจึงถูกนำมาประจานให้ประชาชนทั่วไปได้รู้เห็นกันอยู่ตลอดเวลา

ความรอบรู้ในหลักการและกฎหมาย คือ หัวใจของการปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับคำว่า คุณธรรม จริยธรรม และความยุติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ราชกิจจานุเบกษา เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๓๙ ก ลง ๒๗ กุมภาพันธ   ๒๕๕๑

พระราชบัญญัติ
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ.  ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช  ป.ร.
ใหไว  ณ  วันที่  ๑๙  กุมภาพันธ  พ.ศ.  ๒๕๕๑
เปนปที่  ๖๓  ในรัชกาลปจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล ยเ ดช   มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา ฯ  
ใหประกาศวา
โดยที่เปนการสมควรมีกฎหมายวาดวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล   ซึ่งมาตรา  ๒๙  และมาตรา  ๓๑  ประกอบกับมาตรา  ๓๒  มาตรา  ๓๓    มาตรา  ๓๔  มาตรา  ๓๖   มาตรา  ๔๑  และมาตรา  ๔๓  ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย  บัญญัติใหกระทําไดโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ ใหตราพระราชบัญญัติขึ้นไวโดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแหง ชาติ  ดังตอไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกวา พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับตั้งแตวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร”   หมายความวา  การดําเนินการเพื่อปองกัน  ควบคุม  แกไข  และฟนฟูสถานการณใด  ที่เปนภัยหรืออาจเปนภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุมบุคคลที่กอใหเกิดความไมสงบสุข  ทําลาย  หรือทําความเสียหายตอชีิวต  รางกาย  ทรัพยสินของประชาชนหรือของรัฐ  ใหกลับสูสภาวะปกติเพื่อใหเกิดความสงบเรียบรอยของประชาชน   หรือความมั่นคงของรัฐ
คณะกรรมการ”   หมายความวา  คณะกรรมการอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผูอํานวยการ”  หมายความวา  ผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
หนวยงานของรัฐ”   หมายความวา  สวนราชการ  รัฐวิสาหกิจ  องคการมหาชน  องคกร
ปกครองสวนทองถิ่น   และหนวยงานอื่นของรัฐ  แตไมรวมถึงศาลและองคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
เจาหนาที่ของรัฐ”  หมายความวา  ขาราชการ  พนักงาน และลูกจางของหนวยงานของรัฐ
พนักงานเจาหนาที่”  หมายความวา  ผูซึ่งผูอํานวยการแตงตั้งใหปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
จังหวัด”  หมายความรวมถึง  กรุงเทพมหานคร
ผูวาราชการจังหวัด”  หมายความรวมถึง  ผูวาราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔ ใหนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด  ๑
กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

มาตรา ๕ ใหจัดตั้งกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยยอวา กอ.รมน.”  ขึ้นในสํานักนายกรัฐมนตรี  มีอํานาจหนาที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
กอ.รมน.  มีฐานะเปนสวนราชการรูปแบบเฉพาะอยูภายใตการบังคับบัญชาขึ้นตรงตอนายกรัฐมนตรี  โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน  การจัดโครงสราง  การแบงสวนงานและอํานาจหนาที่ของสวนงาน  และอัตรากําลัง  ใหเปนไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ใหนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหนารัฐบาล   เปน   ผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยยอ วา ผอ.รมน.”   เปน ผูบังคับบัญชาขาราชการ  พนักงาน  และลูกจางใน  กอ.รมน.  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ  กอ.รมน.  โดยมีผูบัญชาการทหารบกเปนรองผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผูอํานวยการอาจแตงตั้งผูชวยผูอํานวยการจากขาราชการในสังกัด  กอ.รมน.   หรือเจาหนาที่ของรัฐอื่นไดตามความเหมาะสม  โดยคํานึงถึงโครงสรางและการแบงสวนงานภายในของ  กอ.รมน.ใหเสนาธิการทหารบกเปนเลขาธิการ  กอ.รมน.  มีหนาที่รับผิดชอบงานอํานวยการและธุรการของ  กอ.รมน.
รองผูอํานวยการ  ผูชวยผูอํานวยการ  และเลขาธิการ  กอ.รมน.  มีอํานาจบังคับบัญชาขาราชการ  พนักงาน  และลูกจางใน  กอ.รมน.  รองจากผูอํานวยการและมีอํานาจหนาที่อื่นตามที่ผูอํานวยการกําหนด
ใหผูอํานวยการมีอํานาจทํานิติกรรม  ฟองคดี  ถูกฟองคดี  และดําเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.  ทั้งนี้  โดยกระทําในนามของสํานักนายกรัฐมนตรีในการปฏิบัติหนาที่และการใชอํานาจตามพระราชบัญญัตินี้  ผูอํานวยการจะมอบอํานาจเปนหนังสือใหรองผูอํานวยการเปนผูปฏิบัติหรือใชอํานาจแทนก็ได
มาตรา ๖ ให กอ.รมน.เปนสวนราชการตามกฎหมายวาดวยวิธีการงบประมาณและกฎหมายวาดวยเงินคงคลัง
มาตรา ๗ ให  กอ.รมน.  มีอํานาจหนาที่  ดังตอไปนี้
(๑)  ติดตาม  ตรวจสอบ  และประเมินแนวโนมของสถานการณที่อาจกอใหเกิดภัยคุกคามดานความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดําเนินการตอไป
(๒)  อํานวยการในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  ในการนี้ใหมีอํานาจหนาที่เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและดําเนินการตอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาใหความเห็นชอบ  
เมื่อคณะรัฐมนตรีใหความเห็นชอบแลวใหหนวยงานของรัฐปฏิบัติตามแผนและแนวทางนั้น
(๓)  อํานวยการ   ประสานงาน  และเสริมการปฏิบัติของหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของในการดําเนินการตามแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานตาม  (๒)  ในการนี้  คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให  กอ.รมน.  มีอํานาจในการกํากับการดําเนินการของหนวยงานของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดดวยก็ได
(๔)  เสริมสรางใหประชาชนตระหนักในหนาที่ที่ตองพิทักษรักษาไวซึ่งชาติ ศาสนา  และพระมหากษัตริย  สรางความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ  รวมทั้งสงเสริมใหประชาชนเขามามีสวนรวมในการปองกันและ   แกไขปญหาตาง ๆ   ที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และความสงบเรียบรอยของสังคม
(๕)  ดําเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี  สภาความมั่นคงแหงชาติ  หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๘ นอกจากการมอบอํานาจตามกฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการแผนดินแลว  บรรดาอํานาจหนาที่ของผูอํานวยการตามพระราชบัญญัตินี้  ผูอํานวยการจะมอบอํานาจให  ผอ.รมน.ภาค  ผอ.รมน.จังหวัด  หรือผูอํานวยการศูนยหรือหัวหนาหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นปฏิบัติแทนก็ได
มาตรา ๙ เพื่อประโยชนในการปฏิบัติการตามอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.ตามพระราชบัญญัตินี้ ใหหนวยงานของรัฐจัดสงเจาหนาที่ของรัฐไปปฏิบัติหนาที่ใน  กอ.รมน.ตามที่ผูอํานวยการรองขอ   และใหองคกรกลางบริหารงานบุคคลหรือองคกรอื่นที่มีอํานาจหนาที่ทํานองเดียวกันของหนวยงานของรัฐนั้น  จัดใหหนวยงานของรัฐที่จัดสงเจาหนาที่ของรัฐไปปฏิบัติหนาที่ยัง  กอ.รมน.  มีอัตรากําลังแทนตามความจําเปนแตไมเกินจํานวนอัตรากําลังที่จัดสงไป
มาตรา ๑๐ ใหมีคณะกรรมการอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรคณะหนึ่ง  ประกอบดวย  
นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเปนประธาน  รัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม  และรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยเปนรองประธาน รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรม  รัฐมนตรีวาการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ปลัดกระทรวงกลาโหม  ปลัดกระทรวงการตางประเทศ  ปลัดกระทรวงมหาดไทย    อัยการสูงสุด  เลขาธิการสภาความมั่นคงแหงชาติ   ผูอํานวยการสํานักขาวกรองแหงชาติ    ผูอํานวยการสํานักงบประมาณ  เลขาธิการคณะกรรมการขาราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ  ผูบัญชาการทหารสูงสุด  ผูบัญชาการทหารบก   ผูบัญชาการทหารเรือ  ผูบัญชาการทหารอากาศ   ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติ  อธิบดีกรมบัญชีกลางและอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  เปนกรรมการ   และเลขาธิการ กอ.รมน. เปนกรรมการและเลขานุการ   และใหผูอํานวยการแตงตั้งขาราชการใน  กอ.รมน.  เปนผูชวยเลขานุการไมเกินสองคน
ใหคณะกรรมการมีอํานาจหนาที่กํากับ  ใหคําปรึกษาและเสนอแนะตอ  กอ.รมน.  ในการปฏิบัติงานในอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.  รวมตลอดทั้งอํานาจหนาที่  ดังตอไปนี้
(๑)  วางระเบียบเกี่ยวกับการอํานวยการและประสานงานกับหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(๒)  วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ  กอ.รมน.  กอ.รมน.ภาค  และ  กอ.รมน.จังหวัด
(๓)  ออกขอบังคับเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การคลัง  การพัสดุ  และการจัดการทรัพยสินของ    กอ.รมน.
(๔)  แตงตั้งคณะที่ปรึกษา  กอ.รมน.โดยคํานึงถึงการมีสวนรวมของประชาชนในภาคสวนตางๆ อยางนอยใหประกอบดวยผูทรงคุณวุฒิหรือมีประสบการณดานรัฐศาสตร  รัฐประศาสนศาสตร  นิติศาสตร    วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี  การคุมครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การแกไขปญหาโดยสันติิวิธี  การรักษาความมั่นคงของรัฐ  สื่อมวลชนและมีหนาที่ในการเสนอแนะการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น และใหคําปรึกษาตามที่คณะกรรมการหารือ
(๕)  แตงตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหนาที่ตามที่ไดรับมอบหมาย
(๖)  ปฏิบัติหนาที่อื่นตามที่บัญญัติไวในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๑ เมื่อมีกรณีจําเปนในอันที่จะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในพื้นที่ของกองทัพภาคใด  คณะกรรมการโดยคําเสนอแนะของผูอํานวยการจะมีมติใหกองทัพภาคนั้นจัดใหมีกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค  เรียกโดยยอวา  กอ.รมน.ภาค”  ก็ได
ให  กอ.รมน.ภาค  เปนหนวยงานขึ้นตรงตอ  กอ.รมน.  โดยมีแมทัพภาคเปนผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค  เรียกโดยยอวา  ผอ.รมน.ภาค”   มี หน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคตามที่ผูอํานวยการมอบหมาย
เพื่อประโยชนในการปฏิบัติหนาที่ของ  กอ.รมน.ภาค ใหผูอํานวยการมีอํานาจแตงตั้งขาราชการและลูกจาง ของกองทัพภาค  รวมตลอดทั้งขาราชการ  พนักงาน  และลูกจางของหนวยงานของรัฐที่อยูในเขตพื้นที่ใหมาปฏิบัติงานประจําหรือเปนครั้งคราวใน  กอ.รมน.ภาค  ไดตามที่ผอ.รมน.ภาค เสนอ
ผอ.รมน.ภาค  เปน ผูบังคับบัญชาขาราชการ   พนักงาน   และลูกจางที่ไดรับ คําส่ังใหมาปฏิบัติงานใน  กอ.รมน.ภาค และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ  กอ.รมน.ภาค
การจัดโครงสราง  การแบงสวนงานและอํานาจหนาที่  อัตรากําลัง และการบริหารงานของสวนงานภายใน  กอ.รมน.ภาค  ใหเปนไปตามที่ผูอํานวยการกําหนดตามขอเสนอของ  ผอ.รมน.  ภาค
ให กอ.รมน. และกองทัพภาคพิจารณาใหการสนับ สนุนดานบุคลากร  งบประมาณและทรัพยสิน  ในการ       ปฏิบัติงานของ กอ.รมน.ภาค ตามที่ ผอ.รมน.ภาค  รองขอ  และใหนําความในมาตรา  ๙  มาใชบังคับกับ  กอ.รมน.ภาค  ดวยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชนใ นการสรางการมีสวนรวมในการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น  ผอ.รมน.ภาค  อาจแตงตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา  กอ.รมน.ภาคขึ้นคณะหนึ่ง  ประกอบดวย ประธานกรรมการและกรรมการมีจํานวนไมเกินหาสิบคนโดยแตงตั้งจากผูซึ่งเปนที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ทุกภาคสวน   มีหนาที่ในการเสนอแนะการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น  และใหคําปรึกษาตามที่  ผอ.รมน.ภาค  รองขอ
มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชนในการสนับสนุน   ชวยเหลือ และปฏิบัติการตามอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.ภาค  ตามมาตรา  ๑๑  ผอ.รมน.ภาค  โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยและผูอํานวยการจะตั้งกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด  เรียกโดยยอวา  กอ.รมน.จังหวัด”   ขึ้นในจังหวัดที่อยูในเขตของกองทัพภาคเปนหนวยงานขึ้นตรงตอ  กอ.รมน.ภาค  ก็ได  โดยมีหนาที่รับผิดชอบและสนับสนุน การรักษาความมั่นคงภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดนั้น ตามที่ผูอํานวยการมอบหมาย  และใหผูวาราชการจังหวัดเปนผูอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด  เรียกโดยยอวา  ผอ.รมน.จังหวัด”  เปนผูบังคับบัญชาขาราชการ  พนักงาน  และลูกจาง  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ  กอ.รมน.จังหวัด
การจัดโครงสราง  การแบงสวนงานและอํานาจหนาที่  อัตรากําลัง  และการบริหารงานของสวนงานภายใน  กอ.รมน.จังหวัด  ใหเปนไปตามที่ผูอํานวยการกําหนดให  กอ.รมน.  และจังหวัดพิจารณาใหการสนับสนุนดานบุคลากร  งบประมาณและทรัพยสิน  ในการปฏิบัติงานของ  กอ.รมน.จังหวัด  ตามที่  ผอ.รมน.จังหวัด  รองขอ  และใหนําความในมาตรา  ๙  มาใชบังคับกับ  กอ.รมน.จังหวัด  ดวยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชนใ นการสรางการมีสวนรวมในการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น   ผอ.รมน.จังหวัด   อาจแตงตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.จังหวัดขึ้นคณะหนึ่ง  ประกอบดวยประธานกรรมการและกรรมการมีจํานวนไมเกินสามสิบคนโดยแตงตั้งจากผูซึ่งเปนที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพ้ืนที่ทุกภาคสวน  มีหนาที่ในการเสนอแนะการแกไขปญหาหรือปองกันภัยที่จะเกิดขึ้น และใหคําปรึกษาตามที่  ผอ.รมน.จังหวัดรองขอ

หมวด  ๒
ภารกิจการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณอันกระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแตยังไมมีความจําเปนตองประกาศสถานการณฉุกเฉินตามกฎหมายวาดวยการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน และเหตุการณนั้นมีแนวโนมที่จะมีอยูตอไปเปนเวลานานทั้งอยูในอํานาจหนาที่หรือความรับผิดชอบในการแกไขปญหาของหนวยงานของรัฐหลายหนวยคณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให   กอ.รมน.  เปนผูรับผิดชอบในการปองกัน  ปราบปราม  ระงับ  ยับยั้ง  และแกไขหรือบรรเทาเหตุการณที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น ภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กําหนดได   ทั้งนี้   ใหประกาศใหทราบโดยทั่วไป
ในกรณีที่เหตุการณตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดําเนินการแกไขไดตามอํานาจหนาที่ของหนวยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ  ใหนายกรัฐมนตรีประกาศใหอํานาจหนาที่ของ  กอ.รมน.   ที่ไดรับมอบหมายตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง  และใหนายกรัฐมนตรีรายงานผลตอสภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภาทราบโดยเร็ว
มาตรา ๑๖ ในการดําเนินการตามที่ไดรับมอบหมายตามมาตรา  ๑๕  ให กอ.รมน.มีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้ดวย
(๑)  ปองกัน  ปราบปราม  ระงับ  ยับยั้ง  และแกไขหรือบรรเทาเหตุการณที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่ไดรับมอบหมายตามมาตรา  ๑๕
(๒)  จัดทําแผนการดําเนินการตาม  (๑)  เสนอตอคณะกรรมการเพื่อใหความเห็นชอบ
(๓)  กํากับ ติดตาม และเรงรัดหนวยงานของรัฐและเจาหนาที่ของรัฐที่เกี่ยวของใหดําเนินการ หรือบูรณาการในการดําเนินการใหเปนไปตามแผนตาม  (๒)
(๔)  ส่ังใหเจาหนาที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมวาจะเปนภัยตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือเปนอุปสรรค ตอการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ที่กําหนด
ในการจัดทําแผนตาม  (๒)  ให  กอ.รมน.  ประชุมหารือกับสํานักงานสภาความมั่นคงแหงชาติและหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของดวย  และในการนี้ใหจัดทําแผนเผชิญเหตุในแตละสถานการณที่คาดวาจะเกิดขึ้น
ในกรณีที่มีคําส่ังตาม  (๔)  แลว ให  กอ.รมน.  แจงใหหนวยงานของรัฐที่เจาหนาที่ของรัฐผูนั้นสังกัดทราบพรอมดวยเหตุผล  และใหเจาหนาที่ของรัฐซึ่งไดรับคําส่ังใหออกจากพื้นที่ ั้ นนไปรายงานตัวยังหนวยงานของรัฐที่ตนสังกัดโดยเร็ว   ในการนี้ใหหนวยงานของรัฐเจาสังกัดดําเนินการออกคําส่ังใหเจาหนาที่ของรัฐผูนั้นพนจากตําแหนงหนาที่  หรือพนจากการปฏิบัติหนาที่ในพื้นที่ตามที่กําหนดไวในคําส่ังดังกลาว
เพื่อประโยชนในการปฏิบัติการตามอํานาจหนาที่ตามวรรคหนึ่ง  ถามีความจําเปนที่  กอ.รมน. ตองใชอํานาจหรือหนาที่ตามกฎหมายใดที่อยูในอํานาจหนาที่หรือความรับผิดชอบของหนวยงานของรัฐใดใหคณะรัฐมนตรีมีอํานาจแตงตั้งผูดํารงตําแหนงใด ๆ  ใน กอ.รมน.เปนเจาพนักงานหรือพนักงานเจาหนาที่ตามกฎหมายนั้น  หรือมีมติใหหนวยงานของรัฐนั้นมอบอํานาจหนาที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายในเรื่องดังกลาว  ให  กอ.รมน.  ดําเนินการแทนหรือมีอํานาจดําเนินการดวยภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กําหนด  ทั้งนี้ ตองกําหนดหลักเกณฑและเงื่อนไขในการใชอํานาจนั้นไวดวย
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีความจําเปนเพื่อแกไขปญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรใหเปนไปตามอํานาจหนาที่ในมาตรา  ๑๖  ในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  
ใหผูอํานวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจจัดตั้งศูนยอํานวยการหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นเพื่อปฏิบัติภารกิจอยางหนึ่งอยางใดหรือหลายอยางเปนการเฉพาะก็ได
โครงสราง  อัตรากําลัง  การบริหารจัดการ  อํานาจหนาที่ การกํากับติดตามหรือ บังคับบัญชา
ศูนยอํานวยการหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นตามวรรคหนึ่ง  ใหเป็นไปตามที่ผูอํานวยการโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการกําหนด  โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใหนําความในมาตรา  ๙   มาใชบังคับกับศูนยหรือหนวยงานตามวรรคหนึ่งดวยโดยอนุโลม  โดยใหอํานาจของผูอํานวยการเปนอํานาจของผูอํานวยการศูนยหรือหัวหนาหนวยงานนั้น
มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชนในการปองกัน  ปราบปราม  ระงับ  ยับยั้ง  และแกไขหรือบรรเทาเหตุการณภายในพื้นที่ตามมาตรา  ๑๕  ใหผูอํานวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอํานาจออกขอกําหนดดังตอไปนี้
(๑)  ใหเจาหนาที่ของรัฐที่เกี่ยวของปฏิบัติการหรืองดเวนการปฏิบัติการอยางหนึ่งอยางใด
(๒)  หามเขาหรือใหออกจากบริเวณพื้นที่  อาคาร  หรือสถานที่ที่กําหนดในหวงเวลาที่ปฏิบัติการ  เวนแตไดรับอนุญาตจากพนักงานเจาหนาที่  หรือเปนบุคคลซึ่งไดรับการยกเวน
(๓)  หามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กําหนด
(๔)  หามนําอาวุธออกนอกเคหสถาน
(๕)  หามการใชเสนทางคมนาคมหรือการใชยานพาหนะ  หรือกําหนดเงื่อนไขการใชเสนทางคมนาคมหรือการใชยานพาหนะ
(๖)  ใหบุคคลปฏิบัติหรืองดเวนการปฏิบัติอยางหนึ่งอยางใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณอิเล็กทรอนิกส  เพื่อปองกันอันตรายที่จะเกิดแกชีวิต  รางกาย  หรือทรัพยสินของประชาชน
ขอกําหนดตามวรรคหนึ่งจะกําหนดหลักเกณฑ เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดไวดวยก็ได 
ทั้งนี้  การกําหนดดังกลาวตองไมกอความเดือดรอนแกประชาชนเกินสมควรแกเหตุ
มาตรา ๑๙ ในการดําเนินการตามอํานาจหนาที่ตามมาตรา  ๑๖  (๑)  ใหผูอํานวยการและพนักงานเจาหนาที่ที่ผูอํานวยการมอบหมาย  เปนพนักงานฝายปกครองหรือ ตํารวจชั้นผูใหญและรวมเปนพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิีธพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๐ ในการใชอํานาจของ  กอ.รมน.  ตามมาตรา  ๑๖  (๑)  ถากอใหเกิดความเสียหายแกประชาชนผูสุจริต  ให  กอ.รมน. จัดใหผูนั้นไดรับการชดเชยคาเสียหายตามควรแกกรณีตามหลักเกณฑและเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๒๑ ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให  กอ.รมน. ดําเนินการตามมาตรา  ๑๕ 
หากปรากฏวาผูใดตองหาวาไดกระทําความผิดอันมีผลกระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่
คณะรัฐมนตรีกําหนด  แตกลับใจเขามอบตัวตอพนักงานเจาหนาที่หรือเปนกรณีที่พนักงานสอบสวนไดดําเนินการสอบสวนแลวปรากฏวาผูนั้นไดกระทําไปเพราะหลงผิดหรือรูเทาไมถึงการณและการเปด
โอกาสใหผูนั้นกลับตัวจะเปนประโยชนตอการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  ในการนี้ใหพนักงานสอบสวนสงสํานวนการสอบสวนของผูตองหานั้น พรอมทั้งความเห็นของพนักงานสอบสวนไปใหผูอํานวยการ
ในกรณีที่ผูอํานวยการเห็น ดวยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนใหสงสํานวนพรอมความเห็นของผูอํานวยการใหพนักงานอัยการเพื่อยื่นคํารองตอศาล  หากเห็นสมควรศาลอาจส่ังใหสงผูตองหานั้น ใหผูอํานวยการเพื่อเขารับการอบรม  ณ   สถานที่ที่กําหนดเปนเวลาไมเกินหกเดือน และปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาลกําหนดดวยก็ได
การดําเนินการตามวรรคสอง  ใหศาลส่ังไดตอเมื่อผูตองหานั้นยินยอมเขารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกลาว
เมื่อผูตองหาไดเขารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกําหนดดังกลาวแลว สิทธินําคดีอาญามาฟองผูตองหานั้นเปนอันระงับไป
มาตรา ๒๒ พนักงานเจาหนาที่ซึ่งปฏิบัติหนาที่ภายในพื้นทีที่กําหนดตามมาตรา ๑๕   อาจไดรับคาตอบแทนพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
พนักงานเจาหนาที่ตามวรรคหนึ่งผูใดเจ็บปวย เสียชีิวต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหนาที่  ใหไดรับสิทธิประโยชนอื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมายกําหนด  ทั้งนี้  ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๒๓ บรรดาขอกําหนด ประกาศ คําสั่ง หรือการกระทําตามหมวดนี้ไมอยูในบังคับของกฎหมายวาดวย วิีธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การดําเนินคดีใด ๆ  อันเนื่องมาจากขอกําหนด  ประกาศ  คําส่ัง  หรือการกระทําตามหมวดนี้ ใหอยูในอํานาจของศาลยุติธรรม  ทั้งนี้  ในกรณีที่ศาลจะตองพิจารณาเพื่อใชมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวกอนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา   แลวแตกรณี  ใหศาลเรียกเจาพนักงานหรือพนักงานเจาหนาที่ซึ่งออกขอกําหนด  ประกาศ  หรือคําส่ัง หรือกระทําการนั้น  มาเพื่อชี้แจงขอเท็จจริง  รายงาน   หรือแสดงเหตุผล เพื่อประกอบการพิจารณาส่ังใชมาตรการหรือวิีธการชั่วคราวดังกลาวดวย

หมวด  ๓
บทกําหนดโทษ

มาตรา ๒๔ ผูใดฝาฝนขอกําหนดที่ออกตามมาตรา  ๑๘  (๒)  (๓)  (๔)  (๕)    หรือ  (๖)   ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหนึ่งป  หรือปรับไมเกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๒๕ ใหโอนบรรดากิจการ   ทรัพยสิน   งบประมาณ   หนี้  สิทธิ  ขาราชการ  พนักงาน  ลูกจาง  และอัตรากําลังของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในตามคําส่ังสํานักนายกรัฐมนตรี   ที่  ๒๐๕/๒๕๔๙  เรื่อง  ก ารจัดตั้งกองอํานวยการรัก ษาความมั่นคงภายใน   ลงวันที่   ๓๐  ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙  มาเปนของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๖ ใหศูนยอํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต  และกองบัญชาการผสมพลเรือน  ตํารวจ ทหาร  ที่จัดตั้งขึ้นตามคําส่ังสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๗/๒๕๔๙ เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต  ลงวันที่  ๓๐  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙    เปนศูนยอํานวยการหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา  ๑๗  แหงพระราชบัญญัตินี้

ผูรับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก  สุรยุทธ  จุลานนท
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ  :-  เหตุผลในการประกาศใชพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง
จากบุคคลหรือกลุมบุคคลที่มีหลากหลาย  มีความรุนแรง  รวดเร็ว  สามารถขยายตัวจนสงผลกระทบเปน วงกวาง  และมีความสลับซับซอน  จนอาจกระทบตอเอกราชและบูรณภาพแหงอาณาเขต  กอใหเกิดความ
ไมสงบเรียบรอยในประเทศ  และเปนภยันตรายตอความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น เพื่อใหสามารถปองกัน 
และระงับภัยที่เกิดขึ้นไดอยางทันทวงที  จึงสมควรกําหนดใหมีหนวยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบ
ดําเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  ตลอดจนบูรณาการ และประสานการปฏิบัติรวมกับทุกสวนราชการ  สง เสริมใหประชาชนเขามามีสวนรวมในการปองกันและรักษาความมั่นคง  รวมทั้งเสริมสรางความเขมแข็งในทองถิ่นของตน  เพื่อปองกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแตในยามปกติ  และในยามที่เกิดสถานการณอันเปนภัยตอความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  และกําหนดใหมีมาตรการและกลไกควบคุมการใชอํานาจ    เปนการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ  เพื่อใหสามารถแกไขสถานการณไดอยางมีประสิทธิภาพและเปนเอกภาพ จึงจําเปนตองตราพระราชบัญญัตินี้


ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการปฎิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
พ.ศ.๒๕๔๔

---------------------------

            โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฎิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา เนื่องจากบัดนี้มีการโอนกรมตำรวจจากกระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับตำรวจ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และวิธีพิจารณาความอาญาใหม่แล้ว ประกอบกับข้อตกลงบางข้อไม่สอดคล้องกับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมในเวลาปกติอันมิใช่ภาวะสงคราม จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และกฎหมายโดยเฉพาะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งควรกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติให้ชัดเจน สะดวกต่อผู้ปฏิบัติและสามารถดำเนินการได้รวดเร็วไม่เสียหายต่อรูปคดีโดยคำนึงถึงหลักความสามัคคีปรองดอง และหลักการประสานงานระหว่างตำรวจ ทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองในการร่วมมือและอำนวยความสะดวก เพื่อป้องปราม ป้องกัน หรือระงับเหตุวิวาทมิให้ลุกลามต่อไป อันจะช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ประการหนึ่ง ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงแบบธรรมเนียมของแต่ละฝ่าย ตลอดจนความจำเป็นขององค์กรในการดูแลรักษาสถานที่ ยานพาหนะ และอาวุธยุทโธปกรณ์ของของตนให้ปลอดภัย และปกครองดูแลบุคลากรให้อยู่ในวินัยและได้รับการปฎิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นธรรมตามควรแก่กรณี แต่ทั้งนี้ต้องมิให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือฝ่าฝืนกฎหมายที่มีเพื่อคุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยเสมอกัน อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
            ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ “
            ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
            ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
                  ๓.๑ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. ๒๔๙๘
                  ๓.๒ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ ( ฉบับที่ ๑ ) พ.ศ.๒๕๐๗
                  ๓.๓ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการ ปฎิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. ๒๔๙๘ ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๑๒
                  ๓.๔ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการ ปฎิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. ๒๔๙๘ ( ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๑๘
                  ๓.๕ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการ ปฎิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ ( ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๒๕
                  บรรดาข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
            ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
            “ เขตที่ตั้งทหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณซึ่งมีหน่วยทหารตั้งอยู่
            “ คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
            “ ตำรวจ” หมายความว่า ข้าราชการตำรวจตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
            “ ทหาร” หมายความว่า ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
            “ พนักงานฝ่ายปกครอง” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งมิใช่ตำรวจและทหาร แต่มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฏหมายอื่น
            “ สิ่งสื่อสาร” หมายความรวมถึง จดหมาย โทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร โทรพิมพ์ วิทยุ และการติดต่อสื่อสารส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด
            ข้อ ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงาน
กรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา

            ข้อ ๖ องค์ประกอบของคณะกรรมการ
            ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
                ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ
                ๒. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ
                ๓. ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
                ๔. ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
                ๕. ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ
                ๖. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือ ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมอบหมาย เป็นกรรมการ
                ๗. รองอัยการสูงสุดคนหนึ่งตามที่อัยการสูงสุดมอบหมาย เป็นกรรมการ
                ๘. ข้าราชการตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไปคนหนึ่งตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการ
                ๙. อธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการ
                ๑๐.เจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
            ข้อ ๗. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
            คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                ๑. วางมาตราการป้องกัน แก้ไข วินิจฉัย สั่งการหรือให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้เสียหายที่ร้องเรียนเมื่อมีปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการใช้ระเบียบนี้ในกรณีที่เห็นว่าปัญหาใดเป็นเรื่องสำคัญอันควรได้รับคำวินิจฉัยหรือสั่งการให้มีผลเป็นการทั่วไปให้เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
                ๒. ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบของหนังสือ ขั้นตอนหรือรายละเอียดในการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา ตลอดจนข้อกำหนดว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และตำรวจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ข้อกำหนดดังกล่าวให้มีผลเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                ๓. เสนอนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฏ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
                ๔. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายให้บุคคลใดช่วยในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
            บุคคลใดเห็นว่าตนหรือสมาชิกในครอบครัวของตนได้รับความเสียหายหรือความไม่เป็นธรรม เนื่องจากการที่ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ อ้างการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือละเลยการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายเพื่อแนะนำ วินิจฉัยหรือสั่งการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒
การประสานงานระหว่างทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
            ข้อ ๘ การประสานงานก่อนเกิดเหตุ
            ให้ผู้บังคับบัญชาของทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีความสามัคคีระหว่างกัน และพยายามป้องกันหรือระงับความขัดแย้งเพื่อมิให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณนอกเขตที่ตั้งทหารในการนี้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจขอให้ฝ่ายทหารจัดส่งสารวัตรทหารหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไปร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในบางสถานที่หรือบางโอกาสเพื่อป้องปรามหรือป้องกันเหตุร้ายได้ตามความจำเป็น
            ข้อ ๙ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจขอความร่วมมือจากทหาร
            ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจสืบทราบว่าทหารจะกระทำความผิดอาญา ใช้อิทธิพลในทางมิชอบ ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนหรือจะมีการก่อเหตุวิวาทนอกเขตที่ตั้งทหารไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยฝ่ายทหารทั้งหมดหรือมีทหารร่วมอยู่ด้วย ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตักเตือนห้ามปรามไปตามอำนาจหน้าที่ถ้าเกรงว่าจะไม่เป็นผลให้แจ้งเหตุแก่ฝ่ายทหารโดยด่วนเพื่อขอความร่วมมือในการสอดส่องตรวจตรา ระงับยับยั้งหรือป้องกันมิให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้น
เมื่อมีการร้องขอหรือแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ฝ่ายทหารให้ความร่วมมือตามความจำเป็น ทั้งนี้ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุต้องสวมเครื่องแบบ ส่วนจะนำอาวุธไปด้วยหรือไม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นหัวหน้าหน่วยของฝ่ายนั้น ๆ แต่มิให้ใช้อาวุธ เว้นแต่จะมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หัวหน้าชุดของแต่ละฝ่ายที่จะควบคุมไปต้องเป็นข้าราชการ นายทหาร หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ห้ามมิให้ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มิได้รับคำสั่ง ไปยังสถานที่นั้นเองเป็นอันขาด
            ข้อ ๑๐ ทหารขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เมื่อฝ่ายทหารจับกุมตัวทหารที่ถูกหาว่ากระทำผิดวินัยทหารหรือกระทำความผิดอาญาได้ และประสงค์จะใช้สถานที่ สิ่งสื่อสาร หรือยานพาหนะของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เพื่อการสอบสวนหรือดำเนินการในส่วนของทหาร ให้ขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ตามความจำเป็น
            ข้อ ๑๑ หน่วยประสานงาน
            การร้องขอ การขอความร่วมมือหรือการแจ้งเหตุใด ๆ ต่อฝ่ายทหาร ตามระเบียบนี้ นอกจากการประสานงานกับผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของทหารผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยทหารใน
เขตที่ตั้งทหารซึ่งใกล้ที่สุดกับบริเวณที่เกิดเหตุหรือเชื่อว่าจะเกิดเหตุโดยใช้สิ่งสื่อสารแล้ว พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจประสานโดยใช้สิ่งสื่อสารกับหน่วยทหารอื่นในพื้นที่ได้ตามความจำเป็น
            ข้อ ๑๒ การรายงานคดี
            ในกรณีที่นายทหารสัญญาบัตรประจำการหรือข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่ความผิดลหุโทษ ความผิดประเภทที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ หรือคดีที่เสร็จสิ้นหรือระงับไปในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว ให้พนักงานสอบสวนรายงานคดีตามลำดับถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายเพื่อแจ้งให้กระทรวงกลาโหมทราบ
หมวด ๓
การจับกุม การควบคุมและการรับตัวทหารไปควบคุม
            ข้อ ๑๓ การจับกุมทหาร
            ในกรณีมีคำสั่งหรือหมายของศาลให้จับทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบในโอกาสแรก เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่กฎหมายให้จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าทหารผู้นั้นจะหลบหนีการจับกุมตามหมาย
ในการจับกุมทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ทหารผู้นั้นไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หากไม่ยอมไป ขัดขวางหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี ให้จับกุมได้ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๗ โดยอาจร้องขอให้สารวัตรทหารช่วยควบคุมตัวผู้นั้นไปส่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ หากทหารมีจำนวนมาก ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบโดยเร็วเพื่อมาช่วยระงับเหตุและร่วมมือในการจับกุมทหารผู้กระทำผิดไปดำเนินคดี
ในการจับกุมตามวรรคหนึ่ง หากทหารผู้นั้นสวมเครื่องแบบอยู่ให้ปฏิบัติตาม ข้อ ๑๔ โดยอนุโลม และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องพันธนาการ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และมิให้ใช้อาวุธระหว่างการจับกุมโดยไม่จำเป็น
            ถ้าเป็นกรณีทหารและตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองกำลังก่อการวิวาทกัน ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาของแต่ละฝ่ายทราบทันที และให้ผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องรีบออกไประงับเหตุโดยเร็ว ส่วนการดำเนินการขั้นต่อไปให้ปฏิบัติตามความในวรรคก่อน
            ข้อ ๑๔ การควบคุมตัวทหาร
            การควบคุมตัวทหารที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาและถูกจับกุมตัวไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าทหารที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวสวมเครื่องแบบ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินการดังนี้
                  ( ๑ ) แนะนำให้ทหารผู้นั้นทราบถึงเกียรติของเครื่องแบบทหารและขอให้พิจารณาว่าจะถอดเครื่องแบบหรือไม่
                  ( ๒ ) ถ้าทหารไม่ยอมถอดเครื่องแบบ ให้แจ้งฝ่ายทหารทราบ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมาแนะนำให้ทหารถอดเครื่องแบบแล้วดำเนินการตามวรรคแรก หากฝ่ายทหารไม่มาภายในระยะเวลาอันสมควรหรือระยะเวลาที่กำหนด หรือดำเนินการใด ๆ แล้วไม่เป็นผล ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจปฏิบัติตามวรรคแรกได้ และบันทึกเหตุผลไว้ แล้วแจ้งเหตุนั้นให้ฝ่ายทหารทราบ
            ข้อ ๑๕ การปล่อยชั่วคราว
            การปล่อยชั่วคราวหรือการพิจารณาคำขอประกันทหารผู้ต้องหาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๙ ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาและระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการนี้เช่นเดียวกับผู้ต้องหาทั่วไป
            ข้อ ๑๖ การรับตัวทหาร
            เมื่อควบคุมตัวทหารไว้ตามข้อ ๑๔ แล้ว ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งการจับกุมให้ฝ่ายทหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบทางสิ่งสื่อสารหรือหนังสือโดยไม่ชักช้า และให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
                  ( ๑ ) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าไม่ประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหานั้นไปหรือไม่มาขอรับตัวภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวและดำเนินการไปตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ฝ่ายทหารอาจแจ้งขอรับตัวมาภายหลังจากนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ดำเนินการตาม
                  ( ๒) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหาไปจากพนักงานสอบสวนก็ให้นำหนังสือขอรับตัวผู้ต้องหามาแสดงต่อพนักงานสอบสวน ในกรณีนี้ให้พนักงานสอบสวนทำหนังสือส่งมอบตัว และให้บันทึกเป็นหลักฐานรวมเข้าสำนวนไว้ พร้อมกับลงบันทึกในรายงานประจำวันด้วย
                  ( ๓ ) หากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่ามีความจำเป็นในทางคดีที่จะต้องนำตัวทหารไปดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมพยานหลักฐานนอกจากการสอบปากคำ เช่น การนำชี้สถานที่เกิดเหตุ การชี้ตัว การทำแผนประทุษกรรมอาจขอดำเนินการก่อนที่จะส่งมอบตัวทหารผู้ต้องหาให้ฝ่ายทหารรับตัวไปก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้ต้องหาต้องการให้ฝ่ายทหาร ทนายความ หรือผู้อื่นซึ่งตนไว้วางใจอยู่ในสถานที่นั้นด้วยก็ให้อนุญาตตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๔๑ และมาตรา ๒๔๒
หนังสือขอรับตัวและหนังสือส่งมอบตัวผู้ต้องหาตามข้อนี้ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ในการรับตัวทหารไปจากพนักงานสอบสวน หากพนักงานสอบสวนเห็นควรให้ฝ่ายทหารควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อประโยชน์ทางคดี ก็ให้แจ้งเป็นหนังสือและให้ฝ่ายทหารดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
การรับตัวทหารที่ได้รับบาดเจ็บและถูกควบคุมตัวไว้ ณ สถานพยาบาลให้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแต่ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
หมวด ๔
การตรวจค้น
            ข้อ ๑๗ การตรวจค้นตัวบุคคล
            การตรวจค้นตัวทหาร ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
            ข้อ ๑๘ การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐาน
            การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานของทหารที่ไม่เกี่ยวกับราชการทหารให้เป็นไปตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๘
การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานอันเป็นเขตที่ตั้งทหารหรือของทางราชการ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามวรรคก่อนแล้ว ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจค้นแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบเขตที่ตั้งทหารนั้นส่งผู้แทนไปอยู่ในการตรวจค้นด้วย
            ข้อ ๑๙ การตรวจค้นยานพาหนะ
            การตรวจค้นยานพาหนะของทหารไม่ว่าจะเป็นของส่วนตัวหรือทางราชการทหารหรือการค้นตัวทหารที่อยู่ในยานพาหนะนั้นไม่ว่าจะสวมเครื่องแบบหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญและให้ทหารผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมยานพาหนะให้ความร่วมมือและความสะดวกจนกว่าการตรวจค้นจะเสร็จสิ้น
            การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหาร เช่น รถสงคราม เครื่องบิน เรือซึ่งชักธงราชนาวี ขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรควบคุมยานพาหนะนั้นมา ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นจะตรวจค้นได้ต่อเมื่อมีหนังสืออนุมัติจากผู้บังคับบัญชายานพาหนะนั้น ๆ ตั้งแต่ชั้นผู้บัญชาการกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป
            การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหารอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธพึงเสียเปรียบ ให้งดการตรวจค้น
            ข้อ ๒๐ การตรวจค้นสิ่งของราชการลับ
            ในการตรวจค้น ถ้าได้รับแจ้งจากฝ่ายทหารว่าสิ่งของใดเป็นราชการลับทางทหาร ให้ดำเนินการดังนี้
                  ( ๑ ) เมื่อนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทำหนังสือรับรองกำกับสิ่งของนั้นและแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทราบให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นงดเว้นการตรวจเฉพาะสิ่งของดังกล่าว แล้วทำบันทึกเหตุงดเว้นการตรวจค้น พร้อมทั้งลงชื่อรับรองทุกฝ่ายแล้วรีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
                  (๒ ) ถ้าผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าสถานีตำรวจขึ้นไปยังติดใจสงสัยที่จะตรวจค้น ให้ทำเครื่องหมายลงชื่อทุกฝ่ายปิดผนึกหรือกำกับไว้ที่หีบห่อหรือภาชนะบรรจุสิ่งของนั้นแล้วจัดส่งสิ่งของนั้นไปยังสถานที่ปลายทางตามที่ตกลงกัน เพื่อร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดตรวจสิ่งของนั้นต่อไป
            ถ้าสิ่งของใดอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตรวจค้นหรือก่อให้เกิดความเสียหายอันจะทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของราชการลับหรือไม่ก็ตาม ให้ดำเนินการตามวรรคก่อนโดยอนุโลม
            การตรวจค้นสิ่งของใดอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธพึงเสียเปรียบให้งดการตรวจค้น
            ข้อ ๒๑ การประสานการตรวจค้น
            ในการตรวจค้นตัวบุคคล สถานที่และที่รโหฐาน ยานพาหนะหรือสิ่งของตามหมวดนี้ ให้กระทำในเวลาและสถานที่อันสมควร โดยใช้ความสุภาพนุ่มนวลตามสมควรแก่กรณี ถ้ามีสารวัตรทหารอยู่ ณ สถานที่หรือบริเวณที่จะตรวจค้น ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นประสาน โดยขอสารวัตรทหารมาร่วมเป็นพยานในการตรวจค้นด้วย แต่ถ้าไม่มีหรือมีแต่สารวัตรทหารไม่ยินยอมร่วมเป็นพยานก็ให้บันทึกไว้ และเมื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นดำเนินการเสร็จแล้ว ให้ทำบันทึกพร้อมกับให้ทุกฝ่ายลงชื่อรับรองและต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ
หมวด ๕
การสอบสวน
            ข้อ ๒๒ การสอบสวนคดีทหาร
            ฝ่ายทหารจะทำการสอบสวนการกระทำความผิดของทหารตามกฏหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
                   ( ๑ ) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
                   ( ๒ ) คดีที่ผู้กระทำผิดและผู้เสียหายต่างอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยกัน ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเขตที่ตั้งทหารหรือไม่ก็ตาม
                   ( ๓ ) คดีอาญาที่เกี่ยวด้วยวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
                   ( ๔ ) คดีอาญาที่เกี่ยวด้วยความลับของทางราชการทหาร
            ในกรณีที่ฝ่ายทหารร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยลำพังหรือร่วมกับฝ่ายทหารหรือช่วยดำเนินการอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานเช่น การสืบสวน การค้นหรือการจับกุม ให้พนักงานสอบสวนให้ความรวมมือตามที่ฝ่ายทหารร้องขอ
            คดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้ก่อนแล้ว หรือได้ประสบเหตุและมีความจำเป็นต้องสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ ถ้าฝ่ายทหารขอรับตัวทหารผู้ต้องหาไปดำเนินการ ให้มอบตัวและสำนวนการสอบสวนให้ไป แต่ถ้าฝ่ายทหารไม่มารับตัวและไม่แจ้งข้อขัดข้องให้ทราบ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไปได้จนเสร็จสิ้น
            ข้อ ๒๓ การสอบสวนคดีอาญา
            ในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบ แล้วดำเนินการสอบสวนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ต้องหาทราบ ดังนี้
                   ( ๑ ) สิทธิที่จะขอประกันตัวตามมาตรา ๒๓๙
                   ( ๒ ) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙
                   ( ๓ ) สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควรในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙
                   ( ๔ ) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรมตามมาตรา ๒๔๑
                   ( ๕ ) สิทธิที่จะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เช่น นายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตร เข้าฟังการสอบปากคำของตนได้ตามมาตรา ๒๔๑
                   ( ๖ ) สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนตามหลักเกณฑ์ของกฏหมาย เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วตามมาตรา ๒๔๑
                   ( ๗ ) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ตามหลักเกณฑ์ของกฏหมายตามมาตรา ๒๔๒
                  ( ๘ ) สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญาตามมาตรา ๒๔๓
                  (๙ ) สิทธิที่จะได้รับการเตือนว่าถ้อยคำซึ่งเกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ถูกทรมาน ใช้กำลังบังคับหรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา ๒๔๓
            ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าทหารผู้ต้องหาได้กระทำหรือจะกระทำความผิดตามประมวลกฏหมายอาญาทหารหรือกฏหมายว่าด้วยวินัยทหารด้วย ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหาอาจส่งนายทหารพระธรรมนูญหรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรอื่นใดเข้าฟังการสอบปากคำทหารผู้ต้องหาก็ได้
            ให้นำข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ มาใช้กับการควบคุมตัวและการปล่อยชั่วคราวทหารผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงกำหนดเวลาควบคุมตัวตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ในกรณีที่ฝ่ายทหารเห็นว่าการสอบสวนล่าช้า จะขอให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดหรือชี้แจงเหตุผลก็ได้
            ข้อ ๒๔ คดีในอำนาจศาลแขวงและคดีที่เปรียบเทียบ
            ถ้าทหารผู้ต้องหาคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง โดยแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบการจับกุมและการฟ้องคดีด้วย
            ถ้าคดีอาญาที่ทหารต้องหาว่ากระทำความผิดนั้นอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะเปรียบเทียบได้ตามกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ก็ตาม และทหารผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบได้ ให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบตามอำนาจหน้าที่ ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ ก็ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการหรืออัยการทหารเพื่อดำเนินการต่อไป
            ข้อ ๒๕ การสอบสวนกรณีทหารและตำรวจก่อการวิวาทกัน
            ในกรณีที่ทหารและตำรวจก่อการวิวาทกันไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นร่วมกระทำความผิดหรือได้รับความเสียหายด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ฝ่ายตำรวจรายงานตามลำดับชั้นถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหากเหตุเกิดในกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หากเหตุเกิดในจังหวัดอื่น เพื่อให้แต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันระหว่างฝ่ายตำรวจกับฝ่ายทหารมีจำนวนตามความจำเป็นแห่งรูปคดี โดยให้แต่ละฝ่ายมีจำนวนเท่ากัน เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจสั่งคดีไปตามอำนาจหน้าที่ประกอบกับผลการสอบสวนนั้น แต่ถ้าความเห็นของคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันของฝ่ายตำรวจไม่ตรงกับฝ่ายทหาร ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีความเห็นทางคดีแล้วส่งสำนวนให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป
            หากพนักงานสอบสวนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มาร่วมการสอบสวนตามกำหนดนัด ให้คณะพนักงานสอบสวนร่วมกันเท่าที่มีอยู่ดำเนินการสอบสวนต่อไปจนแล้วเสร็จเพื่อมิให้การสอบสวน ล่าช้าจนเกิดความเสียหายหรือเป็นผลให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นาน ทั้งนี้ให้บันทึกการที่ฝ่ายใดไม่มาร่วมทำการสอบสวนติดสำนวนไว้ด้วย
            ในระหว่างรอการแต่งตั้งหรือรอการประชุมคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นก่อนได้ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อมิให้เสียหายแก่รูปคดีหรือเพื่อประโยชน์แก่ความเที่ยงธรรมของคดี
            ข้อ ๒๖ การชันสูตรพลิกศพ
            ในกรณีที่ทหารตายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ให้จัดให้มีการสอบสวนและชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารหรือหน่วยทหารตามข้อ ๑๑ ทราบเพื่อส่งนายทหารสัญญาบัตรเข้าฟังการสอบสวนและร่วมสังเกตการชันสูตรพลิกศพด้วย
หมวด ๖
การส่งสำนวนการสอบสวน
            ข้อ ๒๗ การส่งสำนวนและผู้ต้องหาให้อัยการ
            เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นลง ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้
                  ( ๑ ) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฏหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป ส่วนผู้ต้องหานั้น ถ้าได้มอบตัวให้ผู้บังคับบัญชารับไปควบคุมไว้ก่อนแล้วตามข้อ ๑๖ ก็อาจไม่ต้องขอรับตัวมาดำเนินการอีก แต่ให้บันทึกและแจ้งให้อัยการทหารทราบว่าได้มอบตัวผู้ต้องหาให้ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรับตัวไปแล้วตั้งแต่เมื่อใด
                  ( ๒ ) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งตัวทหารผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป การส่งตัวทหารผู้ต้องที่อยู่ในการควบคุมของผู้บังคับบัญชา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อส่งตัวทหารผู้นั้นมายังพนักงานสอบสวนตามสถานที่และเวลาที่กำหนดเพื่อส่งให้พนักงานอัยการพร้อมกับสำนวน
ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งฟ้องไม่ทันในวันนั้น หากมิได้มีการสั่งให้ปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานอัยการมอบตัวผู้ต้องหาให้อยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนสำหรับในกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ฝากตัวผู้ต้องหาให้เรือนจำควบคุมไว้
            ข้อ ๒๘ การส่งสำนวนให้อัยการทหาร
            ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหาร เพื่อดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารต่อไป ในกรณีดังต่อไปนี้
                  ( ๑ ) คดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้และเปรียบเทียบเสร็จแล้วหรือทหารผู้ต้องหาไม่ยอมให้เปรียบเทียบตามข้อ ๒๔ วรรคสอง
                  ( ๒ ) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและยังจับตัวทหารผู้ต้องหาไม่ได้
                  ( ๓ ) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและจับตัวทหารผู้ต้องหาได้แต่หลักฐานไม่พอฟ้องหรือพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
                  ( ๔ ) กรณีมีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของฝ่ายทหารซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่
                  ( ๕ ) กรณีที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีทหารตามที่ฝ่ายทหารร้องขอตามข้อ ๒๒ วรรคสอง เสร็จสิ้นแล้ว
            ในกรณีที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับคดีที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพ เมื่อพนักงานสอบสวนชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสร็จแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนฝ่ายทหารตามที่ได้รับการร้องขอ
            ข้อ ๒๙ การแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน
            ในคดีอาญาซึ่งทหารเป็นผู้ต้องหาและอยู่ในอำนาจศาลบยุติธรรมให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน ดังนี้
                  ( ๑ ) เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนหรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้องแจ้งความเห็นทางคดีชั้นสอบสวนไปยังฝ่ายทหาร
                  ( ๒ ) เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องหรือมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วให้พนักงานอัยการแจ้งการแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังฝ่ายทหาร
                  ( ๓ ) เมื่อศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาประการใด ให้พนักงานอัยการแจ้งคำพิพากษาของทุกชั้นศาลไปยังฝ่ายทหาร
                  ( ๔ ) ในกรณีที่ทหารผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและฝ่ายทหารที่ได้รับแจ้งต้องการที่จะรับตัวทหารผู้กระทำผิดนั้นเมื่อพ้นโทษ ให้แจ้งการอายัดตัวให้ผู้บัญชาการเรือนจำที่ทหารผู้กระทำผิดนั้นต้องคุมขังอยู่ได้ทราบ และให้ผู้บัญชาการเรือนจำแจ้งให้ฝ่ายทหารที่แจ้งการอายัดคัวทราบเมื่อใกล้กำหนดวันเวลาที่จะปล่อยตัวไป
                  ( ๕ ) เมื่อจะมีการปล่อยตัวทหารผู้กระทำผิด หากมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมารับตัว ก็ให้มอบตัวไป แต่ถ้าไม่มีก็ให้ผู้ที่มีอำนาจสั่งปล่อยหรือพนักงานอัยการในกรณีที่ศาลยุติธรรมเป็นผู้สั่งปล่อย แจ้งให้ทหารผู้นั้นไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด
                  ( ๖ ) ถ้าทหารผู้นั้น ต้องหาในคดีอื่นซึ่งจะต้องนำตัวไปฟ้องยังศาลทหารอีกด้วย หรือผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารต้องการตัว ให้ฝ่ายทหารมีหนังสืออายัดตัวไว้กับพนักงานสอบสวน และให้ พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนการสอบสวนว่าทางทหารยังต้องการตัว และให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารติดต่อกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อรับตัวทหารนั้นไป
            ข้อ ๓๐ การดำเนินคดีกับบุคคลบางประเภท
            การดำเนินคดีอาญากับบุคคลบางประเภท ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
                  ( ๑ ) ในกรณีที่ทหารผู้ต้องหาว่ากระทำผิดคดีอาญาและอยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นเด็กหรือเยาวชนตามกฏหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการไปตามกฎหมายนั้นทุกประการ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหานั้นทราบ
                  ( ๒ ) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นพลเรือนในสังกัดราชการทหาร แต่การกระทำผิดคดีอาญาเกิดในขณะที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาสถานที่ราชการทหาร ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๖ มาใช้โดยอนุโลม
                  ( ๓ ) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นอาสาสมัครทหารพรานที่อยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการทหาร และการกระทำผิดคดีอาญาเกิดในขณะที่บุคคลนั้นยังสังกัดอยู้ในหน่วยอาสาสมัครทหารพราน ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๒๓ มาใช้โดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔

(ลงชื่อ) พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
( ทักษิณ ชินวัตร )
นายกรัฐมนตรี

ผนวก ก.
แนวทางปฏิบัติของกำลังพล
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
---------------------------
             เมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจค้น
                   ๑. เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจค้นทหารได้ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือมีไว้เป็นความผิด
                   ๒. การตรวจค้นทหารตามข้อ ๑ ให้กระทำในเวลาและสถานที่อันควร ทหารผู้ถูกตรวจค้นควรร้องขอ สห.หรือบุคคลอื่นในสถานที่นั้นเป็นพยานเมื่อถูกตรวจค้น
                   ๓. การตรวจค้นตัวทหารต้องกระทำโดยสุภาพ ถ้าค้นตัวทหารหญิงต้องใช้ผู้หญิงเป็นผู้ค้น
                   ๔. การตรวจค้นสถานที่ ต้องมีหมายศาลและให้เจ้าพนักงานแสดงหมายและแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อนทำการตรวจค้น
                   ๕. การตรวจค้นสถานที่โดยไม่ต้องมีหมายศาลตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อเสียร้องให้ช่วยจากข้างในสถานที่นั้น หรือปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำข้างในสถานที่นั้น หรือผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าหนีเข้าซุกซ่อนตัวในสถานที่นั้น หรือมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำความผิดซ่อนอยู่ในสถานที่นั้น หากเนิ่นช้าจะถูกโยกย้ายเสียก่อน หรือผู้จะต้องถูกจับกุมเป็นเจ้าบ้านที่มีหมายจับ
                   ๖. การตรวจค้นสถานที่อันเป็นเขตที่ตั้งทหาร หรือของทางราชการ ต้องมีหมายศาลและให้เจ้าพนักงานแสดงหมาย หรือมีเหตุให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายศาลที่กฎหมายบัญญัติเช่นเดียวกับข้อ ๕ แล้วให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบเขตที่ตั้งทหาร ส่งผู้แทนไปอยู่ด้วยในการตรวจค้นทุกครั้ง
                   ๗. การตรวจค้นยานพาหนะ (รถทุกประเภท ยกเว้นรถสงคราม) หรือค้นตัวทหารที่อยู่ในยานพาหนะต้องกระทำโดยสุภาพ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือมีไว้เป็นความผิด
                   ๘. ผู้ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะ ต้องให้ความร่วมมือและให้ความสะดวกจนกว่าการตรวจค้นจะเสร็จสิ้น
                   ๙. การตรวจค้นยานพาหนะของทหารราชการ เช่น รถสงคราม และมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรควบคุมยานพาหนะนั่งมา เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นต้องมีหนังสืออนุมัติจาก ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป
            เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมทหาร
                   ๑. การจับกุมทหารผู้ใดต้องมีคำสั่ง หรือหมายศาลให้จับทหารนั้น
                   ๒. เมื่อคำสั่งหรือหมายศาลตามข้อ ๑ เจ้าพนักงานต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบในโอกาสแรก
                   ๓. นอกจากการจับกุมตามข้อ ๑ แล้ว ถ้าเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือพบว่ากำลังพยายามกระทำความผิด หรือมีพฤติการณ์สงสัยว่าจะกระทำความผิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี หรือจะหลบหนีการจับกุมตามหมายให้จับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมาย
                   ๔. ทหารผู้ถูกขับกุมต้องรับทราบข้อหาที่ถูกจับกุมตัวก่อน โดยขั้นต้นต้องจดจำ ยศ-ชื่อ เจ้าพนักงานผู้จับกุม และวันเวลาพฤติการณ์ รวมถึงพยานที่เห็นเหตุการณ์ด้วย
                   ๕. ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานผู้จับกุม หรือพนักงานสอบสวนว่า เป็นทหารสังกัดหน่วยใดที่ตั้ง ตำบล อำเภอ จังหวัด หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อหน่วยต้นสังกัด ผู้บังคับบัญชาชื่อ
                   ๖. ขอความร่วมมือกับบุคคลอื่นๆ ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาของทหารที่ถูกจับกุมให้ทราบว่ามีกำลังพลของหน่วยถูกจับกุมอยู่ที่ใด
                   ๗. หากมีอันตรายหรือบาดเจ็บจากการจับกุม ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาในโอกาสแรก เพื่อให้ส่งตัวไปรักษาพยาบาล
                   ๘. เมื่อทหารถูกจับกุมในขณะแต่งเครื่องแบบ เจ้าพนักงานผู้จับกุมจะบังคับให้ทหารถอดเครื่องแบบไม่ได้
                   ๙. กรณีทหารสวมเครื่องแบบต้องหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องพันธนาการ หรือใส่กุญแจมือ เว้นแต่จะหลบหนีหรือขัดขืนการจับกุม
                   ๑๐. กรณีทหารไม่สวมเครื่องแบบ ปฏิบัติเช่นกับบุคคลพลเรือนทั่วไป
           การควบคุมตัวทหาร และการปล่อยชั่วคราว
                   ๑. เจ้าพนักงานจับกุมตัวทหารมาถึงที่ทำการของเจ้าพนักงานผู้จับกุม สามารถควบคุมตัวทหารผู้ถูกจับกุม ได้เท่าที่จำเป็นแต่ได้ไม่เกิน ๓ วัน
                   ๒. ทหารผู้ต้องหา หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ยื่นคำร้องขอให้พนักงานปล่อยตัวทหารผู้ต้องหาชั่วคราวในชั้นสอบสวนได้ ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการปล่อยชั่วคราวตามที่กฎหมายบัญญัติ
                   ๓. หากฝ่ายทหารไม่ประสงค์จะขอรับตัวทหารผู้ต้องหาไปควบคุมในอำนาจฝ่ายทหารและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงหรือคดีที่เปรียบเทียบปรับได้ ถ้าทหารผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินคดีในศาลแขวง หรือเปรียบเทียบปรับตามอำนาจหน้าที่ได้
                   ๔. คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารและฝ่ายทหารไม่ประสงค์จะขอรับตัวทหารผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนสามารถควบคุมตัวทหารผู้ต้องหาได้ไม่เกิน ๓ วัน และต้องขออำนาจศาลฝากขังต่อไปได้ไม่เกิน ๗ วัน หรือ ๔๘ วัน หรือ ๘๔ วัน แล้วแต่คดีความผิด
                   ๕. เมื่อฝ่ายทหารขอรับตัวหรือได้รับตัวทหารผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน ทหารผู้ต้องหา หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำร้องต่อผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหา เพื่อขอให้ปล่อยตัวทหารผู้ต้องหาชั่วคราวในชั้นสอบสวนได้
                   ๖. ฝ่ายทหารขอรับตัวหรือได้รับตัวทหารผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวนมาควบคุมตามอำนาจฝ่ายทหาร ผู้บังคับบัญชาจะควบคุมตัวทหารผู้ต้องหารวมไม่เกิน ๙๐ วัน โดยพนักงานสอบสวนจะร้องขอให้ควบคุมตัวทหารผู้ต้องหาต่อผุ้บังคับบัญชาทหารได้ครั้งละไม่เกิน ๑๒ วัน
           การสอบสวนคดี
                   ๑. เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบแล้ว ผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใด หรือไม่เต็มใจให้การอย่างใดก็ได้
                   ๒. ก่อนที่จะดำเนินการตามข้อ ๑. ให้ทหารผู้ต้องหาแจ้งต่อพนักงานสอบสวนขอให้มี นธน. หรือนายทหารสัญญาบัตร หรือทนายความ หรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวน
                   ๓. ถ้าทหารผู้ต้องหาต้องการให้มี นธน. หรือนายทหารสัญญาบัตร หรือทนายความ หรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจอยู่ด้วยในขณะนำชี้สถานที่เกิดเหตุ, การที่ผู้เสียหายชี้ตัว, การทำแผนที่เกิดเหตุ หรือการทำแผนประทุษกรรม ก็ให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวน
                   ๔. เมื่อทหารเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญามีสิทธิ ดังนี้.-
                        ๔.๑ มีสิทธิขอประกันตัวชั่วคราว
                        ๔.๒ มีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว
                        ๔.๓ มีสิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร
                        ๔.๔ มีสิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
                        ๔.๕ มีสิทธิจะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เช่น นธน. หรือนายทหารสัญญาบัตร เข้าฟังการสอบปากคำตน
                        ๔.๖ มีสิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตน และเอกสารประกอบคำให้การของตนในชั้นสอบสวน เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว
                        ๔.๗ มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ด้วยการจัดหาทนายความให้
                        ๔.๘ มีสิทธิที่จะให้ถ่อยคำเป็นปฎิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญา
                        ๔.๙ มีสิทธิที่จะได้รับการเต์อนว่าด้วยถ่อยคำซึ่งเกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา หรือ การกระทำโดยมิชอบด้วยประการใด ๆ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
……………………………………………………….
ตรวจถูกต้อง
พ.อ. อัมพร พิทักษ์วงศ์
( อัมพร พิทักษ์วงศ์ )
ผอ.กอง กพ.ทบ.

ผนวก ข
รูปแบบบัตรติดตัวทหารกองประจำการกองทัพบก



ครุฑ
ข้อกำหนด
เกี่ยวกับแบบของหนังสือตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
พ.ศ. ๒๕๔๔
………………….
           อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗. ( ๒ ) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบของหนังสือขอรับตัวผู้ต้องหา แบบของหนังสือส่งมอบตัว และแบบของหนังสือขอให้ควบคุมตัว ( ต่อ ) ดังต่อไปนี้.-
           ข้อ ๑ ข้อกำหนดนี้เรียกว่า “ ข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบของหนังสือตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
พ.ศ. ๒๕๔๔“
           ข้อ ๒ ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
           ข้อ ๓ แบบของหนังสือขอรับตัวผู้ต้องหา ให้เป็นไปตามแบบ ๑ ท้ายข้อกำหนดนี้
           ข้อ ๔ แบบของหนังสือส่งมอบตัวผู้ต้องหา ให้เป็นไปตามแบบ ๒ ท้ายข้อกำหนดนี้
           ข้อ ๕ แบบของหนังสือขอให้ควบคุมตัว ( ต่อ ) ให้เป็นไปตามแบบ ๓ ท้ายข้อกำหนดนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
( ชวลิต ยงใจยุทธ )
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ประธานคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงาน
กรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา


( แบบ ๑ )
หนังสือขอรับตัวผู้ต้องหา
ที่ ………………………… ( หน่วยงานเจ้าของหนังสือ )
วันที่ ……………เดือน ………………………..พ.ศ…………….
                      ขอให้ ……………………………………………………………………..มอบตัวทหารผู้ต้องหา
ตามบัญชีรายชื่อท้ายหนังสือนี้ รวม ………คน ซึ่งควบคุมตัวไว้ ให้แก่ ( หน่วยที่มีอำนาจควบคุมตัว )
……………………………..ซึ่งได้แต่งตั้งให้ …………………………………ตำแหน่ง………………….
เป็นผู้รับตัวทหารผู้ต้องหาไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
( ยศ, ชื่อ )……………………………………………..
( ตำแหน่ง )……………………………..

บัญชีรายชื่อทหารผู้ต้องหาที่ขอให้มอบตัวแก่ฝ่ายทหาร
ที่
ยศ, ชื่อ นามสกุล
สังกัด
ต้องหาว่า
หมายเหตุ







( แบบ ๒ )
หนังสือส่งมอบตัวผู้ต้องหา
ที่………………. ( หน่วยงานเจ้าของหนังสือ )
วันที่ …………เดือน ………………………..พ.ศ. …………..
                      ตามที่ขอให้ ………………………………………………………………..มอบตัวทหารผู้ต้องหา
ตามบัญชีรายชื่อท้ายหนังสือนี้ไปเพื่อควบคุมตัวไว้ในระหว่างสอบสวนครั้งแรกมีกำหนด ……………วัน
ซึ่ง……………………………………………..ได้แต่งตั้งให้………………………………………………
ตำแหน่ง…………………………………………..เป็นผู้รับตัวทหารผู้ต้องหาไปเพื่อควบคุมตัวไว้แล้วนั้น
หากไม่ได้รับแจ้งตามหนังสือแบบ ๓ ถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ขอให้ควบคุมตัวทหารผู้ต้องหาต่อตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งควบคุมตัวปล่อยตัวทหารผู้ต้องหาไปทันที
ลงชื่อ…………………...……………………………….ผู้รับตัวทหาร
ลงชื่อ………………………………………………….ผู้มอบตัวทหาร
ลงชื่อ..………...………………............……………………พยาน
ลงชื่อ……………..............……………………… ……….พยาน
บัญชีรายชื่อทหารผู้ต้องหาที่มอบให้ฝ่ายทหารรับตัวไปควบคุมตัว
ที่
ยศ, ชื่อ นามสกุล
สังกัด
ต้องหาว่า
โทษสูงสุดตามข้อหา




หมายเหตุ
             ๑. หนังสือนี้ทำขึ้น ๒ ฉบับ ข้อความตรงกัน ทางฝ่ายทหารนำไปมอบให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งควบคุมตัวฉบับหนึ่ง พนักงานสอบสวนติดสำนวนไว้ฉบับหนึ่ง
             ๒. กำหนดเวลาตามกฎหมายที่ขอให้ผู้บังคับบัญชาทหารควบคุมตัวผู้ต้องหาได้มีดังนี้.-
                    ๒.๑ ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อบบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้บังคับบัญชาสั่งขังได้ครั้งเดียวมีกำหนดไม่เกินเจ็ดวัน
                    ๒.๒ ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้บังคับบัญชาสั่งขังหลายครั้งติด ๆกันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน
                    ๒.๓ ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ผู้บังคับบัญชาสั่งขังหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน
กรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งขังครบสี่สิบแปดวันแล้ว หากพนักงานสอบสวนยังมีความจำเป็นต้องให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อ ผู้บังคับบัญชาจะสั่งขังต่อไปได้ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนนำพยานหลักฐานไปแสดงให้ปรากฎเหตุแห่งความจำเป็นนั้น โดยผู้ต้องหาจะแต่งทนายเพื่อคัดค้านและซักถามพยานในวันนั้นก็ได้ เมื่อควบคุมตัวครบกำหนดสี่สิบแปดวันแล้วให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปทันที
……………………………..
( แบบ ๓ )
หนังสือขอให้ควบคุมตัว ( ต่อ )
ที่ ………………………. ( หน่วยงานเจ้าของหนังสือ )
วันที่ ……………เดือน ………………………พ.ศ. …………
เรื่อง ขอให้ควบคุมตัวต่อ ครั้งที่…….
เรียน ……………………( ผู้บังคับบัญชาทหาร )
อ้างถึง …………………………………………………………………………………………………….
สิ่งที่ส่งมาด้วย …………………………………………………………………………………………….
                    ตามที่ได้ขอให้ควบคุมตัว …………………………………………………………ทหารผู้ต้องหา
ไว้ระหว่างสอบสวนตามหนังสือ …………………………นั้น
ด้วยการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจาก………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………...
ดังปรากฏหลักฐานตามที่ส่งมาด้วย ( หรือตามที่พนักงานสอบสวนนำมาแสดงเป็นหลักฐาน ) จึงขอให้ควบคุมตัวทหารผู้ต้องหาต่อไปอีก ………………. วัน หากไม่ได้รับแจ้งถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ขอให้ควบคุมตัวทหารผู้ต้องหาต่อตามที่กำหนดไว้ในกฏหมายแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งควบคุมตัวปล่อยตัวทหารผู้ต้องหาไปทันที
ขอแสดงความนับถือ
( ลงชื่อ ) ……………………………………………..
( ตำแหน่ง ) ……………………………………..


พระราชบัญญัติ 
จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
 
พ.ศ. 2503
__________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. 
ให้ไว้ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2503
 
เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2503/19/127/15 มีนาคม 2503]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2500
บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 กระทรวงกลาโหมมีอำนาจและหนัาที่เกี่ยวกับการปัองกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ โดยจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อการรบหรือการสงคราม เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อการปราบปรามการกบฏและการจลาจล เพื่อช่วยการพัฒนาประเทศ และเพื่อรักษาประโยชน์ของชาติในประการอื่นตามที่กฏหมายกำหนด ตลอคจนดำเนินกิจการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและการพลังงานทหาร เพื่อประโยชน์ในการปัองกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรและรักษาประโยชน์ของชาติด้วย การใช้กำลังทหารเพื่อปฏิบัติการตามความในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด เว้นแต่การใช้กำลังทหารเพื่อการปราบปรามการจลาจลให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
[มาตรา 4 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 มาตรา]
ราชการกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบแบบแผน
มาตรา 5 กระทรวงกลาโหมอาจตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือบุคคลใดเพื่อกระทำการหรือพิจารณาหรือสอบสวนกรณีใด ๆ เกี่ยวกับราชการกระทรวงกลาโหม แล้วรายงานต่อกระทรวงกลาโหมได้
มาตรา 6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหม และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้
ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงกลาโหมมีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ และการปฏิบัติราชการประจำ แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด ๆ หรือมติของสภากลาโหม หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะมอบอำนาจ โดยทำเป็นหนังสือให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ ทำการแทนในนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
[มาตรา 6 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 มาตรา 4]
มาตรา 6 ทวิ อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การให้อนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการประจำ ที่ผู้บังคับบัญชาทหารไม่ว่าจะเป็นชั้นใด ซึ่งรองลงมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมายใด ๆ จะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชาทหารตำแหน่งอื่นทำการแทนในนามของผู้บังคับบัญชาทหารผู้มอบอำนาจก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 7 ในตำแหน่งประจำใด ๆ ให้ผู้รักษาราชการ ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ทำการแทน มีอำนาจและหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาราชการรักษาราชการแทน หรือทำการแทนนั้น ๆ
มาตรา 8 กระทรวงกลาโหมมีส่วนราชการ ดังนี้ 
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
 
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
 
(3) กรมราชองครักษ์
 
(4) กองบัญชาการทหารสูงสุด
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2536]
มาตรา 9 สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา 10 สำนักงานปลัดกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง มีปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนหนึ่งส่วนใดของกระทรวงซึ่งมิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการอื่นอีกด้วย
มาตรา 10 ทวิ กรมราชองครักษ์มีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยราชองครักษ์ และกฎหมายว่าด้วยนายตำรวจราชสำนัก มีสมุหราชองครักษ์เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2536]
มาตรา 11 กองบัญชาการทหารสูงสุด มีหน้าที่เตรียมกำลังรบและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา 12 กองบัญชาการทหารสูงสุดอาจตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือบุคคลใดเพื่อพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับแผนเพื่อรักษาเอกราชและประโยชน์แห่งประเทศชาติได้
มาตรา 13 กองบัญชาการทหารสูงสุดมีส่วนราชการ ดังนี้ 
(1) กองทัพบก
 
(2) กองทัพเรือ
 
(3) กองทัพอากาศ
 
(4) ส่วนราชการอื่น ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 14 กองทัพบก มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพบกและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา 15 กองทัพเรือ มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา 16 กองทัพอากาศ มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา 17 ให้สำนักงานปลัดกระทรวง กรมราชองครักษ์กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นนิติบุคคล
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2536]
มาตรา 18 การแบ่งส่วนราชการกระทรวงกลาโหมตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 และการแบ่งส่วนราชการกองบัญชาการทหารสูงสุดตามที่กำหนดไว้ใน (1) (2) และ (3) ของมาตรา 13 ออกเป็นส่วนราชการส่วนใหญ่ถัดลงไป และการกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ๆให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
การแบ่งส่วนราชการอื่น นอกจากที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน และการกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ๆ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
มาตรา 19 ให้มี "สภากลาโหม" ประกอบด้วยสมาชิกดังต่อไปนี้ 
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
 
(2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
 
(3) จเรทหารทั่วไป
 
(4) ปลัดกระทรวงกลาโหม
 
(5) รองปลัดกระทรวงกลาโหม
 
(6) สมุหราชองครักษ์
 
(7) รองสมุหราชองครักษ์ (อัตราจอมพล จอมพลเรือ หรือจอมพลอากาศ
 
(8) เสนาธิการกรมราชองครักษ์
 
(9) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
 
(10)รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
 
(11) เสนาธิการทหาร
 
(12) ผู้บัญชาการทหารบก
 
(13) รองผู้บัญชาการทหารบก
 
(14) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
 
(15) เสนาธิการทหารบก
 
(16) ผู้บัญชาการทหารเรือ
 
(17) รองผู้บัญชาการทหารเรือ
 
(18) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
 
(19) เสนาธิการทหารเรือ
 
(20) ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
 
(21) ผู้บัญชาการทหารอากาศ
 
(22) รองผู้บัญชาการทหารอากาศ
 
(23) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
 
(24) เสนาธิการทหารอากาศ
 
(25) ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ

(26)นายทหารยศชั้นนายพลขึ้นไป ผู้เคยดำรงตำแหน่ง หรือมีความดีความชอบในราชการทหารมาแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะได้แต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามนายโดยความเห็นชอบของที่ประชุมสามชิกสภากลาโหมตาม (1) ถึง (25)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเชิญบุคคลอื่นเข้าชี้แจงต่อสภากลาโหมเฉพาะเรื่องใดก็ได้
[แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 มาตรา 5]
มาตรา 19 ทวิ สมาชิกสภากลาโหมตามมาตรา 19 (26) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระ
ในกรณีสมาชิกสภากลาโหมตามมาตรา 19 (26) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาจแต่งตั้งผู้อื่นแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของสมาชิกซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
[แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 มาตรา 6]
มาตรา 19 ตรี นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ สมาชิกสภากลาโหมตามมาตรา 19 (26) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 
(1) ตาย
 
(2) ลาออก
 
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
 
(4) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
 
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(6) สมาชิกสภากลาโหมมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกสภากลาโหมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการะทำการหรือมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภากลาโหม
[แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 มาตรา 6]
มาตรา 20 ในสภากลาโหม ให้ 
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
 
(2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธาน
 
(3) ผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดเป็นเลขาธิการและรองเลขาธิการ
 ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมมากกว่าหนึ่งคน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกคำสั่งแต่งตั้งให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง รองประธานคนที่สอง และรองประธานคนที่สาม ตามลำดับ
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 20 ทวิ สภากลาโหมมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 21 ในการดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในเรื่องต่อไปนี้ ต้องเป็นไปตามมติของสภากลาโหม 
(1) นโยบายการทหารทั่วไป
 
(2) นโยบายการระดมสรรพกำลังเพื่อช่วยเหลือราชการทหาร
 
(3) นโยบายการปกครองและการบังคับบัญชาภายในกระทรวงกลาโหม
 
(4) การพิจารณางบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณของกระทรวงกลาโหม
 
(5) การพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการทหาร
 
(6) เรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนด
 [แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 22 การประชุมสภากลาโหมให้เป็นไปตามคำสั่งของประธานสภากลาโหม หรือเมื่อสมาชิกสภากลาโหมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกสภากลาโหมทั้งหมดร้องขอให้มีการประชุม
องค์ประชุมสภากลาโหมแต่ละครั้งจะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากลาโหมทั้งหมด
ประธานสภากลาโหมเป็นประธานของที่ประชุม แต่ถ้าประธานสภากลาโหมไม่อยู่ในที่ประชุมให้รองประธานสภากลาโหมเป็นประธานของที่ประชุมแทน โดยพิจารณาตามลำดับที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 20 แต่ถ้าทั้งประธานสภากลาโหมและรองประธานสภากลาโหมไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิกสภากลาโหมซึ่งอาวุโสสูงสุดตามระเบียบแบบแผนของกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่ประธานของที่ประชุมแทนต่อไปตามลำดับ
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 22 ทวิ มติของสภากลาโหมนั้น ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงกลาโหมถือปฏิบัติ
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 23 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยความเห็นชอบของสภากลาโหมมีอำนาจกำหนดพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นยุทธบริเวณและหรือเขตภายในได้
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 24 เมื่อปรากฏว่าจะมีการรบ หรือสถานะสงครามหรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยความเห็นชอบของสภากลาโหม มีอำนาจกำหนดส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ตลอดจนกำหนดอำนาจและหน้าที่ของส่วนราชการและเจ้าหน้าที่นั้น ๆ ขึ้นใหม่ได้ตามความเหมาะสม
เมื่อหมดภาวะการรบหรือสถานะสงคราม หรือเลิกใช้กฎอัยการศึก แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยความเห็นชอบของสภากลาโหมพิจารณาสั่งเลิกส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ได้กำหนดและแต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรานี้
[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528]
มาตรา 25 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส.ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ปรับปรุงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมลงไปให้แน่ชัด และจัดระเบียบการใช้กำลังทหารให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ของโลก

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2507
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกระทรวงกลาโหมได้ตั้งตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพิ่มขึ้น และเห็นสมควรให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดนี้เป็นสมาชิกสภากลาโหมด้วย แต่ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้มิได้มีระบุไว้ให้ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นสมาชิกสภากลาโหมได้ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมเสียใหม่
[รก.2507/38/282/28 เมษายน 2507]

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 157 ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2515
โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นสมควรให้ผู้บังคับบัญชาทหารไม่ว่าจะเป็นชั้นใด ซึ่งรองลงมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบอำนาจในการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการตามกฎหมายใด ๆ ให้ผู้บังคับบัญชาทหารตำแหน่งอื่น ทำการแทนในนามของผู้บังคับบัญชาทหารผู้มอบอำนาจได้ เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหมเป็นผลดียิ่งขึ้น หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดั่งต่อไปนี้
[รก.2515/89/8พ./6 มิถุนายน 2515]

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2519
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันนี้ ในการทำการรบหรือการสงคราม มิได้มีการใช้กำลังทหารของต่างประเทศเข้าทำการรบหรือการสงครามรุกรานกันโดยเปิดเผยตามแบบธรรมเนียมของการสงครามแต่อย่างเดียวอย่างแต่ก่อน แต่จะกระทำการโดยอาศัยการแทรกซึม การบ่อนทำลายและการก่อความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ให้สอดคล้องกับวิธีการทำการรบและการสงครามในปัจจุบัน เพื่อให้กระทรวงกลาโหมสามารถดำเนินการป้องกันภัยอันเกิดจากการรุกรานของต่างประเทศได้โดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และโดยที่บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 เกี่ยวกับการรักษาราชการแทนและการมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ยังไม่เหมาะสม ตลอดจนขณะนี้ได้มีการยกเลิกตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการไปแล้ว แต่บทบัญญัติบางมาตราแห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ยังได้อ้างถึงอยู่ สมควรแก้ไขให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
[รก.2519/156/22พ./24 ธันวาคม 2519]

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ ให้เป็นไปตามหลักการบริหารและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
[รก.2528/120/4พ./5 กันยายน 2528]

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2536
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการใช้กำลังทหารเพื่อปฏิบัติการปราบปรามการจลาจลเป็นภารกิจสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ และมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การสั่งใช้กำลังทหารเพื่อปฏิบัติการดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้การใช้กำลังทหารเพื่อการปราบปรามการจลาจลเป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และนอกจากนี้เพื่อให้กรมราชองครักษ์สามารถปฏิบัติภารกิจต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้กรมราชองครักษ์เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยราชองครักษ์และกฎหมายว่าด้วยนายตำรวจราชสำนัก รวมทั้งกำหนดให้สมุหราชองครักษ์และรองสมุหราชองครักษ์เป็นสมาชิกสภากลาโหม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2536/112/1พ./16 สิงหาคม 2536]


และนี่คือฉบับปัจจุบัน  พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551